Page 55 - การศึกษาธาตุอาหารในปุ๋ยหมักที่ผลิตจากกากตะกอนน้ำเสีย เทศบาลเมืองป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
P. 55

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                                                                                                        48



                                                           บทที่ 4


                                                        ผลการศึกษา


                   4.1 ศึกษารายงานผลการวิจัยการผลิตปุ๋ยหมักจากกากตะกอนน ้าเสีย

                          4.1.1 การผลิตปุ๋ยหมักจากกากตะกอนน้ าทิ้ง ร่วมกับเศษผัก และกากไขมัน
                          จากการศึกษารายงานผลการวิจัยของ รัชกร และคณะ (2558) ซึ่งได้ท าการศึกษาการผลิตปุ๋ย
                   หมักจากกากตะกอนน้ าทิ้งร่วมกับเศษผัก และกากไขมัน เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพและเคมีของปุ๋ย

                   หมัก และคุณภาพของปุ๋ยหมักที่ผลิตจากวัสดุเหลือทิ้ง ประเภทกากตะกอนน้ าทิ้งจากโรงบ าบัดน้ าเสีย
                   ชุมชน หมักร่วมกับกับเศษผักและกากไขมัน ส าหรับเป็นทางเลือกในการน ากลับมาใช้ประโยชน์และลด
                   ปริมาณมูลฝอย โดยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงทดลอง แบ่งออกเป็น 3 ชุดการทดลอง คือ น ากากตะกอนมา
                   ผสมร่วมกับเศษผัก กากตะกอนมาผสมร่วมกับกากไขมัน และกากตะกอนผสมร่วมกับเศษผักและกาก
                   ไขมัน

                          การเตรียมวัสดุหมัก จะเตรียมโดยน ากากตะกอนไปผึ่งลมให้แห้ง หลังจากนั้นร่อนผ่านตะแกรง
                   ขนาด 2 มิลลิเมตร ส่วนเศษผักจะน ามาท าการลดขนาด โดยการตัดและสับให้มีขนาด 2-3 เซนติเมตร และ
                   กากไขมัน คัดแยกเอาเฉพาะกากที่ลอยอยู่ด้านบนของถังไขมัน จากนั้นน าวัสดุหมักมาผสมกันตามสัดส่วน

                   ที่ได้จากการวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพและเคมีของวัสดุก่อนการหมักจากการค านวณ C:N ratio
                   เริ่มต้นให้อยู่ในช่วงระหว่าง 25:1–30:1  ซึ่งเป็นสภาวะที่เหมาะสมต่อการหมักท าปุ๋ย ผสมให้เข้ากันแล้ว
                   น าไปใส่ในถัง ในขณะหมักจะท าการกลับกองทุกๆ 7 วัน ใช้ระยะเวลาการหมัก 56 วัน (2 เดือน)
                          การวิเคราะห์ตัวอย่าง แบ่งออกเป็นการวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพ ได้แก่ ความชื้น วิเคราะห์

                   ลักษณะทางเคมี ได้แก่ ค่าพีเอช อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน ปริมาณฟอสฟอรัสทั้งหมด ปริมาณ
                   โพแทสเซียมทั้งหมด และปริมาณโลหะหนัก (ทองแดง แคดเมียม ตะกั่ว) ซึ่งได้ผลการศึกษา (ตารางที่ 16)
                   ดังนี้
                          1) คุณลักษณะของกากตะกอน เศษผัก และกากไขมัน จากการวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพ

                   และเคมีของวัสดุก่อนการหมัก พบว่า กากไขมันมีความหนาแน่นมากที่สุด รองลงมาคือ กากตะกอน และ
                   เศษผัก ความชื้นในเศษผักมีค่ามากที่สุด ส่วนกากตะกอนมีค่าพีเอชเป็นกลาง และกากไขมันมีค่าพีเอชเป็น
                   กรดจัด  ปริมาณอินทรีย์คาร์บอนในกากไขมันมีค่ามากที่สุด ปริมาณไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในกาก
                   ตะกอนมีค่ามากที่สุด  ปริมาณโพแทสเซียมในเศษผักมีค่ามากที่สุด

                          2) ความชื้นปุ๋ยหมัก พบว่า เมื่อสิ้นสุดการหมักความชื้นของ กากตะกอนร่วมกับเศษผัก และกาก
                   ตะกอนร่วมกับเศษผัก และกากไขมันมีความชื้นใกล้เคียงกัน (69.83 และ 65.95 เปอร์เซ็นต์ ตามล าดับ)
                   ทั้งนี้เนื่องมาจากเศษผักเป็นวัสดุหมักที่มีความสามารถในการอุ้มน้ าได้ดีจึงส่งผลต่อความชื้นสูง เป็นผลให้

                   ความชื้นเริ่มต้นของการหมักสูงเช่นกัน ประกอบกับระยะเวลาการหมักสั้น ท าให้ความชื้นยังคงเหลืออยู่
                   มาก ต้องอาศัยการพลิกกลับกองเพื่อช่วยให้ความชื้นระเหยได้ดีขึ้น เมื่อสิ้นสุดการหมักค่าความชื้นจึงลดลง
                   ขณะเดียวกันปุ๋ยหมักจากกากตะกอนร่วมกับกากไขมัน มีค่าความชื้นน้อยที่สุด (20.53 เปอร์เซ็นต์) คาดว่า
                   มาจากวัสดุหมักประเภทกากไขมันที่มีค่าความชื้นเดิมน้อย ความหนาแน่นมาก ท าให้การเก็บสะสม
                   ความชื้นต่ า และอุณหภูมิไม่สูงพอท าให้ของเหลวในระบบระเหยออกไปได้น้อย (Kongrod,2003)
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60