Page 47 - ผลสำเร็จของการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริโครงการพัฒนาลุ่มน้ำพัฒนาคุณภาพชีวิตในพื้นที่ต้นน้ำน้ำหนาว
P. 47

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        34



                   ปริมาณอินทรียวัตถุประมาณร้อยละ 25 ถึง 50 (โดยน้ าหนัก) ความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 6.0 ถึง 7.5
                   และไม่มีวัสดุเจือปนอื่น ๆ
                                    (1) การผลิตและการใช้ปุ๋ยหมักจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.1

                                          สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการย่อยสลาย
                   วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เพื่อผลิตปุ๋ยหมักในเวลา
                   รวดเร็วและมีคุณภาพสูง ประกอบด้วยเชื้อราและแอคติโนมัยซีสที่ย่อยสลายสารประกอบเซลลูโลส และ
                   แบคทีเรียย่อยสลายไขมัน

                                                (1.1) ส่วนผสมของวัสดุในการกองปุ๋ยหมัก 1 ตัน ประกอบด้วย
                                                        - เศษพืชแห้ง         1,000  กิโลกรัม
                                                        - มูลสัตว์           200  กิโลกรัม

                                                      - ปุ๋ยไนโตรเจน         2      กิโลกรัม
                                                      - สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 จ านวน 1 ซอง
                                                  (1.2) วิธีการกองปุ๋ยหมัก
                                                    การกองปุ๋ยหมัก 1 ตัน จะมีขนาดความกว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร
                   สูง 1.5  เมตร วัสดุที่มีขนาดเล็กให้คลุกเคล้าวัสดุให้เข้ากันแล้วจึงกองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ส่วนวัสดุที่มี

                   ชิ้นส่วนยาวจะใช้วิธีการกองเป็นชั้น ๆ ประมาณ 3-4 ชั้น โดยแบ่งส่วนผสมที่จะกองออกเป็น 3-4  ส่วน
                   ตามจ านวนชั้นที่จะกอง ซึ่งมีวิธีการกอง ดังนี้
                                                    (1.2.1) ผสมสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 ในน้ า 20 ลิตร คนนาน 10-15

                   นาที เพื่อกระตุ้นให้จุลินทรีย์ออกจากสภาพที่เป็นสปอร์และพร้อมที่จะเกิดกิจกรรมการย่อยสลาย
                                                    (1.2.2)    การกองชั้นแรก มีขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร
                   สูง 30-40 เซนติเมตร โดยน าเศษพืชแห้งที่แบ่งไว้ส่วนที่หนึ่งมากองเป็นชั้น น ามูลสัตว์โรยที่ผิวหน้าเศษพืช
                   ให้ทั่ว โรยปุ๋ยไนโตรเจนทับบนชั้นของมูลสัตว์แล้วราดสารละลายสารเร่งให้ทั่ว ย่ าให้พอแน่นและ รดน้ าให้

                   ชุ่ม หลังจากนั้นน าเศษพืชมากองทับเพื่อท าชั้นต่อไป โดยท าเช่นเดียวกับการกองชั้นแรก ท าเช่นนี้อีก 2-3
                   ชั้น ชั้นบนสุดของกองปุ๋ยควรปิดทับด้วยเศษพืชที่เหลืออยู่เพื่อป้องกันการสูญเสียความชื้น
                                                    (1.2.3)  ดูแลรักษากองปุ๋ยโดยรักษาความชื้นอยู่เสมอให้มีความชื้น
                   ประมาณ 50-60  เปอร์เซ็นต์โดยน้ าหนัก และกลับกองปุ๋ยประมาณ 7-10  วันต่อครั้ง  เพื่อระบายอากาศ

                   เพิ่มออกซิเจนให้กองปุ๋ยหมัก ช่วยให้วัสดุคลุกเคล้าเข้ากัน และช่วยลดความร้อนในกองปุ๋ย
                                               (1.3) อัตราและวิธีการใช้ปุ๋ยหมักซุปเปอร์ พด.1
                                                    (1.3.1)  ข้าว  ใช้อัตรา 2 ตันต่อไร่ หว่านให้ทั่วพื้นที่แล้วไถกลบ
                   ก่อนปลูกพืช

                                                    (1.3.2) พืชไร่ ใช้อัตรา 2 ตันต่อไร่ โรยเป็นแถวตามแนวปลูกพืช
                   แล้วคลุกเคล้ากับดิน
                                                   (1.3.3)  พืชผัก ใช้อัตรา 4 ตันต่อไร่ หว่านให้ทั่วแปลงปลูกไถกลบ

                   ขณะเตรียมดิน
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52