Page 42 - ผลสำเร็จของการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริโครงการพัฒนาลุ่มน้ำพัฒนาคุณภาพชีวิตในพื้นที่ต้นน้ำน้ำหนาว
P. 42

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        29



                   นิยมกระท าเพื่อรักษาความชื้นในดิน โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง การคลุมดินยังมีประโยชน์ ในแง่ของการลด
                   ปริมาณวัชพืชด้วย นอกจากนี้วัสดุคลุมดิน ยังช่วยให้อุณหภูมิของดินไม่แตกต่างกันมาก  เพื่อป้องกันการ
                   พังทลายที่เกิดจากเม็ดฝนที่ตกลงมา หรือที่เกิดจากน้ า ไหลบ่าบนผิวดิน หรือที่เกิดจากลม  อัตราการใช้

                   วัตถุคลุมดินที่นิยมโดยทั่วไป คือ 600-800 กิโลกรัมต่อไร่ ส าหรับเศษเหลือของพืช และ 1.6-2.0 ตันต่อไร่
                   ส าหรับปุ๋ยคอก
                                               2.2.6) หญ้าแฝก (Vetiver  Grass) เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวตระกูลเดียวกับข้าวโพด
                   ข้าวฟ่าง อ้อย พบกระจายทั่วไปตามธรรมชาติ หญ้าแฝกเป็นพืชที่เจริญเป็นกอ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง

                   50-90 เซนติเมตร มีระบบรากเจริญลงดินในแนวดิ่งมากกว่าด้านข้าง รากหยั่งลึกลงดิน 1.5-3.0 เมตร
                   บริเวณรากมีจุลินทรีย์หลายชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อพืช และเมล็ดขยายพันธุ์ได้น้อยมากจึงไม่เป็นวัชพืช
                   นอกจากนี้หญ้าแฝกยังช่วยในการปรับปรุงดินรักษาและฟื้นฟูสภาพแวดล้อม การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่

                   โครงการรักษ์น้ าเพื่อพระแม่ของแผ่นดินลุ่มน้ าขุนน่านซึ่งเป็นพื้นที่สูง มีรูปแบบการปลูก ดังนี้ ปลูก
                   หญ้าแฝกเป็นแถวเดี่ยวขวางความลาดชันของพื้นที่เป็นช่วง ๆ ภายในแถวหญ้าแฝกต้องปลูกชิดติดกันเป็น
                   ก าแพง แถวของหญ้าแฝกนี้ช่วยชะลอความเร็วของน้ าไหลบ่าหน้าดินเก็บตะกอนดินไม่ให้ไหลลงสู่พื้นที่
                   ตอนล่างและยังช่วยท าให้น้ าซึมซับลงในดินมากขึ้น ความยาวของแถวหญ้าแฝกขึ้นอยู่กับสภาพความยาว
                   ของพื้นที่

                                        นอกจากมาตรการดังกล่าวข้างต้นเพื่อเพิ่มความแข็งแรงถาวรให้กับคันดินที่ขุด
                   ในหลายพื้นที่ที่มีการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ าได้น ามาใช้ คือ การใช้มาตรการวิธีกลร่วมกับวิธีพืช และ
                   เห็นว่าควรเพิ่มมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ ามาตรการที่ 3 คือ

                                    2.3) มาตรการผสมผสาน หรือมาตรการวิธีกลร่วมกับวิธีพืช มาตรการที่นิยมมากที่สุด
                   คือ การปลูกหญ้าแฝกเป็นแถบตามแนวคันดิน ดังนี้
                                         2.3.1)   การสร้างคูรับน้ า   (Hillside-Ditch) ร่วมกับการปลูกหญ้าแฝก
                   (Vetiver hedgerow) ในพื้นที่ที่มีความลาดชันมากกว่า 35% .จะสร้างคูรับน้ าขอบเขาหรือคันดินแบบ 6

                   จากนั้น จะมีการปลูกหญ้าแฝกเป็นแถบบริเวณปลายสันคันดิน ซึ่งเป็นมาตรการร่วมกันวิธีกลและวิธีพืช
                   (แถบหญ้าแฝก) เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการช่วยป้องกันชะล้างการพังทลายของดิน คันคูรับน้ า
                   ขอบเขาจะเป็นตัวชะลอการไหลของน้ าและเบนน้ าออกจากแปลง ในส่วนของแถบหญ้าแฝกจะช่วยในการ
                   ยึดดินในบริเวณปลายของคันดินไว้ไม่ให้ไหลลงไป เมื่อมีฝนตกลงมา และแถบหญ้าแฝกยังช่วยในการรักษา

                   ความชุ่มชื้นในดินได้ดีอีกด้วย
                                         2.2.3) การปลูกหญ้าแฝกตามไหล่ทางช่วยป้องกันดินขอบทางล าเลียงพังทลาย
                   การปลูกเป็นแถวปลูกห่างจากขอบไหล่ทางประมาณ 50-100 เซนติเมตร และปลูกตามแนวระดับขวาง
                   ความลาดเทจ านวนแถวขึ้นอยู่กับเปอร์เซ็นต์และความยาวของความลาดเทใช้ระยะห่างแต่ละแถวตาม

                   แนวดิ่ง 50 เซนติเมตร วิธีการปลูกแบบรากเปลือยเป็นแถวแนวเดี่ยวระยะต้น 5-10 เซนติเมตร อย่างไรก็
                   ตามการปลูกหญ้าแฝกยังช่วยการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดินค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) โดยก่อนปลูก
                   ความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 4.5-5.7 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 4.5-5.8 ปริมาณอินทรียวัตถุในดินเพิ่มขึ้น

                   จากระหว่างร้อยละ 0.21-0.51 เป็นร้อยละ 0.76-1.01 นอกจากนี้ปริมาณธาตุฟอสฟอรัส โพแทสเซียม
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47