Page 58 - การศึกษาธาตุอาหารในปุ๋ยหมักที่ผลิตจากกากตะกอนน้ำเสีย เทศบาลเมืองป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
P. 58

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                                                                                                        51



                          4.1.2 ศึกษาลักษณะสมบัติและความเป็นพิษต่อพืชของกากตะกอนน้ าเสียชุมชนเพื่อน าไปใช้ใน
                   การเกษตร
                          จากการศึกษารายงานผลการวิจัยของ อุษณีย์ และคณะ (2552) ซึ่งได้ท าการศึกษาลักษณะสมบัติ
                   และความเป็นพิษต่อพืชของกากตะกอนน้ าเสียชุมชนเพื่อน าไปใช้ในการเกษตร  มีวัตถุประสงค์ใน

                   การศึกษา เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของกากตะกอนน้ าเสียชุมชนที่จะน าไปใช้ในการเกษตรโดยท าการ
                   วิเคราะห์ลักษณะสมบัติทางเคมีของกากตะกอนและทดสอบการงอกของเมล็ดพืช โดยศึกษากากตะกอน 3
                   ชนิด ที่ได้มาจากโรงบ าบัดน้ าเสียหนองแขม ได้แก่ กากตะกอนที่ไม่ได้ย่อยสลาย กากตะกอนที่ย่อยสลาย
                   แล้ว และปุ๋ยหมักที่ผลิตจากกากตะกอน

                          4.1.2.1 ผลการวิเคราะห์ลักษณะสมบัติของกากตะกอน
                          1) ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง กากตะกอนที่ไม่ได้ย่อยสลายมีค่า 6.79 นั่นคือเป็นกรดอ่อนๆ กาก
                   ตะกอนที่ย่อยสลายแล้วมีค่า 7.08 ซึ่งจัดว่ามีสภาพเป็นกลาง และปุ๋ยหมักที่ผลิตจากกากตะกอนมีค่า 8.12
                   ซึ่งจัดว่ามีสภาพเป็นด่าง เนื่องจากในช่วงแรกของการย่อยสลาย จุลินทรีย์ชนิดสร้างกรดจะเจริญเติบโต

                   และสร้างกรดออกมาจึงท าให้กากตะกอนที่ไม่ได้ย่อยสลายมีสภาพค่อนข้างเป็นกรด แต่เมื่อย่อยสลายไป
                   สักระยะหนึ่ง กิจกรรมของจุลินทรีย์ชนิดสร้างกรดจะลดลง ประกอบกับการย่อยสลายอินทรีย์ไนโตรเจนให้
                   แอมโมเนียจึงท าให้ปุ๋ยหมักที่ผลิตจากตะกอนมีสภาพเป็นด่าง ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ Hartz (n.d.:
                   Online) ที่พบว่ากระบวนการหมักปุ๋ยแบบ windrow ในระยะแรกของการหมักปุ๋ยจะมีค่าความเป็นกรด

                   เป็นด่างต่ ากว่า 7 และหลังจากนั้นจะสูงขึ้นจนเกือบเท่า 8 หรือมากกว่า 8 ดังแสดงในตารางที่ 17
                          2) ค่าการน าไฟฟ้าของตะกอนทั้ง 3 ชนิด อยู่ในช่วง 1.49 – 2.06 มิลลิซีเมนต่อเมตร ซึ่งตาม
                   มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ตามประกาศกรมวิชาการเกษตร 2551 ต้องมีค่าการน าไฟฟ้าไม่เกิน 10 มิลลิซีเมนต่อ
                   เมตร และปุ๋ยหมักส่วนใหญ่จะมีค่าการน าไฟฟ้าอยู่ในช่วง 1.0 – 10.0 มิลลิซีเมนต่อเมตร ค่าการน าไฟฟ้านี้

                   เป็นค่าเกลือที่ละลายน้ าได้ ซึ่งถ้ามีปริมาณเกลือที่ละลายน้ าได้อยู่ในปริมาณมาก จะท าให้รากพืชดูดน้ าได้
                   ยากขึ้น ท าให้พืชเกิดการขาดน้ า (ตารางที่ 17)
                          3) ความชื้น กากตะกอนที่ไม่ได้ย่อยสลายมีความชื้นมากที่สุด (75.41 เปอร์เซ็นต์) และปุ๋ยหมักที่

                   ผลิตจากกากตะกอนมีความชื้นน้อยที่สุด (54.35 เปอร์เซ็นต์) โดยมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ตามประกาศกรม
                   วิชาการเกษตร 2551 จะต้องมีปริมาณความชื้นและสิ่งที่ระเหยได้ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์โดยน้ าหนัก แต่
                   จากผลการวิเคราะห์ความชื้นของตะกอนทั้ง 3 ชนิด มีค่าเกินมาตรฐาน ซึ่งปุ๋ยหมักที่เปียกมากๆ จะจับตัว
                   เป็นก้อนและมีน้ าหนักมากยากต่อการน าไปใช้งานและเสียค่าใช้จ่ายในการขนส่งมาก (ตารางที่ 17)
                          4) ปริมาณอินทรียวัตถุ กากตะกอนที่ไม่ได้ย่อยสลาย กากตะกอนที่ย่อยสลายแล้ว และปุ๋ยหมักที่

                   ผลิตจากกากตะกอน มีปริมาณอินทรียวัตถุอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ตามประกาศกรมวิชาการ
                   เกษตร 2551 คือ ไม่น้อยกว่า 20 เปอร์เซ็นต์โดยน้ าหนัก  (30.09 26.20 และ 24.97 เปอร์เซ็นต์
                   ตามล าดับ) (ตารางที่ 17)

                          5) ปริมาณอินทรีย์คาร์บอนของกากตะกอนทั้ง 3 ชนิด มีค่าอยู่ในช่วง 14.48 – 17.45 เปอร์เซ็นต์
                   และมีอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N ratio) ของกากตะกอนที่ไม่ได้ย่อยสลาย กากตะกอนที่ย่อย
                   สลายแล้ว และปุ๋ยหมักที่ผลิตจากกากตะกอน เท่ากับ 4.53 4.28 และ 5.89 ตามล าดับ  ซึ่งถือว่าเป็นค่าที่
                   อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ตามประกาศกรมวิชาการเกษตร 2551  (C/N ratio ไม่เกิน 20)   (ตาราง

                   ที่ 17)
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63