Page 28 - การศึกษาธาตุอาหารในปุ๋ยหมักที่ผลิตจากกากตะกอนน้ำเสีย เทศบาลเมืองป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
P. 28

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                                                                                                        21


                   ให้เป็นรูปที่ไม่ละลายน้ าและตกตะกอนแยกจากน้ าได้ สารเคมีที่ใช้ท าปฏิกิริยากับฟอสฟอรัส ได้แก่ สารส้ม
                   และ Ferric Chloride การก าจัดไนโตรเจน (Nitrogen Removal) ได้แก่ การเปลี่ยนรูปของไนโตรเจนใน

                   น้ าเสียจากแอมโมเนีย ให้เป็นไนเตรต โดยกระบวนการ Nitrification ในสภาวะที่มีออกซิเจน และการ
                   เปลี่ยนไนเตรต ให้เป็นก๊าซไนโตรเจน ในกระบวนการ Denitrification ในสภาวะที่ไม่มีออกซิเจน เป็น
                   วิธีการใช้จุลินทรีย์จ าเพาะชนิด เพื่อก่อให้เกิดปฏิกิริยาที่ต้องการ  การกรอง (Filtration) ได้แก่ การก าจัด
                   ปริมาณของแข็งจากน้ าเสียเพื่อให้ได้น้ าที่มีคุณภาพสูง อาจใช้เยื่อกรอง ซึ่งมักจะมีค่าใช้จ่ายสูง หรือใช้ชั้น

                   ตัวกลางเช่น คาร์บอนและทรายขนาดเล็ก ในถังลึกประมาณ 1 เมตร อาจใช้ร่วมกับสารสร้างตะกอนช่วย
                   ให้ของแข็งจับตัวเป็นก้อนใหญ่ก่อนผ่านชั้นกรองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การดูดติดผิวด้วยถ่าน (Carbon
                   Adsorption) ได้แก่ การก าจัดสารอินทรีย์ที่ละลายน้ าและไม่ถูกย่อยสลายด้วยปฏิกิริยาทางชีวภาพ เช่น

                   สารที่ท าให้เกิดสีและกลิ่นโดยการให้ถูกดูดไว้บนผิวของถ่านกัมมันต์ ซึ่งถ่านที่ใช้จนหมดสภาพแล้ว
                   สามารถน าไปฟื้นฟูสภาพ และน ากลับมาใช้ใหม่ได้ด้วยการเผาให้สารอินทรีย์ระเหยไป  การแลกเปลี่ยน
                   ประจุ (Ion Exchange) เป็นการใช้สารตัวกลางที่มีประจุที่พื้นผิวอาจท ามาจากโพลิเมอร์ หรือผลึกซีโอไลท์
                   ที่สามารถแลกเปลี่ยนกับประจุในน้ าได้ มีวัตถุประสงค์เพื่อก าจัดของแข็งละลาย และไอออนที่ไม่ต้องการ
                   ออกจากน้ า การก าจัดฟอสฟอรัสและไนโตรเจนพร้อมกัน (Combined Removal of Phosphorous and

                   Nitrogen) ได้แก่ การใช้ถังหรือโซนแบบไร้อากาศ กึ่งไร้อากาศ และให้อากาศสลับกัน เพื่อก าจัดฟอสฟอรัส
                   และไนโตรเจน มักจะมีวิธีสงวนลิขสิทธิ์ เช่น Bardenpho System UCT หรือ VIP เป็นต้น โดยแต่ละ
                   ระบบจะมีการออกแบบและควบคุมที่แตกต่างกันโดยเฉพาะ เพื่อให้เกิดปฏิกิริยาตามต้องการ  และระบบ

                   การฆ่าเชื้อโรค (Disinfection) การฆ่าเชื้อเป็นการบ าบัดขั้นสุดท้ายก่อนที่จะปล่อยทิ้งลงสู่แหล่งน้ าหรือน า
                   กลับมาใช้ใหม่ น้ าที่เข้าสู่กระบวนการนี้จะเป็นน้ าใส ถ้าเป็นน้ าที่ขุ่น จะต้องถูกกรองให้ใสก่อนเพื่อให้การ
                   ฆ่าเชื้อเกิดอย่างมีประสิทธิภาพ วิธีที่ใช้โดยมากมักจะเป็นวิธีทางเคมีโดยการเติมสารออกซิไดซ์ที่รุนแรง
                   เช่น คลอรีน และโอโซน หรือแสงอัลตราไวโอเลต หรือการผสมระหว่างการใช้โอโซนและแสง

                   อัลตราไวโอเลต เป็นต้น
                          3.2.3 การบ าบัดและการก าจัดสลัดจ์ (Sludge Treatment and Disposal)
                          กรมโรงงานอุตสาหกรรม (2552) ได้กล่าวถึง สลัดจ์ที่ได้จากระบบบ าบัดน้ าเสียต้องได้รับการ
                   บ าบัดก่อนจะน าไปทิ้ง กรรมวิธีการบ าบัดและก าจัดสลัดจ์มีหลายขั้นตอน

                          สลัดจ์มาจากกระบวนการบ าบัดน้ าเสียซึ่งแยกเอาของแข็งและสารอินทรีย์ออกจากน้ าเสียแล้ว
                   ปล่อยน้ าที่บ าบัดแล้วทิ้งไป คงเหลือแต่สลัดจ์ที่ต้องผ่านการบ าบัด ลักษณะของสลัดจ์จะมีความแตกต่างกัน
                   เนื่องจากแหล่งที่มาชนิดของแข็ง อายุสลัดจ์ และกรรมวิธีที่ท าให้เกิดสลัดจ์นั้น โดยพบว่า สลัดจ์จากถัง
                   ตกตะกอนขั้นแรก จะมีสีเทาเป็นเมือก มีกลิ่นเหม็นมาก และสามารถย่อยสลายได้โดยง่าย  สลัดจ์จากการ

                   ใช้สารเคมี มักจะมีสีด าหรือแดงหากมีเหล็กปนอยู่มาก มีกลิ่นเหม็นเป็นเมือกวุ้น หากตั้งทิ้งไว้จะย่อยสลาย
                   อย่างช้า ๆ และมีความหนาแน่นเพิ่มขึ้น สลัดจ์จากถังเติมอากาศ มีสีน้ าตาล ลักษณะเป็นฝุ่น ไม่มีกลิ่น แต่
                   หากหยุดเติมอากาศจะกลายสภาพอย่างรวดเร็ว เปลี่ยนเป็นสีด า และมีกลิ่นเหม็นของการหมัก สลัดจ์จาก

                   การย่อยสลายแบบไร้ออกซิเจน มีสีน้ าตาลแก่ปนด า มีก๊าซมากหากย่อยสลายจนเต็มที่แล้ว จะมีเพียงกลิ่น
                   จางๆ คล้ายกลิ่นยาง สามารถแตกตัวได้ง่าย
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33