Page 48 - ผลสำเร็จของการดำเนินงาน โครงการเขตพัฒนาที่ดินพื้นที่ลุ่มน้ำคลองรับร่อ บ้านจันทึง หมู่ที่ 5 ตำบลหินแก้ว อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
P. 48

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                       34


               3.4 การจัดการดิน
                      ดินในแง่ของการก าเนิดดิน หมายถึง เทหวัตถุธรรมชาติ (Natural  Body)  ที่ปกคลุมผิวโลกอยู่บางๆ

               เกิดจากผลการผุพังของหินและแร่และอินทรียวัตถุผสมคลุกเคล้ากัน ส่วนในแง่ของสมบัติดินและการผลิตพืช
               หมายถึง เทหวัตถุธรรมชาติที่ปกคลุมผิวโลกอยู่บางๆ เกิดจากผลการผุพังของหินและแร่และอินทรียวัตถุผสม
               คลุกเคล้ากัน เมื่อมีอากาศและน้ าเป็นปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยในการยังชีพและการเจริญเติบโตของพืช (คณา
               อาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2544)

                      กรมพัฒนาที่ดิน (2552) รายงานว่าดินปัญหาที่พบในพื้นที่จัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ า มีดังนี้
                        1. ดินที่มีปฏิกิริยาเป็นกรดมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างต่ ากว่า 7 แต่อย่างไรก็ตามระดับความเป็นกรด
               ที่มีปัญหาต่อการเพาะปลูกพืชและการเสื่อมโทรมของสภาวะแวดล้อมทางดินจะเกิดอย่างรุนแรงเมื่อค่าความ
               เป็นกรดเป็นด่างของดินต่ ากว่า 5.5 ดังนั้น ในทางวิชาการปัญหาดินกรดจึงนิยามว่าเป็นดินที่มีค่าความเป็นกรด

               เป็นด่างต่ ากว่า 5.5 และยังพบว่า มีดินที่มีแนวโน้มจะเป็นกรดรุนแรงเพิ่มมากขึ้นตามการใช้ประโยชน์ที่ดิน
                        สภาพปัญหาของดินกรดมีความเป็นกรดสูงเกินไป ท าให้เกิดการขาดแคลนธาตุอาหารที่ส าคัญต่อการ
               เจริญเติบโตของพืช เช่น ฟอสฟอรัสและโมลิบดินัม นอกจากนี้ยังท าให้ประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมีต่ าธาตุอาหาร
               พืชถูกชะละลายออกไปจากดินได้ง่าย เช่น แคลเซียม แมกนีเซียมและโพแทสเซียม สภาพที่เป็นกรดสูงยังท าให้

               ธาตุเหล็ก อะลูมินัม และแมงกานีสละลายออกมาอยู่ในดินมากจนถึงระดับที่เป็นพิษต่อพืชที่ปลูก และเกิดการ
               ระบาดของเชื้อโรคพืช โดยเฉพาะเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่า
                        การปรับปรุงดินกรดใช้วัสดุปูน เพื่อลดความเป็นกรดของดิน เพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดินร่วมกับการใช้

               วัสดุปรับปรุงดิน วัสดุปรับสภาพดินปรับปรุงปริมาณธาตุอาหารพืชในดินให้พอเพียงและมีประสิทธิภาพ ใช้วัสดุ
               คลุมดินเพื่อปูองกันการชะละลายและการกร่อนผิวหน้าดินร่วมกับระบบการปลูกพืชหมุนเวียน รวมถึงระบบ
               อนุรักษ์ต่างๆ ในพื้นที่ที่มีความลาดเท ลดความเป็นกรดของดินใต้ชั้นไถพรวนโดยใช้วัสดุปรับสภาพดิน
                        2.  ดินบนพื้นที่ลาดชันสูง หรือพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน หมายถึง พื้นที่ที่มีความลาดชันมากกว่า 35
               เปอร์เซ็นต์ เป็นพื้นที่ที่เมื่อน าไปใช้ประโยชน์ จะเกิดปัญหาการกร่อนหรือการชะล้างพังทลายของดินสูง สภาพ

               ปัญหาของพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง ถึงแม้โดยทั่วไปพื้นที่เหล่านี้เป็นพื้นที่ที่มิสมควรท าการเกษตร เพราะ
               สามารถเกิดการกร่อนหรือชะล้างพังทลายของดินได้ง่าย ประกอบกับพื้นที่เหล่านี้ส่วนใหญ่มักเป็นแหล่งต้นน้ า
               แต่สภาพในปัจจุบันพื้นที่ลาดชันเหล่านี้ได้ถูกบุกรุกเพื่อท าการเกษตรไปเป็นจ านวนมาก โดยเฉพาะส่วนใหญ่ใช้

               พื้นที่เพื่อท าการเกษตรแบบไร่เลื่อนลอยท าให้เกิดผลกระทบต่อเนื่องต่อระบบนิเวศ และพิบัติภัยทางธรรมชาติ
               ต่างๆ อย่างรุนแรงตามมา เช่น น้ าปุาทะลักน้ าท่วมฉับพลัน ดินโคลนถล่ม รวมถึงปัญหาการขาดแคลนน้ าในฤดู
               แล้ง เป็นต้น
                        การปรับปรุงพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง ต้องใช้มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าทั้งวิธีกลและวิธีพืช ได้แก่

               ท าแนวคันดินเบนน้ า คูรับน้ าขอบเขา ปรับพื้นที่แบบขั้นบันได รวมถึงปรับระบบการปลูกพืช จากไร่เลื่อนลอย
               เป็นปลูกไม้ยืนต้น ท าการเกษตรแบบผสมผสาน ปลูกพืชขวางแนวลาดเทและใช้วัสดุคลุมดิน

               3.5 การด าเนินงานเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ า

                        3.5.1 ประกาศเขตพัฒนาที่ดิน
                              กรมพัฒนาที่ดินได้ด าเนินการจัดท าเขตพัฒนาที่ดินในกรอบของพื้นที่ลุ่มน้ า ในปี 2550 ตาม
               ท าเนียบประกาศวงรอบเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ าปี 2554 ครอบคลุมพื้นที่ 77 จังหวัด รวมทั้งหมด 547 แห่ง ซึ่ง
               ต่อมาในปี 2556 กรมพัฒนาที่ดินได้ปรับปรุงท าเนียบวงรอบเขตพัฒนาที่ดินให้มีความถูกต้องตามหลักวิชาการ

               และเป็นไปตามข้อก าหนด และมีความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พุทธศักราช 2551
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53