Page 63 - การศึกษาธาตุอาหารในปุ๋ยหมักที่ผลิตจากกากตะกอนน้ำเสีย เทศบาลเมืองป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
P. 63

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                                                                                                        56



                   ตารางที่ 21 แสดงคุณสมบัติทางเคมีของปุ๋ยหมักที่ผลิตจากกากตะกอนน้ าเสีย

                                   ต ารับ               ค่าความเป็น   ความชื้น     ค่าการน า   อัตราส่วนคาร์บอน
                                                        กรดเป็นด่าง  (เปอร์เซ็นต์)   ไฟฟ้า (EC)   ต่อไนโตรเจน
                                                            (pH)                   (dS/m)           (C/N)

                    1 ตะกอนสด 100%                         5.16        35.00         5.07          7.50:1
                    2 ตะกอนสด 75% + ขุยมะพร้าว 25%         5.62        30.00         5.23          9.00:1

                    3 ตะกอนสด 50% + ขุยมะพร้าว 50%         4.89        30.00         3.70          12.50:1
                    4 ตะกอนสด 25% + ขุยมะพร้าว 75%         5.70        25.00         4.54          18.00:1
                    เกณฑ์มาตรฐานปุ๋ยหมัก 1/               5.5-8.5      <=35         <=10           <=20:1

                         1/
                   ที่มา :   กรมพัฒนาที่ดิน (2550)
                          4.2.2.2 ปริมาณธาตุอาหารพืชในปุ๋ยหมักที่ผลิตจากตะกอนน้ าเสีย

                          1) ธาตุอาหารหลักและอินทรียวัตถุ (ตารางที่ 22)
                          หลังจากการหมักได้น าไปวิเคราะห์หาปริมาณธาตุอาหารพืชที่จ าเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช
                   พบว่า ทั้ง 4 ต ารับ มีค่าไนโตรเจนอยู่ในช่วง 1.27–2.03 เปอร์เซ็นต์  มีค่าฟอสฟอรัสอยู่ในช่วง1.02–2.31
                   เปอร์เซ็นต์ มีค่าโพแทสเซียมอยู่ในช่วง 0.49–1.05 เปอร์เซ็นต์ และมีค่าอินทรียวัตถุอยู่ในช่วง 23.67–

                   40.54 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อน าไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานปุ๋ยหมัก จะเห็นได้ว่า ไนโตรเจน
                   ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม มีค่าผ่านเกณฑ์มาตรฐานปุ๋ยหมัก ดังนั้นปุ๋ยหมักสามารถน าไปใช้ประโยชน์ได้
                   สัมพันธ์กับรายงานวิจัยของ อนุภาพ (2541) ที่ได้ท าการศึกษาการผลิตปุ๋ยหมักจากเศษหญ้า เศษใบไม้แห้ง

                   และกากตะกอนน้ าเสีย ด้วยวิธีกองแบบมีการระบายอากาศ พบว่า ความสูง 1 เมตร ของกองปุ๋ยหมักที่มี
                   การพลิกกลับ จะให้ปุ๋ยที่มีคุณภาพสูงและปุ๋ยหมักที่ได้มีองค์ประกอบแร่ธาตุอาหาร ได้แก่ N P K ที่
                   ใกล้เคียงกับมาตรฐานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และมีค่าของปริมาณโลหะหนัก ได้แก่ แคดเมียม
                   คอปเปอร์ นิเกิล ตะกั่ว และสังกะสี ที่ผ่านมาตรฐานของประเทศสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศในทวีป
                   ยุโรป และสัมพันธ์กับ ประกาศิต (2549) ซึ่งได้ศึกษาการแปรสภาพและคุณภาพของปุ๋ยหมักจากฟางข้าว

                   ชานอ้อย ขี้เลื่อย เปลือกยูคาลิปตัส และตะกอนน้ าเสีย การเปรียบเทียบคุณภาพของปุ๋ยหมักในการ
                   ปรับปรุงดินและการย่อยสลายในดินเป็นระยะเวลา 56 วัน ในสภาพมีพืชและไม่มีพืช พบว่า การใส่ปุ๋ยหมัก
                   ทุกชนิดในสภาพไม่มีพืชท าให้ดินมีปริมาณอินทรียวัตถุ ค่าการน าไฟฟ้า ค่าความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน

                   เพิ่มขึ้น แต่ความหนาแน่นรวมลดลง การย่อยสลายอินทรียวัตถุในดินเกิดขึ้นช้าในช่วง 0-56 วัน ปริมาณ
                   อินทรียวัตถุในดินลดลงจาก 1.83-2.44 เปอร์เซ็นต์ เป็น 1.73–1.91 เปอร์เซ็นต์ ไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์
                   เพิ่มขึ้นจาก 17.35–91.09 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เป็น 49.83–94.91 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ฟอสฟอรัสที่เป็น
                   ประโยชน์และโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ค่อนข้างคงที่

                          อย่างไรก็ตาม ถ้าค่าไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม มีน้อยเกินไปจะท าให้พืชชะลอการ
                   เจริญเติบโตได้  โดยเฉพาะฟอสฟอรัสไม่สามารถละลายเป็นอาหารพืชได้ แต่หากค่าไนโตรเจน ฟอสฟอรัส
                   และโพแทสเซียม มีมากเกินไปพืชก็ไม่สามารถน าไปใช้ประโยชน์ได้ เพราะพืชแต่ละชนิดมีความต้องการแร่
                   ธาตุอาหารหลักที่ต่างกัน ดังนั้นการใส่ปุ๋ยแก่พืชต้องค านึงถึงธาตุอาหาร และอัตราส่วนที่พอเหมาะเพื่อพืช

                   สามารถน าไปใช้ประโยชน์ได้เหมาะสม
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68