Page 36 - ผลสำเร็จของการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริโครงการพัฒนาลุ่มน้ำพัฒนาคุณภาพชีวิตในพื้นที่ต้นน้ำน้ำหนาว
P. 36

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        23



                                 8) การชะล้างพังทลายของชายฝั่งทะเล เป็นการชะล้างพังทลายโดยอิทธิพลของคลื่น
                   ในทะเล ท าให้เกิดการพังทลายของพื้นดินและหินที่อยู่ชายฝั่ง บางครั้งหาดทรายบนพื้นที่กว้างขวางถูก
                   คลื่นซัดหายไปทั้งหมด การชะล้างแบบนี้ท าให้เกิดความเสียหายแก่ที่ดินและทรัพย์สินเช่นกัน

                            2.7.3 ผลเสียที่เกิดจาการชะล้างพังทลายของดิน
                                 1) ท าให้ผลผลิตของพืชลดลงเนื่องจากการสูญเสียธาตุอาหาร เมื่อเกิดการชะล้าง
                   พังทลายของดิน สิ่งที่หายไปจากดินกร่อนคือ อินทรียวัตถุและเม็ดดินเหนียว เม็ดทรายแป้งและเม็ดทราย
                   ละเอียด จะส่งผลให้ดินแน่นทึบ การซาบซึมของน้ าเลวลง ผลที่ตามมาคือ ผลผลิตลดลง

                                 2) ท าให้การปฏิบัติงานในไร่นาเป็นไปด้วยความยากล าบาก เมื่อเกิดการชะล้างท าให้เกิด
                   ร่องน้ าทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เกิดความไม่สะดวกในการใช้เครื่องจักรต่าง ๆ ทางสัญจรไปมาถูก
                   กัดเซาะเสียหายต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมเพิ่มขึ้น

                                 3) ท าให้เกิดตะกอนในที่ต่าง ๆ ก่อให้เกิดความเสียหาย เช่น ตะกอนในบริเวณไร่นาเป็น
                   การไปทับถมหน้าดินเดิมที่มีความอุดมสมบรูณ์สูงกว่า เมื่อตกลงในอ่างเก็บน้ าก้อท าให้ประสิทธิภาพในการ
                   กักเก็บน้ าลดลง เมื่อถูกพัดพาไปลงสู่แม่น้ าล าคลอง จะส่งผลให้เกิดปัญหาน้ าท่วมได้ง่ายขึ้น
                                 4) ท าให้เกิดวัฏจักรของความแห้งแล้งและอุทกภัย เมื่อน้ าซาบซึมลงดินได้ช้าลง
                   เนื่องจากได้สูญเสียหน้าดินที่โปร่งพรุนไป ปริมาณน้ าที่ไหลบ่าหน้าดินจะมีมากขึ้นและปริมาณการไหลของ

                   น้ าฤดูฝนจะมีมากกว่าปกติ ท าให้เกิดน้ าท่วมได้ง่าย เมื่อถึงฤดูร้อนน้ าที่ถูกกักเก็บไว้ในดินมีอยู่น้อยจึงได้รับ
                   การปลดปล่อยออกมายังแม่น้ าล าธารได้น้อยด้วย เกิดเป็นความแห้งแล้งขึ้น และเกิดการสูญเสียสมดุล
                   ทางธรรมชาติ


                   2.8 เทคโนโลยีด้านการพัฒนาที่ดิน
                            2.8.1 มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า
                                  การอนุรักษ์ดินและน้ า (Soil  and  Water  Conservation) หมายถึง การกระท าใดๆ

                   ก็ตามที่ก่อให้เกิดผลดีกับทรัพยากรดินและน้ า หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การใช้ประโยชน์ที่ดิน หรือ
                   ทรัพยากรดินและน้ าอย่างเหมาะสมชาญฉลาดและคุ้มค่า โดยค านึงถึงการรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน
                   เพื่อก่อให้เกิดผลผลิตสูงสุดและยั่งยืนตลอดไป (กรมพัฒนาที่ดิน, 2544)
                                  1) วัตถุประสงค์ของการอนุรักษ์ดินและน้ า ได้แก่

                                         1.1) เพื่อลดการชะล้างพังทลายดิน เพื่อให้อัตราการสูญเสียดินใกล้เคียงกับ
                   อัตราการเกิดดิน และพยายามรักษาให้อยู่ในสภาพที่สมดุล
                                         1.2) เพื่อรักษาปริมาณธาตุอาหารและระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน รวมถึง
                   การป้องกันการสูญเสียและการเพิ่มส่วนที่สูญเสียไปโดยวิธีการหนึ่ง

                                         1.3) เพื่อรักษาระดับอินทรียวัตถุในดิน และควบคุมอัตราการสลายตัว
                   เพิ่มซากพืชและสัตว์ให้แก่ดิน
                                         1.4) เพื่อรักษาสมบัติทางกายภาพและเคมีของดิน ให้มีสภาพที่เหมาะสมต่อการ

                   เจริญเติบโตของพืช รวมถึงการปรับปรุงบ ารุงดินให้ดินมีสมบัติที่ดีขึ้น
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41