Page 60 - การศึกษาธาตุอาหารในปุ๋ยหมักที่ผลิตจากกากตะกอนน้ำเสีย เทศบาลเมืองป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
P. 60

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                                                                                                        53



                   อิสระ และกรดอินทรีย์ ที่ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อพืชลดลง ซึ่งสารประกอบเหล่านี้จะยับยั้งการงอกของ
                   เมล็ด และความยาวรากได้ จึงท าให้ปุ๋ยหมักที่ผลิตจากกากตะกอนมีคุณสมบัติที่ดีกว่ากากตะกอนที่ไม่ได้
                   ย่อยสลาย และกากตะกอนที่ย่อยสลายแล้ว ซึ่งยังขาดคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อการน าไปใช้ทางการเกษตร
                          จากการศึกษารายงานผลการวิจัย สรุปได้ว่า กากตะกอนยังมีลักษณะสมบัติบางประการที่ไม่อยู่ใน

                   เกณฑ์มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ตามประกาศกรมวิชาการเกษตร 2551 ส่วนปุ๋ยหมักที่ผลิตจากกากตะกอนน้ า
                   เสียชุมชนน่าจะใช้เป็นวัสดุปรับปรุงดินได้ ถ้าสามารถควบคุมปริมาณปุ๋ยหมักที่ใช้ หรือแก้ปัญหาในเรื่อง
                   ปริมาณโลหะหนักบางชนิดที่เกินค่ามาตรฐานได้


                   4.2 การศึกษาธาตุอาหารในปุ๋ยหมักที่ผลิตจากกากตะกอนน ้าเสียเทศบาลเมืองป่าตอง  อ้าเภอกะทู้
                   จังหวัดภูเก็ต

                          4.2.1 ศึกษาสมบัติทางเคมีและปริมาณธาตุอาหารพืชในกากตะกอนน้ าเสีย
                          กากตะกอนน้ าเสียที่ใช้ในการศึกษา เป็นกากตะกอนน้ าเสียจากบ่อบ าบัดน้ าเสีย เทศบาลเมืองป่า
                   ตอง อ าเภอกะทู้  จังหวัดภูเก็ต ซึ่งมาจากการบ าบัดของเสียจากน้ าเสียชุมชน ภายในเทศบาลเมืองป่าตอง

                   จากการสุ่มเก็บตัวอย่างตะกอนน้ าเสีย เพื่อวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารพืช และสมบัติทางเคมีของกาก
                   ตะกอนน้ าเสีย  พบว่า
                          4.2.1.1 สมบัติทางเคมีของกากตะกอนน้ าเสีย ดังแสดงในตารางที่ 19
                          1) ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง  (pH)

                          ค่าความเป็นกรดเป็นด่างที่วัดได้เท่ากับ  5.04  ซึ่งมีความเป็นกรดเล็กน้อย  แต่ไม่มีผลต่อการท า
                   ปุ๋ยหมัก เนื่องจากช่วงของค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH)  ที่เหมาะสมในขณะเริ่มหมักท าปุ๋ยอยู่ในช่วง
                   ระหว่าง  5-7 (กรมพัฒนาที่ดิน,2550)

                          2) ความชื้น
                          ค่าความชื้นของกากตะกอนน้ าเสียมีความชื้นสูงมาก โดยค่าที่วัดได้มีค่าเท่ากับ 73.85 เปอร์เซ็นต์
                   เนื่องจากกากตะกอนน้ าเสียแม้ผ่านการรีดแล้วก็มีลักษณะที่ค่อนข้างเปียก ซึ่งมีผลต่อการท าปุ๋ยหมักเป็น
                   อย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม สามารถปรับค่าความชื้นให้ลดลงได้โดยการผสมขุยมะพร้าว ซึ่งเป็นวัสดุที่จะ
                   ซับความชื้นได้

                          3) ค่าการน าฟ้า (EC)
                          ค่าการน าไฟฟ้า ที่วัดได้เท่ากับ 2.86 ซึ่งกากตะกอนน้ าเสียมีค่าการน าไฟฟ้าตามเกณฑ์มาตรฐาน
                   ปุ๋ยหมัก คือน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 เดซิซีเมนต่อเมตร

                          4) อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N)
                          อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน ที่วัดได้มีค่าเท่ากับ 7:1 ซึ่งกากตะกอนน้ าเสียมีค่าอัตราส่วน
                   คาร์บอนต่อไนโตรเจนตามเกณฑ์มาตรฐานปุ๋ยหมัก คือ น้อยกว่าหรือเท่ากับ 20:1
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65