Page 38 - ผลสำเร็จของการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริโครงการพัฒนาลุ่มน้ำพัฒนาคุณภาพชีวิตในพื้นที่ต้นน้ำน้ำหนาว
P. 38

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        25



                            ศรัญณุพงศ์ (2561) ได้ศึกษามาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าในแปลงปลูกมะคาเดเมียที่มีผลต่อการ
                   สูญเสียดินและความชื้นของดินบนพื้นที่สูงในเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ าน้ าแม่จันตอนบน ต าบลแม่สลองนอก
                   อ าเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย พบว่า การปลูกมะคาเดเมียบนคันคูรับน้ าขอบเขามีระยะห่างใน

                   แนวดิ่ง 4 เมตร ร่วมกับแถบหญ้าแฝก ส่งผลให้สมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้น ความหนาแน่นรวมของดิน
                   ลดลง ความพรุนของดินเพิ่มสูงขึ้น สมบัติทางเคมีของดินดีขึ้น และท าให้การสูญเสียไนโตรเจน ฟอสฟอรัส
                   และโพแทสเซียม ลดลงกว่าวิธีการอื่น ๆ
                          สุนีย์รัตน์ (2561) ได้ศึกษามาตรการการอนุรักษ์ดินและน้ าที่เหมาะสมในเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ า

                   แม่จัน ลุ่มน้ าย่อยน้ าแม่จัน ลุ่มน้ าหลักแม่น้ าโขง อ าเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย พบว่ามาตรการ
                   อนุรักษ์ดินและน้ าที่เหมาะสมกับพื้นที่และระบบเกษตรของเกษตรกรในพื้นที่สูง ส าหรับการปลูกข้าวโพด
                   วิธีการอนุรักษ์ในรูปแบบต่าง ๆ มีปริมาณการสูญเสียดินไม่แตกต่างกันในทางสถิติ และแนะน าให้ใช้คูรับน้ า

                   ขอบเขาที่มีระยะห่างในแนวดิ่ง 4 เมตร ร่วมกับแถบหญ้าแฝกที่มีระยะห่างในแนวดิ่ง 4 เมตร หรือ 8 เมตร
                   สามารถลดการสูญเสียดินได้ถึง 34.88 เปอร์เซ็นต์
                          ไชยสิทธิ์ และอุทิศ (2538) ได้ศึกษาการจัดการพื้นที่ลาดชันเพื่อการเกษตรแบบยั่งยืนในเขต
                   ภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งได้ด าเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533-2537 ณ พื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง
                   จังหวัดเชียงราย พบว่า มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า โดยใช้แถบของกระถินผสมมะแฮะ (Alley cropping)

                   และมาตรการจัดท าคูรับน้ าขอบเขา (Hillside  ditch)  สามารถลดอัตราน้ าไหลบ่าได้ 52 และ 64
                   เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการที่ไม่มีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า (ปริมาณน้ าไหลบ่า 108 และ 78
                   ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ต่อปี เปรียบเทียบกับ 222.8 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ต่อปี) สามารถลดปริมาณการสูญเสีย

                   ดินได้ 82 และ 84 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการที่ไม่มีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า (ปริมาณการ
                   สูญเสียดิน 4.8 และ 1.5 ตันต่อไร่ต่อปี เปรียบเทียบกับ 27.4 ตันต่อไร่ต่อปี) ส่วนผลผลิตของข้าวไร่ที่ปลูก
                   ในพื้นที่ที่มีการจัดท ามาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าทั้ง 2 มาตรการ ไม่แตกต่างกันทางสถิติกับวิธีการที่ไม่มี
                   มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า ถึงแม้จะมีการสูญเสียพื้นที่ไปบางส่วนในการจัดท ามาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า

                   และจากการเปรียบเทียบมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า โดยใช้แถบของกระถินผสมมะแฮะ และคูรับน้ า
                   ขอบเขา พบว่า ปริมาณน้ าไหลบ่า ปริมาณการสูญเสียดิน และผลผลิตของข้าวไร่ จากทั้งสองมาตรการไม่มี
                   ความแตกต่างกันทางสถิติ
                          อุทิศ และสวัสดี (2547) ได้ศึกษาเปรียบเทียบมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าบนพื้นที่ลาดชันสูง

                   พบว่ามาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า โดยการจัดท าขั้นบันไดไม้ผลแบบระดับ (Orchard  hillside  terrace)
                   การจัดท าคูรับน้ าขอบเขาแบบระดับ (Level  hillside  ditch)  การจัดท าคูรับน้ าขอบเขาแบบลดระดับ
                   (Graded hillside ditch) และการจัดท าแถบหญ้าแฝก (Vetiver grass strip) สามารถลดการสูญเสียดิน
                   ได้ 81,81,68 และ 58 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการที่ไม่มีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า (ปริมาณ

                   การสูญเสียดิน 220,237,778 และ 1,053 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี เปรียบเทียบกับ 2,502 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี)
                   และผลผลิตของข้าวโพดที่ปลูกในพื้นที่มีการจัดท ามาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าในวิธีการต่าง ๆ จะไม่
                   แตกต่างกันทางสถิติ ถึงแม้ว่ามาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าที่ท าการศึกษา ท าให้มีการสูญเสียพื้นที่ เพื่อจัดท า

                   มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า 13 ถึง 17 เปอร์เซ็นต์ และมีผลผลิตข้าวโพดน้อยกว่าวิธีการที่ไม่มีการเสียพื้นที่
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43