Page 35 - ผลสำเร็จของการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริโครงการพัฒนาลุ่มน้ำพัฒนาคุณภาพชีวิตในพื้นที่ต้นน้ำน้ำหนาว
P. 35

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        22



                                    1) ลม ลมเป็นตัวการที่ท าให้เกิดการพัดพาไปของดินในหลายประเทศ เช่น
                   ในสหรัฐอเมริกา จีน รัสเชีย ในประเทศไทยลมมิได้เป็นตัวการส าคัญ แต่อาจมีผลในการพัดพาดินไปได้ใน
                   กรณีที่ปล่อยให้ดินแห้ง เช่น ดินทรายของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและบริเวณดินพรุของพื้นที่ภาคใต้

                                 2) น้ า น้ าเป็นตัวการเพียงประการเดียวในการท าให้เกิดการชะล้างพังทลายของดินใน
                   ประเทศไทย น้ ามีอิทธิพอต่อการชะล้างพังทลายนับแต่เมื่ออยู่ในสภาพของเม็ดฝนที่ตกลงมากระทบผิวดิน
                   จนเป็นน้ าที่ไหลกัดเซาะชายฝั่งล าธารและเป็นน้ าทะเลที่ซัดกระแทกฝั่งอยู่ตลอดเวลา
                                 3) สิ่งมีชีวิต เช่น สัตว์และพืชที่อยู่ในดินและสัตว์ต่าง ๆ ที่หากินอยู่บนดิน


                            2.7.2 รูปแบบการชะล้างพังทลายของดิน
                                 เนื่องจากในสภาพลมฟ้าอากาศของประเทศไทย น้ าเป็นตัวการเพียงอย่างเดียวที่ท าให้

                   เกิดการชะล้างพังทลายของดิน มีอยู่ 8 แบบด้วยกัน ได้แก่
                                 1) การชะล้างพังทลายของดินแบบกระเด็น เป็นการพังทลายของดินซึ่งเกิดจากการ
                   กระเด็นของเม็ดฝนที่ตกลงมากระทบกับผิวดินที่ไม่มีสิ่งปกคลุม เป็นการพังทลายที่เกิดบนพื้นที่ที่ใช้ปลูกพืช
                   ทั่วไป และเป็นสาเหตุส าคัญที่ท าให้เกิดการพังทลายของดินแบบอื่น ๆ ตามมา
                                 2) การชะล้างพังทลายแบบแผ่น การชะล้างพังทลายแบบนี้สังเกตได้ยาก เพราะหน้าดิน

                   จะถูกพัดพาไปเป็นความหนาเท่า ๆ กัน เกิดขึ้นบนพื้นที่ลาดเทค่อนข้างเสมอ
                                 3) การชะล้างพังทลายแบบริ้ว เป็นการพังทลายที่มีลักษณะเป็นร่องน้ าขนาดเล็กเกิดบน
                   พื้นที่ที่ใช้ปลูกพืช ร่องน้ าขนาดเล็กนี้สามารถท าให้หายไปได้โดยใช้เครื่องมือไถพรวนธรรมดา

                                 4) การชะล้างพังทลายแบบร่องลึก เป็นการพังลายที่มีลักษณะเป็นร่องน้ าขนาดใหญ่
                   เกิดขึ้นเนื่องจากน้ าไหลบ่ามารวมกันเป็นปริมาณมากและมีแรงกัดเซาะสูง การพังทลายแบบนี้เป็นอุปสรรค
                   ในการเพาะปลูกเพราะไม่สามารถใช้เครื่องจักรกลธรรมดาได้ บางแห่งร่องน้ ามีความลึกมาจนเป็นหุบหรือ
                   เหว ใช้การอะไรไม่ได้ ตัวอย่างเช่น แพะเมืองผี จังหวัดแพร่ และเสาดิน จังหวัดน่าน การแก้ไขท าได้ยาก

                   และต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นเมื่อเกิดร่องน้ าขนาดใหญ่นี้แล้วมักจะไม่มีการใช้ประโยชน์อะไรต่อไปอีก
                                 5) การชะล้างพังทลายแบบอุโมงค์ ในการพังทลายแบบนี้ ดินจะถูกกัดเซาะภายในพื้นดิน
                   ซึ่งอาจเป็นแนวดิ่งหรือแนวนอน ท าให้เกิดเป็นท่อหรืออุโมงค์เมื่อเป็นมากขึ้นอุโมงค์จะพังลงมาเกิดเป็น
                   ร่องน้ าขนาดใหญ่ การชะล้างพังทลายแบบนี้มักเกิดในพื้นที่ที่มีคุณค่าทางการเกษตรต่ า หรือตาม

                   สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เช่น ถนน คันชลประทาน เป็นต้น
                                 6) การชะล้างแบบดินเลื่อนหรือดินถล่ม มักเกิดขึ้นบนพื้นที่ที่มีความลาดชันมาก ๆ คือ
                   เมื่อพื้นที่นั้นถูกน้ าจากฝนหรือล าห้วยแช่จนอิ่มตัวจะมีความหนักมา จึงลื่นไถลลงมากองอยู่ในที่ต่ า ตัวอย่าง
                   ที่เห็นได้ชัดคือ บริเวณที่ตัดถนนไปตามภูเขาสูงข้างถนนจะมีดินเลื่อนลงมาเป็นครั้งคราว ส่วนดินถล่มนั้น

                   มักจะเกิดขึ้นในประเทศที่มีพายุใต้ฝุ่นบ่อย ๆ
                                 7) การชะล้างพังทลายของฝั่งแม่น้ าล าธาร เกิดขึ้นตามริมฝั่งของแม่น้ าล าธารและคลอง
                   ต่าง ๆ โดยอิทธิผลของกระแสน้ า ท าให้เกิดความเสียหายแก่ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ตั้งอยู่
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40