Page 43 - ผลสำเร็จของการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริโครงการพัฒนาลุ่มน้ำพัฒนาคุณภาพชีวิตในพื้นที่ต้นน้ำน้ำหนาว
P. 43

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        30



                   ก่อนปลูกหญ้าแฝกอยู่ระหว่าง 4.00-8.67, 100.00-166.67 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม หลังปลูกเพิ่มขึ้นเป็น
                   6.67-12.67, 506.66-582.67 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมตามล าดับ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2555)
                                        (1) สายพันธุ์หญ้าแฝก

                                             (1.1)  พันธุ์หญ้าแฝกลุ่ม (Chrysopogon  zizanioides) เป็นสายพันธุ์ที่มี
                   ความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี และค่อนข้างเร็ว บางพันธุ์น าเข้ามาจาก
                   ต่างประเทศ พันธุ์หญ้าแฝกลุ่ม ได้แก่ พันธุ์สุราษฎรธานี ก าแพงเพชร 2 ศรีลังกา และสงขลา 3
                                             (1.2) พันธุ์หญ้าแฝกดอน (Chrysopogon nemoralis) เป็นสายพันธุ์ที่พบ

                   ในที่ค่อนข้างแห้งหรือดินที่ระบายน้ าดี สามารถขึ้นได้ดีที่แดดจัดและที่ร่มร าไร ใบปรกลงคล้ายกอตะไคร้
                   ไม่ตั้งมากเหมือนหญ้าแฝกลุ่ม สายพันธุ์หญ้าดอน ได้แก่ พันธุ์ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ร้อยเอ็ด
                   ก าแพงเพชร 1 นครสวรรค์ และเลย

                                         (2) การใช้ประโยชน์ของหญ้าแฝกในการพัฒนาที่ดินแบ่งได้ 3 ประเภท
                                             (2.1) การใช้ประโยชน์หญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ า ในพื้นที่ลาดชัน
                   หรือบนพื้นที่สูงมักมีปัญหาการชะล้างพังทลายดิน ซึ่งมีผลกระทบต่อทรัพยากรที่ดินและสภาพแวดล้อมท า
                   ให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินและผลผลิตพืชลดลง แหล่งน้ าตื้นเขินหญ้าแฝกช่วยป้องกันปัญหาดังกล่าวได้
                   ซึ่งแนวทางการน าระบบหญ้าแฝกมาใช้ประโยชน์ได้ดังนี้

                                               (2.1.1) การปลูกหญ้าแฝกอนุรักษ์ดินและน้ าในพื้นที่การเกษตร ในพื้นที่
                   ลาดชันปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวขวางความลาดเทของพื้นที่เป็นช่วง ๆ ภายในแถวหญ้าแฝกจะปลูกชิดติดกัน
                   เป็นก าแพงเพื่อช่วยชะลอความเร็วของน้ าไหลบ่าหน้าดินเก็บกักตะกอนดินไม่ให้ไหลลงสู่พื้นที่ตอนล่างและ

                   ช่วยท าให้น้ าซึมซับลงในดินมากขึ้นความยาวของแถวหญ้าแฝกขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ในพื้นที่การเกษตร
                                               (2.1.2)  การปลูกหญ้าแฝกอนุรักษ์ดินและน้ านอกพื้นที่การเกษตร
                   โดยปลูกเป็นแถวเดี่ยวขวางความลาดชันของพื้นที่เป็นช่วง ๆ เพื่อเป็นก าแพงชะลอความเร็วและดักตะกอน
                   ดินไม่ให้ไหลลงสู่พื้นที่ตอนล่าง พื้นที่เหล่านี้ได้แก่ พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ปลูกป่า ล าธาร คลอง แม่น้ า อ่างเก็บน้ า

                   และถนน
                                             (2.2) การใช้ประโยชน์หญ้าแฝกในการปรับปรุงบ ารุงดิน การปลูกหญ้าแฝก
                   มีบทบาทส าคัญในการปรับปรุงบ ารุงดินทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งทั้งใบและราก
                   หญ้าแฝกเมื่อย่อยสลายสามารถปลดปล่อยธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองแก่ดิน รากหญ้าแฝกช่วยให้

                   ดินร่วนซุยเนื่องจากรากหญ้าแฝกหยั่งลึกลงดินมีการดูดธาตุอาหารจากดินล่างขึ้นมาหมุนเวียน และ
                   มีจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์หลายชนิดอาศัยบริเวณรากหญ้าแฝกเมื่อรากหญ้าแฝกตายลงเกิดช่องว่าง
                   ส าหรับน้ าและอากาศถ่ายเทได้สะดวกเป็นสภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชหรือช่วยให้ปุ๋ยที่ใส่
                   ลงดินซึมลงดินได้มากขึ้น

                                             (2.3) การใช้ประโยชน์หญ้าแฝกในการรักษาและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม
                   คุณสมบัติหญ้าแฝกที่มีล าต้นตั้งตรงระบบรากลึก ชอนไชในดินได้ดีปรับตัวและเจริญเติบโตในสภาพดินและ
                   สภาพอากาศในช่วงกว้างสามารถช่วยดูดซับสารต่าง ๆ ได้ดี (กรมพัฒนาที่ดิน, 2555)
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48