Page 46 - ผลสำเร็จของการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริโครงการพัฒนาลุ่มน้ำพัฒนาคุณภาพชีวิตในพื้นที่ต้นน้ำน้ำหนาว
P. 46

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        33



                                      (1) ปอเทือง  เป็นพืชปุ๋ยสดที่ได้รับความนิยมมากในเขตภาคเหนือตอนล่าง
                   ในรายงานของทรายแก้ว (2557) ระบุว่า ปอเทืองเป็นพืชดั้งเดิมในเขตร้อนมีประมาณ 600 ชนิด ส่วนใหญ่
                   พบในทวีปอเมริกา จัดเป็นพืชตระกูลถั่ว (Leguminosae)  ชนิดที่ปลูกกันมากในอินเดีย เพื่อใช้เป็น

                   ปุ๋ยพืชสด พืชเส้นใย ได้แก่ Crotalaria juncea (sunn hemp) และน าเข้ามาปลูกในประเทศไทยที่แม่โจ้
                   จังหวัดเชียงใหม่ ก่อน พ.ศ. 2485  โดยน ามาจากประเทศฟิลิปปินส์ เป็นพืชฤดูเดียว ล าต้นตั้งตรง
                   แตกกิ่งก้านสาขามาก สูงประมาณ 180-300  เซนติเมตร  ใบเป็นใบเดียวยาวรี  ช่อดอกเป็นแบบราซีม
                   (Racemes)  ซึ่งอยู่ปลายกิ่งก้านสาขา ประกอบด้วยดอกย่อย 8-20  ดอก ดอกสีเหลือง มีการผสมข้าม

                   ฝักเป็นทรงกระบอกยาว 3-6 เซนติเมตร กว้าง 1-2 เซนติเมตร หนึ่งฝักมีประมาณ 6 เมล็ด เมื่อเขย่าฝักแก่
                   จะมีเสียงดังเนื่องจากเมล็ดกระทบกัน เมล็ดมีรูปร่างคล้ายหัวใจสีน้ าตาลหรือด า เมล็ดหนึ่งกิโลกรัมจะ
                   มีเมล็ดจ านวน 40,000-50,000 เมล็ด หรือหนึ่งลิตรจะมีประมาณ 34,481 เมล็ด

                                       การปลูกเพื่อใช้เป็นปุ๋ยพืชสด นิยมปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดในสภาพพื้นที่ดอน
                   โดยปลูกในรูปแบบของพืชหมุนเวียน โดยหว่านหรือโรยเมล็ด ก่อนการปลูกพืชหลัก เช่น ข้าวโพด
                   มันส าปะหลัง อ้อย เป็นต้น อย่างน้อย 2.0-2.5  เดือน แล้วไถกลบปอเทืองที่อายุประมาณ 50-60  วัน
                   ในขณะที่ดินยังมีความชื้นแล้วทิ้งไว้ 7-10  วัน ก่อนปลูกพืชหลัก หรืออาจปลูกในรูปแบบของพืชแซม
                   โดยปลูกระหว่างแถวพืชหลัก ปลูกหลังจากพืชหลักประมาณ 1-2  สัปดาห์ หรือในรูปแบบการปลูกพืช

                   เหลื่อมฤดู โดยปลูกปอเทืองเป็นพืชที่สอง ระหว่างแถวของพืชหลักในระหว่างที่พืชหลักยังไม่ได้เก็บเกี่ยว
                   แต่ใกล้ระยะเวลาหรือรอเก็บเกี่ยว เพื่อเป็นการประหยัดเวลาต่อเนื่องระหว่างการปลูกปอเทืองเพื่อเป็นปุ๋ย
                   พืชสดกับพืชหลัก สามารถปลูกพืชหลักในเวลาถัดไปได้ทันฤดู ในขณะดินมีความชื้นอยู่ และปอเทืองจะเป็น

                   พี่เลี้ยงให้กับพืชหลักที่ปลูกในระยะแรกเริ่ม ปอเทืองให้น้ าหนักสดประมาณ 1.5-3.0  ตันต่อไร่ ให้ธาตุ
                   ไนโตรเจนประมาณ 10-20  กิโลกรัมต่อไร่ เทียบกับปุ๋ยยูเรียและแอมโมเนียมซัลเฟตได้ประมาณ 23-48
                   และ 47-95 กิโลกรัม หรือมีเปอร์เซ็นต์ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมประมาณ 2.00-2.95 0.30-
                   0.40 และ 2.20-3.00 ตามล าดับ อย่างไรก็ตามน้ าหนักมวลชีวภาพและปริมาณธาตุอาหารขึ้นกับปัจจัยของ

                   ดินและการจัดการ

                                       2.2.2) ปุ๋ยหมัก เป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งซึ่งได้จากการน าชิ้นส่วนของพืชมาหมักใน
                   รูปของการกองซ้อนกันบนพื้นดินหรือในหลุมเศษชิ้นส่วนของพืชที่น ามาหมักจะต้องผ่านกระบวนการย่อย

                   สลายจนแปรสภาพไปจากรูปเดิมโดยกิจกรรมจุลินทรีย์จนกระทั้งได้สารอินทรียวัตถุที่มีความคงทน ไม่มี
                   กลิ่น มีสีน้ าตาลปนด าและมีอัตราส่วนของสารประกอบคาร์บอนต่อไนโตรเจนต่ า กรมพัฒนาที่ดินได้ผลิต
                   สารเร่งในการท าปุ๋ยหมัก คือ สารเร่ง พด.1 ซึ่งเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายเศษพืช
                   ประกอบด้วยเชื้อราและแอคติโนมัยชีสที่ย่อยสารประกอบเชลลูโลสและแบคทีเรียย่อยไขมันใส่ลงในกอง

                   ปุ๋ยหมักเพื่อลดระยะเวลาการท าปุ๋ยหมักให้สั้นลง คุณภาพและมาตรฐานของปุ๋ยหมักมีดังนี้ อัตราส่วน
                   สารประกอบคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N ratio) ไม่มากกว่า 20 ต่อ 1 เกรดปุ๋ยไม่ต่ ากว่าร้อยละ 0.5-0.5-
                   1.0 (ของ N-P O -K 0 ) ตามล าดับ ความชื้นของปุ๋ยหมักไม่ควรมากกว่าร้อยละ 35 ถึง 40  (โดยน้ าหนัก)
                               2 5 2
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51