Page 29 - การศึกษาธาตุอาหารในปุ๋ยหมักที่ผลิตจากกากตะกอนน้ำเสีย เทศบาลเมืองป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
P. 29

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                                                                                                        22


                   ตารางที่ 5 ปริมาณสลัดจ์จากน้ าเสียและเปอร์เซ็นต์ของแข็ง

                              กรรมวิธี                 ปริมาณสลัดจ์          เปอรเซ็นต์ของแข็งในสลัดจ์
                                                   กก./1,000 ลบ.ม.น้ าเสีย

                    ถังตกตะกอนขั้นแรก                   110 - 170                     5.00
                    สลัดจ์จากถังเติมอากาศ                70 - 100                     0.75
                    สลัดจ์จากถังกรองชีวภาพ               55 - 90                      1.50

                    ถังย่อยแบบไร้ออกซิเจน                   -                         4.00

                   ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม (2552)

                          การปฏิบัติขั้นต้น ได้แก่ การบดสลัดจ์ การแยกกรวดทราย การผสม และการเก็บกักมี
                   วัตถุประสงค์เพื่อท าให้สลัดจ์ที่มาจากส่วนต่างๆ ของระบบมีลักษณะเดียวกัน โดยการบดสลัดจ์ ท าให้
                   ของแข็งในสลัดจ์มีขนาดเล็กลง เพื่อความง่ายในการบ าบัดสลัดจ์ ป้องกันการอุดตันในท่อและยังช่วยให้
                   สลัดจ์ที่เป็นของแข็งท าปฏิกิริยาได้ดีขึ้น  การแยกกรวดทรายหากมีกรวดทรายหลุดรอดไปถึงกระบวนการ

                   บ าบัดสลัดจ์ก็จะเกิดการสะสมในถังย่อยสลายสลัดจ์ และสิ้นเปลืองเนื้อที่การแยกกรวดและทรายมักอาศัย
                   วิธีแรงหนีศูนย์กลาง การผสมสลัดจ์ใช้ในกรณีที่มีสลัดจ์หลายชนิด และการเก็บสลัดจ์เป็นการเก็บสลัดจ์ไว้
                   ระยะเวลาหนึ่ง เพื่อเตรียมตัวน าไปบ าบัดต่อไป

                          การท าข้นสลัดจ์ (Sludge Thickening) การท าให้สลัดจ์ข้นขึ้น คือ การแยกน้ าออกจากของแข็ง
                   ท าให้ปริมาณของแข็งในสลัดจ์สูงขึ้น กรรมวิธีในการท าให้ตะกอนข้นขึ้น คือ การตกตะกอน การท าให้ลอย
                   (Flotation) และการหมุนเหวี่ยง (Centrifugation) การลดปริมาตรของสลัดจ์ท าให้ขนาดถังและอุปกรณ์
                   ของกระบวนการที่ตามมา เช่น ปริมาณสารเคมีที่ใช้ในการปรับสภาพสลัดจ์ และเชื้อเพลิงที่ใช้ในการท าให้
                   แห้งและเผาลดลง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ การท าให้สลัดจ์ข้นแบบตกตะกอน เป็นการตกตะกอนโดยใช้ถังท า

                   ข้น (Thickener) ลักษณะของถังท าข้นจะมีเครื่องกวาดและกวนสลัดจ์ เครื่องกวาดสลัดจ์ท าหน้าที่กวาด
                   สลัดจ์ที่ตกลงก้นถังให้รวมกันและไหลเข้าไปอยู่ในหลุมเก็บสลัดจ์เพื่อจะระบายทิ้ง ส่วนเครื่องกวนสลัดจ์จะ
                   หมุนช้า ๆ และมีหน้าที่เปิดช่องว่างในชั้นสลัดจ์เพื่อให้น้ าหนีออกจากชั้นของสลัดจ์และจะเป็นผลให้สลัดจ์

                   อัดตัวแน่นขึ้นอีก การตกตะกอนของสลัดจ์จะมีน้ าที่อยู่ข้างล่างใต้ชั้นสลัดจ์ถูกเบียดและไหลขึ้นมาข้างบน
                   ถ้าชั้นสลัดจ์มีความเข้มข้นมากจนกระทั่งมีช่องว่างเหลืออยู่น้อย การจมตัวของสลัดจ์จะเกิดขึ้นได้ยาก
                   เนื่องจากว่าน้ าที่ถูกแทนที่ไม่สามารถหนีขึ้นมาข้างบนได้ การกวนอย่างช้า ๆ โดยใบกวนที่มีขนาดใหญ่จะ
                   ช่วยท าให้เกิดช่องว่างในชั้นสลัดจ์ท าให้สามารถเคลื่อนที่ขึ้นมาทางด้านบนได้จะสามารถช่วยการท าให้ข้น

                   ของสลัดจ์ได้ผลดียิ่งขึ้น  การท าให้ข้นแบบลอยตัว (Flotation) การท าให้ข้นแบบลอยตัวเป็นการท าให้
                   สลัดจ์ลอยตัวขึ้นข้างบน การลอยตัวของสลัดจ์เกิดขึ้นโดยอาศัยลมช่วยท าให้เกิดฟองอากาศพาสลัดจ์
                   ลอยตัวขึ้นสู่บนผิวน้ า การท าข้นสลัดจ์แบบลอยตัวแบบที่นิยมใช้กัน คือ การลอยตัวด้วยอากาศละลาย
                   (Dissolved Air Flotation, DAF) อากาศถูกอัดอยู่ภายในน้ าและถูกปล่อยผ่านหัวฉีดให้ผสมกับสลัดจ์ เมื่อ

                   ลดแรงดันอากาศจะกลายเป็นฟองขนาดเล็กเกาะจับกันกับฟล็อกแบคทีเรีย ท าให้ฟล็อกลอยตัวขึ้นบนผิว
                   น้ าข้างบนซึ่งมีสลัดจ์เข้มข้นอยู่ถูกกวาดออกไป การท าให้ข้นด้วยเครื่องหมุนเหวี่ยง (Centrifuge) โดยปกติ
                   แล้วเครื่องหมุนเหวี่ยงมักใช้ในการแยกน้ าออกจากสลัดจ์ (Dewatering) สามารถน ามาใช้ท าข้นกับสลัดจ์
                   ชีวภาพที่ทิ้งจากระบบเอเอส วิธีนี้ไม่นิยมใช้กับระบบบ าบัดน้ าเสียขนาดเล็กเนื่องจากเสียค่าใช้จ่ายสูงแต่มี

                   ข้อดีที่ประหยัดพื้นที่ได้มากและกะทัดรัดบางครั้งจึงมีการน าไปใช้กับระบบเอเอสขนาดใหญ่
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34