Page 37 - ผลสำเร็จของการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริโครงการพัฒนาลุ่มน้ำพัฒนาคุณภาพชีวิตในพื้นที่ต้นน้ำน้ำหนาว
P. 37

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        24



                                         1.5) เพื่อรักษาน้ าและความชื้นในดิน รวมถึงการใช้ทรัพยากรน้ าในพื้นที่ให้เกิด
                   ประโยชน์สูงสุด
                                  2)  วิธีการอนุรักษ์ดินและน้ าที่ส าคัญในทางการเกษตรประกอบด้วย 2 มาตรการ

                   (กรมพัฒนาที่ดิน, 2544) ดังนี้
                                   2.1) มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าโดยวิธีกล (Mechanical  Measures) คือ วิธีการ
                   อนุรักษ์ดินและน้ าโดยการก่อสร้างโครงสร้างทางวิศวกรรม เพื่อควบคุมน้ าไหลบาหนาดิน โดยการสรางสิ่ง
                   กีดขวางความลาดเทของพื้นที่และทิศทางการไหลของน้ า ชวยลดความเร็วของกระแสน้ า โดยความยาว

                   ของความลาดเทจะถูกแบงออกเปนระยะ ๆ มาตรการวิธีกลมีหลายวิธี  ดังนี้
                                       2.1.1)  การสร้างคันดินกั้นน้ า (Terrace)  กั้นน้ าหรือขวางความลาดเขาของพื้นที่
                   มีประโยชน์ลดปริมาณการสูญเสียเนื้อดิน ป้องกันการเกิดร่องน้ า เป็นการสงวนน้ าไว้ใช้ในดินในบริเวณที่

                   ขาดแคลนน้ า และท าให้การใช้ดินเป็นไปอย่างกว้างขวาง ปราศจากอันตรายจากการสูญเสียดิน โดยชนิด
                   ของการท าคันดิน คือ
                                            (1)  คันดินบันได (Bench  Terraces) คือ ขั้นบันไดซึ่งสร้างขึ้นโดยการท า
                   คันดินหรือหินไปตามแนวระดับ โดยท าเป็นขั้น ๆ แคบ ๆ สร้างในบริเวณที่มีความลาดเทเกินกว่า  15
                   เปอร์เซ็นต์

                                            (2) คันดินฐานกว้าง (Broadbase  terrace)  เป็นคันดินที่มีลักษณะ
                   คล้ายคลึงกับคันดินขั้นบันได แต่มีความกว้างของขั้นบันไดกว้างกว่า โดยปกติสร้างขึ้นในบริเวณที่มีความ
                   ลาดชันน้อยหรือที่เกือบราบ

                                       2.1.2)  การสร้างคูรับน้ าขอบเขา (Hillside  Ditch)  คือ คูระบายน้ าที่สร้างไว้ใน
                   สวนไม้ผล โดยระยะห่างระหว่างคูรับน้ า 2  คู ขึ้นกับความเหมาะสมทางด้านการเพาะปลูก ซึ่งได้แก่
                   ขนาดทรงพุ่ม และระยะแถวของไม้ผล รวมทั้งความต้องการในการใช้คูรับน้ าขอบเขาเป็นพื้นที่ล าเลียง
                   ขนส่ง หรือแม้กระทั่งถนนเพื่อขนส่งเครื่องมือ เครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์การเกษตรรวมทั้งผลผลิตการเกษตร

                   ออกสู่ตลาด เป็นต้น
                                       คูรับน้ าขอบเขา (Hillside-Ditch) หรือ คันดินแบบที่ 6  ควรใช้กับพื้นที่ที่มีความ
                   ลาดเทมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์  รวมถึงพื้นที่โครงการพิเศษอื่นๆ เช่น โครงการหลวง และพื้นที่สูง เป็นต้น
                   ซึ่งปริมาตรดินขุดดินถม ประมาณ 0.2 ลูกบาศก์เมตรต่อเมตร ขุดดินโดยใช้แรงงานคน (ไชยสิทธิ์, 2549)

                                       ในการค านวณหาระยะห่างระหว่างคันดินแบบต่าง ๆ และแนวหญ้าแฝก
                   (กรมพัฒนาที่ดิน, 2553) สามารถหาได้จากสูตร

                                                VI   =    (0.5 S + 2) 0.3   เมตร

                                                HI   =    (VI / S) 100       เมตร
                                         เมื่อ      VI   =   ระยะตามแนวดิ่ง
                                                HI   =    ระยะตามแนวราบ

                                                S    =    เปอร์เซ็นต์ความลาดชัน (slope)
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42