Page 48 - ผลสำเร็จของการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริโครงการพัฒนาลุ่มน้ำพัฒนาคุณภาพชีวิตในพื้นที่ต้นน้ำน้ำหนาว
P. 48

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        35



                                                 (1.3.4)  ไม้ผล ไม้ยืนต้น ส าหรับการเตรียมหลุมปลูก : ใช้อัตรา
                   20  กิโลกรัมต่อหลุม โดยคลุกเคล้าปุ๋ยหมักกับดินใส่รองก้นหลุม ส่วนไม้ผล ไม้ยืนต้นต้นที่เจริญแล้ว :
                   ใช้อัตรา 20-50 กิโลกรัมต่อต้น โดยขุดร่องลึก 10 เซนติเมตร ตามแนวทรงพุ่ม ใส่ปุ๋ยหมักในร่องแล้วกลบ

                   ด้วยดิน หรือหว่านให้ทั่วใต้ทรงพุ่ม (กรมพัฒนาที่ดิน, 2550)
                            จันจิรา และคณะ (2556) ได้ศึกษาการใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ของกรมพัฒนาที่ดิน
                   ในการผลิตผักบุ้งจีน ในต าบลสิงหนาท อ าเภอลาดบัวหลวง จังหวัดอยุธยา พบว่า การใช้ผลิตภัณฑ์ของ
                   กรมพัฒนาที่ดิน ได้แก่ สารเร่ง พด.2,พด.3,พด.7  และ พด.12  ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตรา 75  เปอร์เซ็นต์ ของ

                   วิธีเกษตรกร มีผลท าให้ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน และผลผลิตสูงกว่า
                   แปลงควบคุม (ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีตามวิธีการของเกษตรกร) แม้ว่าการใช้ผลิตภัณฑ์ พด. จะท าให้ต้นทุน
                   จะสูงกว่าแปลงควบคุม แต่ท าให้เกษตรกรมีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้น 4.89 เปอร์เซ็นต์

                            ชวพล และคณะ (2556) ได้ศึกษาการใช้น้ าหมักชีวภาพซุปเปอร์ พด.2  และปุ๋ยอินทรีย์
                   คุณภาพสูงในการป้องกันอาการเปลือกแห้งของยางพาราและเพิ่มผลผลิตน้ ายาง ในต าบลเขาย่า
                   อ าเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง พบว่า ต ารับการทดลองที่ใช้ปุ๋ยเคมีตามค าแนะน าของสถาบันวิจัยยาง
                   และต ารับการทดลองที่ใช้ปุ๋ยเคมี 1/3 ของค าแนะน าร่วมกับน้ าหมักชีวภาพซุปเปอร์ พด.2 และปุ๋ยอินทรีย์
                   คุณภาพสูง ไม่พบอาการเปลือกแห้ง ในขณะที่วิธีการของเกษตรกรพบอาการเปลือกแห้งมากที่สุดเฉลี่ย

                   ร้อยละ 17  นอกจากนี้พบว่า ต ารับการทดลองที่ใช้ปุ๋ยเคมี 2/3  ของค าแนะน าร่วมกับน้ าหมักชีวภาพ
                   ซุปเปอร์ พด.2 และปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ท าให้ต้นยางมีการเจริญเติบโตสูงสุดเท่ากับ 1.2 เซนติเมตรต่อปี
                   และให้ผลผลิตเนื้อยางแห้งสูงสุดเฉลี่ย 397 กิโลกรัมต่อไร่

                            วัชรี และคณะ (2557) ได้ศึกษาการใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับวัสดุปรับปรุงดินเพื่อปรับสภาพดินกรดที่
                   ใช้ปลูกหอมแดง ในต าบลอีปาด อ าเภอกัณทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ  พบว่า การใช้ปุ๋ยพืชสดอย่างเดียว
                   การใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับมูลไก่ การใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับปูนโดโลไมท์อัตรา 262 กิโลกรัมต่อไร่ การใช้ปุ๋ยพืช
                   สดร่วมกับหินฟอสเฟตอัตรา 400 กิโลกรัมต่อไร่ การใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับขี้เถ้าแกลบ 3 ตันต่อไร่ และการใช้

                   ปุ๋ยพืชสดร่วมกับยิปซัมอัตรา 200 กิโลกรัมต่อไร่ ทุกวิธีการสามารถท าให้ความกรดในดินลดลง นอกจากนี้
                   พบว่า ธาตุอาหารในดินเพิ่มขึ้นด้วย และการใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับมูลไก่ท าให้หอมแดงมีผลผลิตสูงสุด
                   1,925 กิโลกรัมต่อไร่
                                       2.2.3)  น้ าหมักชีวภาพ หมายถึง ของเหลวได้จากการหมักวัสดุอินทรีย์ เช่น พืช

                   สัตว์ที่มีลักษณะสด หรืออวบน้ าโดยอาศัยจุลินทรีย์ในสภาพที่ไม่ต้องการอากาศช่วยย่อยสลายวัสดุอินทรีย์
                   และได้ผลผลิตภัณฑ์หลายชนิด ได้แก่ กรดอินทรีย์ ฮอร์โมน หรือสารเร่งการเจริญเติบโตของพืช วิตามิน
                   กรดฮิวมิก และธาตุอาหารพืช กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีบทบาทในการย่อยสลาย คือ กลุ่มยีสต์ (Yeasts) มีรูปร่าง
                   กลมหรือรี สืบพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศโดยการแตกหน่อ (Budding) ในกระบวนการหมักใช้น้ าตาลเป็นแหล่ง

                   อาหารท าหน้าที่เปลี่ยนน้ าตาลเป็นแอลกอฮอล์และก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์นอกจากนี้ยังได้วิตามิน
                   ฮอร์โมน ค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 4  ถึง  6.5 กลุ่มแบคทีเรียผลิตกรดแลคติค (Lactic  acid
                   bacteria) เป็นแบคทีเรียแกรมบวก ไม่สร้างสปอร์ (Endospore) รูปร่างเป็นท่อนเจริญเติบโตในสภาพไม่มี

                   ออกซิเจน และใช้น้ าตาลเป็นแหล่งอาหารและพลังงานจุลินทรีย์ดังกล่าวทนทานต่อสภาพความเป็นกรดสูง
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53