Page 65 - การศึกษาธาตุอาหารในปุ๋ยหมักที่ผลิตจากกากตะกอนน้ำเสีย เทศบาลเมืองป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
P. 65

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                                                                                                        58



                                                           บทที่ 5


                                                      สรุปผลการศึกษา

                   5.1 สรุป

                          การศึกษาระดับคุณสมบัติทางเคมีและธาตุอาหารพืชในกากตะกอนน้ าเสีย  ผลการศึกษา  พบว่า

                   ปริมาณอินทรียวัตถุ (OM)  และฟอสฟอรัส (P)   สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานอาหารที่จ าเป็นในปุ๋ยหมัก ยกเว้น
                   ธาตุโพแทสเซียม (K) ต่ ากว่าเกณฑ์มาตรฐาน     ซึ่งการหมักตะกอนโดยทั่วไปนั้นนิยมน ามาหมักโดยผสม
                   กับวัสดุอินทรีย์ชนิดอื่นๆ บางส่วนเพื่อจะท าให้ส่วนผสมที่หมักมีความเข้มข้นของธาตุโลหะหนักน้อยลงหรือ

                   เจือจางลง ในขณะเดียวกันวัสดุอินทรีย์บางชนิดที่ใช้ผสมยังมีส่วนช่วยเพิ่มปริมาณธาตุอาหารให้อีกด้วย
                   ดังนั้นการน าขุยมะพร้าวมาเป็นวัสดุหมักร่วมกับกากตะกอนน้ าเสีย เป็นการปรับปรุงคุณสมบัติของกาก
                   ตะกอนน้ าเสียให้เหมาะสมกับการน าไปปรับปรุงคุณภาพดิน
                          การศึกษาธาตุอาหารพืชในปุ๋ยหมักที่ผลิตจากกากตะกอนน้ าเสีย พบว่า  การผลิตปุ๋ยหมักจาก
                   ตะกอนสด 75 เปอร์เซ็นต์ ร่วมกับขุยมะพร้าว 25 เปอร์เซ็นต์ และการผลิตปุ๋ยหมักจากตะกอนสด 25

                   เปอร์เซ็นต์ ร่วมกับขุยมะพร้าว 75 เปอร์เซ็นต์ มีคุณสมบัติทางเคมี คือ  มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง
                   ความชื้น ค่าการน าไฟฟ้า และอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน ผ่านเกณฑ์มาตรฐานปุ๋ยหมัก  และมี
                   ปริมาณธาตุธาหารพืช ได้แก่ ปริมาณอินทรียวัตถุ  ปริมาณไนโตรเจน ปริมาณฟอสฟอรัส ปริมาณ

                   โพแทสเซียมผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานปุ๋ยหมักเช่นกัน และมีปริมาณธาตุอาหารสูงกว่าต ารับอื่นๆ สามารถ
                   น าไปใช้เป็นวัสดุปรับปรุงบ ารุงดินได้ การผลิตปุ๋ยหมักจากกากตะกอนน้ าเสียร่วมกับขุยมะพร้าวซึ่งท า
                   หน้าที่เป็นวัสดุเติมที่เป็นอินทรีย์ เป็นการเพิ่มโครงสร้างให้แก่กองปุ๋ย และเพิ่มแหล่งของคาร์บอนให้แก่
                   กิจกรรมของจุลินทรีย์ในการท าให้กากตะกอนคงตัวยิ่งขึ้น ท าให้เกิดการย่อยสลายส่วนที่เป็นอินทรีย์ในกาก

                   ตะกอน ปุ๋ยหมักที่ได้มีคุณสมบัติอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ ดังนั้น การก าจัดกากตะกอนน้ าเสียโดย
                   น ามาใช้เป็นวัสดุในการผลิตปุ๋ยหมัก เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดปริมาณของเสีย อีกทั้งยังสามารถน ามาใช้เป็น
                   วัสดุปรับสภาพดินได้ โดยต้องค านึงถึง ปริมาณการใช้ต่อพื้นที่  ชนิดของดินและพืชที่จะใช้ ซึ่งควรน าปุ๋ย
                   หมักที่ได้ไปปลูกพืชชนิดหญ้าหรือไม้ประดับเพื่อใช้เป็นสนามหญ้า สนามกอลฟ์ หรือสวนสาธารณะ เพราะ

                   แม้ว่าจะมีปริมาณธาตุอาหารสูง ทั้งปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมก็ตาม แต่เนื่องจากอาจ
                   มีการปนเปื้อนของโลหะหนัก ซึ่งการน าวัสดุเหลือทิ้งเหล่านี้มาหมุนเวียนใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นวิธีการ
                   ก าจัดที่มีต้นทุนต่ าและลดปริมาณวัสดุเหลือทิ้งที่เกิดขึ้นได้อีกทางเลือกหนึ่ง
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70