Page 57 - การศึกษาธาตุอาหารในปุ๋ยหมักที่ผลิตจากกากตะกอนน้ำเสีย เทศบาลเมืองป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
P. 57

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                                                                                                        50



                   กากตะกอนและเศษผักลงไปจะเข้าไปเพิ่มปริมาณฟอสฟอรัสให้สูงขึ้น ส่งผลให้ปุ๋ยหมักกากตะกอนร่วมกับ
                   เศษพืช และกากไขมัน มีค่าปริมาณฟอสฟอรัสมากขึ้นได้
                          ปริมาณโพแทสเซียมทั้งหมด พบว่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการเติมวัสดุหมักประเภทเศษ
                   ผักซึ่งมีปริมาณโพแทสเซียมสูง ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้ปริมาณโพแทสเซียมในปุ๋ยหมักเพิ่มขึ้นได้

                          จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ปุ๋ยหมักกากตะกอนร่วมกับเศษผัก และปุ๋ยหมักกากตะกอนร่วมกับ
                   เศษผักและกากไขมัน มีคุณภาพเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานปุ๋ยหมักของกรมพัฒนาที่ดิน โดยพิจารณาจาก
                   คุณสมบัติทางกายภาพและเคมี รวมทั้งปริมาณธาตุอาหารหลัก อันประกอบด้วยปริมาณไนโตรเจน
                   ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม โดยปุ๋ยหมักกากตะกอนร่วมกับเศษผัก ใช้ระยะเวลาการหมักน้อยที่สุด  และ

                   มีคุณสมบัติที่สามารถน าไปใช้ประโยชน์ได้ ยกเว้นค่าความชื้นที่คงเหลือสูงอยู่ ดังนั้นหากน าไปประยุกต์ใช้
                   ประโยชน์ควรน าไปผึ่งแดดก่อนเพื่อลดความชื้นให้เหมาะสมต่อการปลูกพืช  ในขณะเดียวกันปุ๋ยหมักกาก
                   ตะกอนร่วมกับกากไขมันใช้ระยะเวลาในการหมักนานที่สุด ซึ่งยังมีคุณสมบัติบางประการไม่เป็นไปตาม
                   มาตรฐาน เช่น ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง และปริมาณไนโตรเจน ดังนั้น สามารถน าวัสดุหมักประเภทอื่นมา

                   ช่วยปรับปรุงธาตุอาหารในปุ๋ยหมักให้มีปริมาณที่เหมาะสมเพียงพอ
                          สรุปได้ว่า วัสดุหมักทั้งสามชนิดมีคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อการน ามาใช้เป็นวัสดุหมักร่วมกันที่ดี
                   ปุ๋ยหมักกากตะกอนร่วมกับเศษผัก  และปุ๋ยหมักกากตะกอนร่วมกับเศษผัก และกากไขมัน มีความเป็นไป
                   ได้ แต่ยังต้องมีน าไปลดความชื้นให้เหมาะสมต่อการปลูกพืช อย่างไรก็ควรพิจารณาปริมาณโลหะหนักอื่นๆ

                   ที่มีความเป็นพิษในปุ๋ยหมักจะต้องมีค่าต่ ากว่ามาตรฐานปุ๋ยหมักของกรมพัฒนาที่ดินจึงจะถือได้ว่าปลอดภัย
                   ต่อการน ามาใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตร รวมทั้งจะส่งผลดีต่อการไม่ปนเปื้อนโลหะหนักในสิ่งแวดล้อม
                   และยังสามารถน ามูลฝอยหรือวัสดุเหลือทิ้งเหล่านี้มาหมุนเวียนใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นวิธีการก าจัดที่ใช้
                   ต้นทุนต่ าและลดปริมาณมูลฝอยหรือวัสดุเหลือทิ้งที่เกิดขึ้นได้อีกทางเลือกหนึ่ง


                   ตารางที่ 16 คุณสมบัติทางกายภาพและคุณสมบัติทางเคมีของปุ๋ยหมัก
                            พารามิเตอร์            กากตะกอน         กากตะกอน        กากตะกอนร่วมกับ

                                                  ร่วมกับเศษผัก   ร่วมกับกากไขมัน  เศษผัก และกากไขมัน

                    ความชื้น (เปอร์เซ็นต์)           69.83            20.53              65.95

                    ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH)          8.71             5.44               6.91
                    ปริมาณอินทรีย์คาร์บอน            26.16            49.40              31.84
                    (เปอร์เซ็นต์)
                    อัตราส่วนคาร์บอนต่อ              16.56            88.22              20.91

                     ไนโตรเจน (C:N ratio)
                    ไนโตรเจน (เปอร์เซ็นต์)            1.58             0.56               1.52
                    ฟอสฟอรัส (เปอร์เซ็นต์)            2.32             0.98               1.96
                    โพแทสเซียม (เปอร์เซ็นต์)          2.19             0.50               2.00

                    อัตราการย่อยสลาย                 82.00            20.00              78.00
                     (เปอร์เซ็นต์)

                   ที่มา : รัชกรและคณะ (2558)
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62