Page 34 - ผลสำเร็จของการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริโครงการพัฒนาลุ่มน้ำพัฒนาคุณภาพชีวิตในพื้นที่ต้นน้ำน้ำหนาว
P. 34

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        21



                                  -  สาธารณสุข มีสถานพยาบาลในชุมชนจ านวน 3  แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริม
                   สุขภาพต าบลหลักด่าน สถานบริการสาธารณสุขชุมชนบ้านห้วยกะโปะ และสถานพยาบาลเอกชน
                                  - การบริการขั้นพื้นฐาน

                                    (1)  เส้นทางคมนาคมหลัก จ านวน 1  สาย โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 2216
                   สายกกกะทอน-ห้วยสนามทราย มีระยะทางที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของต าบลหลักด่าน ประมาณ 12
                   กิโลเมตร เป็นสายที่เชื่อมการคมนาคมระหว่างต าบลหลักด่านกับอ าเภอน้ าหนาวและอ าเภอหล่มเก่า
                   ซึ่งสภาพถนนเป็นเส้นทางคดเคี้ยวสูงชันไปตามสันเขา ระยะเวลาในการเดินทางไปอ าเภอน้ าหนาว

                   ประมาณ 1 ชั่วโมง
                                    (2) เส้นทางคมนาคมสายรอง (ย่อย) เป็นเส้นทางในหมู่บ้าน ที่ส าคัญมี 3 สาย ได้แก่
                   สายบ้านโนนชาติ-ห้วยลาด เป็นถนนลาดยางท้องถิ่นระยะทางตลอดสาย ประมาณ 3  กิโลเมตร

                   สายโนนชาด-ห้วยกะโปะ เป็นถนนลาดยาง ประมาณ 6 กิโลเมตร (มีถนนคอนกรีตเสริมเป็นบางช่วง) และ
                   สายบ้านห้วยน้ าหนาว-บ้านหลักด่าน เป็นถนนคอนกรีตระยะทางตลอดสาย ประมาณ 3  กิโลเมตร
                   (องค์การบริหารส่วนต าบลหลักด่าน, 2560)

                   2.7 การชะล้างพังทลายของดิน (กลุ่มวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดิน ส านักงานพัฒนาที่ดินเขต 8)

                            ดินเป็นพื้นฐานส าคัญที่เอื้ออ านวยให้มนุษย์เราได้มาซึ่งปัจจัยสี่ส าหรับด ารงชีพ ขณะเดียวกันดิน
                   เป็นผลที่เกิดจากการผุพังและการพังทลายของวัตถุต้นก าเนิดคือ หินชนิดต่าง ๆ ดินในที่ดอนหรือดินบน
                   ภูเขาเกิดจากการผุพังของหินต้นก าเนิด ณ ที่นั้นเองเป็นส่วนใหญ่ ส่วนดินที่เกิดในที่ราบและที่ลุ่มเกิดจาก

                   การพัดพาตะกอนมาจากที่อื่นมาทับถมไว้ การชะล้างพังทลายเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างหนึ่งที่เกิด
                   มาพร้อมกับโลกของเรา กระบวนการที่กล่าวมาเป็นกระบวนการชะล้างพังทลายของดินที่เกิดขึ้นตาม
                   ธรรมชาติ จึงเห็นได้ว่าในสภาพธรรมชาติ มีความสมดุลทางนิเวศวิทยาในพื้นที่ต่าง ๆ บนผิวโลก แต่เมื่อ
                   มนุษย์เข้ามาเกี่ยวข้อง จึงท าให้เกิดการเสียสมดุลขึ้น ทั้งนี้เนื่องมาจากการชะล้างพังทลายของดินโดย

                   มนุษย์เป็นผู้กระท า ทั้งที่มนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้องกับการชะล้างพังทลายนี้โดยมิได้มีเจตนาแต่ประการใด
                   แต่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการน าพื้นที่ที่เคยเป็นป่าไม้มาใช้ประโยชน์ต่าง ๆ เช่น ใช้ในการเกษตร  ใช้สร้าง
                   บ้านเรือนอาคาร  ถนน เป็นต้น แต่เดิมมนุษย์มีการตั้งถิ่นฐานในที่ราบลุ่มริมแม่น้ า เมื่อพื้นที่ราบนั้นถูกใช้
                   หมดไป ประชากรมีเพิ่มมากขึ้น จึงต้องบุกรุกที่ดินท ากินเพิ่มมากขึ้น ผลที่ได้รับคือดินในที่ดอนที่ใช้ปลูกพืช

                   มีการชะล้างพังทลายสูง ต้องเสียดินปีละมาก ๆ สมดุลของการเกิดดินและสูญเสียดินจึงต้องเสียไป และ
                   พืชปลูกจะให้ผลผลิตลดลงเรื่อย ๆ จนในที่สุดเนื้อดินอาจหมดไปเหลือแต่เศษหินที่เคยเป็นชิ้นส่วนของ
                   หินต้นก าเนิดใช้ปลูกพืชไม่ได้ กระบวนการชะล้างพังทลายของดินแบ่งได้ 3 ขั้นตอน คือ
                                1) การแยกตัวของอนุภาคดินออกจากกัน

                                2) การเคลื่อนที่ของอนุภาคดิน
                                3) การทับถมของอนุภาคดิน


                            2.7.1 ปัจจัยที่ท าให้เกิดการชะล้างพังทลายของดิน
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39