Page 50 - ผลสำเร็จของการดำเนินงาน โครงการเขตพัฒนาที่ดินพื้นที่ลุ่มน้ำคลองรับร่อ บ้านจันทึง หมู่ที่ 5 ตำบลหินแก้ว อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
P. 50

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                       36


               ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ดิน ซึ่งพื้นที่ด าเนินงานที่ได้คัดเลือกนั้นได้แก่ พื้นที่บ้านจันทึง หมู่ 5 ต าบลหินแก้ว
               อ าเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร มีปัญหาทรัพยากรดิน เรื่อง ดินตื้นถึงชั้นหินพื้นหรือชั้นลูกรัง ปัญหาดินมีความ

               อุดมสมบูรณ์ต่ า ปัญหาดินมีการชะล้างพังทลายและสูญเสียหน้าดิน และ ปัญหาดินในพื้นที่ลาดชันสูง ประกอบ
               กับได้รับการร้องขอจากเกษตรกรในพื้นที่ให้เข้าไปด าเนินการช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาในพื้นที่ดังกล่าว โดยมี
               ขั้นตอนการจัดท าข้อมูลพื้นฐานดังนี้
                       1) ส ารวจและจัดท าแผนที่ภูมิประเทศ มาตรส่วน 1:4,000

                           (1) ก าหนดวงรอบขอบเขตพื้นที่ด าเนินการ
                           (2) จัดท าแผนที่ออร์โธสี มาตราส่วน 1:4,000  และชั้นข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ขอบเขตพื้นที่
               ด าเนินการ เส้นชั้นความสูง เส้นทางคมนาคม เส้นทางน้ า แหล่งน้ า พื้นที่ชุมชน และสิ่งปลูกสร้าง ซ้อนทับบน
               แผนที่ภาพถ่ายออร์โธสี พร้อมสัญลักษณ์ และค าอธิบาย ซึ่งต้องจัดท าทั้งในรูปเอกสารแผนที่ และชั้นข้อมูล

               สารสนเทศทางภูมิศาสตร์
                       2) ส ารวจและจัดท าแผนที่ถือครองที่ดิน มาตรส่วน 1:4,000
                       3) ส ารวจและจัดท าแผนที่สภาพการใช้ที่ดิน มาตรส่วน 1:4,000
                       4) วิเคราะห์และจัดท าแผนที่ความลาดชัน มาตรส่วน 1:4,000

                       5) ส ารวจและจัดท าแผนที่ดินแบบละเอียด มาตรส่วน 1:4,000
                       6) ส ารวจและจัดท ารายงานเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรในพื้นที่ด าเนินการ
                       7) จัดท าแผนที่แผนการใช้ที่ดิน มาตรส่วน 1:4,000

                    3.5.6 วิเคราะห์ปัญหาจากข้อมูลพื้นฐานและยกร่างแผนการด าเนินงานจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ าใน
               พื้นที่ด าเนินการ โดยการจัดท าร่างแผนการด าเนินงานจัดท าระบบอนุรักษ์ดินและน้ าประกอบด้วยขั้นตอน
               ดังนี้
                       1) วิเคราะห์ปัญหาจากข้อมูลพื้นฐานของพื้นที่ด าเนินการ
                       2) ยกร่างแผนการด าเนินงานจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ าในพื้นที่ด าเนินการ

                       3) ประชุมชี้แจงแผนการด าเนินงานจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ าในพื้นที่ด าเนินการให้เกษตรกร ผู้น า
               ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบและให้เข้าใจถึงขั้นตอนวิธีการด าเนินงาน รูปแบบและมาตรการอนุรักษ์ดิน
               และน้ า การปรับปรุงบ ารุงดิน แนวทางการแก้ปัญหาของพื้นที่ ประโยชน์ที่จะได้รับและผลกระทบที่อาจ

               เกิดขึ้นจากการด าเนินงาน พร้อมทั้งรับฟังข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นที่จะปรับปรุงแก้ไขแผนการด าเนินงานให้
               สมบูรณ์ถูกต้องสอดคล้องกับสภาพปัญหาและเป็นที่ยอมรับของทุกฝุาย
                       4) สถานีพัฒนาที่ดินชุมพร ด าเนินการปรับปรุง แก้ไขแผนการด าเนินงานจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ า
               ตามที่ได้ตกลงร่วมกันไว้แล้วจึงน าแผนที่ได้ปรับปรุงแก้ไขแล้วมาชี้แจงและขอความเห็นชอบจากเกษตรกร ผู้น า

               ชุมชน และผู้ที่เกี่ยวข้องอีกครั้งก่อนน าไปจัดท าแผนการด าเนินงานจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ าฉบับสมบูรณ์เพื่อ
               ขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารเขตพัฒนาที่ดินและเสนอขออนุมัติงบประมาณซึ่งเมื่อได้
               งบประมาณดังกล่าวแล้ว สถานีพัฒนาที่ดินชุมพร จึงน าแผนการด าเนินงานจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ าไป
               ด าเนินการในพื้นที่ได้


                 3.6 การประเมินปริมาณการสูญเสียดิน
                       การสูญเสียดิน มีความหมายครอบคลุมถึงความเสื่อมโทรมของดิน เป็นค่าที่แสดงถึงความสามารถใน
               การปลูกพืช ทั้งนี้การสูญเสียดินในพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการให้ผลผลิตของดิน ท าให้เกิดการ

               สูญเสียประสิทธิภาพการผลิต รวมถึงการสูญเสียธาตุอาหารในดิน (กรมพัฒนาที่ดิน, 2558)
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55