Page 56 - การศึกษาธาตุอาหารในปุ๋ยหมักที่ผลิตจากกากตะกอนน้ำเสีย เทศบาลเมืองป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
P. 56

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                                                                                                        49



                          3) ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง เริ่มต้นการทดลองอยู่ในช่วง 5.09–5.8 และเมื่อสิ้นสุดการหมัก ค่า
                   ความเป็นกรดเป็นด่างของกากตะกอนร่วมกับเศษผัก และกากตะกอนร่วมกับเศษผัก และกากไขมัน มีค่า
                   เพิ่มขึ้น 8.71 และ 6.91 ตามล าดับ เนื่องมาจากวัสดุหมักที่ผสมร่วมเกิดการย่อยสลายในสภาวะเติมอากาศ
                   เป็นคาร์บอนไดออกไซด์กับน้ า ส่งผลให้ปริมาณกรดอินทรีย์ในวัสดุหมักลดลง เมื่อสิ้นสุดการหมักแนวโน้ม

                   การเปลี่ยนแปลงค่าความเป็นกรดเป็นด่างสูงขึ้น ขณะที่ปุ๋ยหมักจากกากตะกอนร่วมกับกากไขมันมีค่า
                   ความเป็นกรดเป็นด่างเพิ่มขึ้นไม่มากนัก ซึ่งคาดว่าเนื่องจากกากไขมันมีความเป็นกรดมากกว่าวัสดุหมัก
                   ชนิดอื่น และเมื่อพิจารณาพบว่า ปุ๋ยหมักกากตะกอนร่วมกับเศษผัก และปุ๋ยหมักกากตะกอนร่วมกับเศษ
                   ผักและกากไขมัน มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานปุ๋ยหมักของกรมพัฒนาที่ดิน (กรม

                   พัฒนาที่ดิน,2550) ซึ่งก าหนดไว้ว่าค่าความเป็นกรดเป็นด่างที่เหมาะสมจะอยู่ในช่วง 5.5-8.5
                          4) ปริมาณอินทรีย์คาร์บอน เมื่อสิ้นสุดการหมัก ปุ๋ยหมักกากตะกอนร่วมกับเศษผัก และปุ๋ยหมัก
                   กากตะกอนร่วมกับเศษผักและกากไขมัน มีค่าลดลง 26.16 และ 31.84 เปอร์เซ็นต์ตามล าดับ ทั้งนี้มีสาเหตุ
                   มาจากจุลินทรีย์ในวัสดุหมักย่อยสลายสารอินทรีย์คาร์บอนไปเป็นคาร์บอนไดออกไซด์กับน้ าและสารอื่น ๆ

                   และสามารถเปลี่ยนคาร์บอนจากอินทรีย์สารไปเป็นเซลล์ของจุลินทรีย์ได้ แต่ปุ๋ยหมักกากตะกอนร่วมกับ
                   กากไขมันมีค่าอินทรีย์คาร์บอนเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีกากไขมันเป็นองค์ประกอบท าให้ปริมาณอินทรีย์เกิดการ
                   ย่อยสลายยากกว่า
                          5) อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน เมื่อสิ้นสุดการหมัก ปุ๋ยหมักกากตะกอนร่วมกับเศษผัก และ

                   ปุ๋ยหมักกากตะกอนร่วมกับเศษผักและกากไขมัน มีแนวโน้มการย่อยสลายที่ลดลง 16.56:1 และ 20.91:1
                   ตามล าดับ เนื่องจากจุลินทรีย์จะใช้สารประกอบคาร์บอนและไนโตรเจนเป็นแหล่งอาหารที่จ าเป็นอย่าง
                   เพียงพอ และอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนมีค่าน้อยกว่า 20 ตามเกณฑ์มาตรฐานปุ๋ยหมักของกรม
                   พัฒนาที่ดิน  แต่ปุ๋ยหมักกากตะกอนร่วมกับกากไขมันมีค่าเพิ่มขึ้น (88.22:1) เนื่องมาจากกากไขมันเป็น

                   สารประกอบที่มีคาร์บอนมาก แนวโน้มการย่อยสลายจึงยากมาก
                          6) ประสิทธิภาพการย่อยสลาย เมื่อสิ้นสุดการหมักมีแนวโน้มลดลงทั้งนี้เนื่องจากอัตรามวลรวม
                   เกิดการย่อยสลายสารอินทรีย์ได้มากขึ้น โดยพบว่าลักษณะเนื้อปุ๋ยมีความร่วนซุย และมีความพรุนสูง

                   โดยเฉพาะปุ๋ยหมักกากตะกอนร่วมกับเศษผัก มีประสิทธิภาพการย่อยสลายสูงที่สุด คือ 82 เปอร์เซ็นต์
                   รองลงมาคือปุ๋ยหมักกากตะกอนร่วมกับเศษผักและกากไขมัน (78 เปอร์เซ็นต์) เนื่องมาจากเศษผักเพิ่ม
                   ประสิทธิภาพการย่อยสลายและปรับสภาวะการหมักปุ๋ยได้ดีขึ้น  แต่ปุ๋ยหมักกากตะกอนร่วมกับกากไขมันมี
                   ประสิทธิภาพในการย่อยสลายน้อย ซึ่งคาดว่าเนื่องมาจากปริมาณวัสดุหมักประเภทไขมันมีปริมาณมากท า
                   ให้การย่อยสลายเกิดขึ้นได้ยาก

                          7) ปริมาณธาตุอาหารหลัก พบว่า ปริมาณไนโตรเจนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อสิ้นสุดการหมักในปุ๋ย
                   หมักกากตะกอนร่วมกับเศษผัก และปุ๋ยหมักกากตะกอนร่วมกับเศษผักและกากไขมัน เนื่องมาจากการใช้
                   ไนโตรเจนเป็นแหล่งอาหารในการสร้างเซลล์จุลินทรีย์ ส่วนปุ๋ยหมักกากตะกอนร่วมกับกากไขมันเมื่อสิ้นสุด

                   การหมักมีแนวโน้มลดลง เนื่องมาจากกระบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์ส่งผลให้พีเอชเพิ่มขึ้นท าให้เกิด
                   การสูญเสียไนโตรเจนจากการสร้างเซลล์จุลินทรีย์ได้
                          ปริมาณฟอสฟอรัสทั้งหมด พบว่า เมื่อสิ้นสุดการหมักมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และเห็นได้ว่า ปุ๋ยหมัก
                   กากตะกอนร่วมกับกากไขมัน มีปริมาณฟอสฟอรัสต่ าที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยศึกษาการย่อยสลาย

                   กากไขมันโดยการท าปุ๋ยหมัก พบว่า คุณภาพปุ๋ยหมักมีปริมาณฟอสฟอรัสต่ ากว่ามาตรฐาน เมื่อท าการเติม
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61