Page 34 - การปรับปรุงบำรุงดินนาข้าวในศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ตำบลหนองกรด อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
P. 34

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       27







                       แสงท าการไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดได้ในช่วงอายุการออกดอก การใช้ประโยชน์เพื่อใช้ปลูกเป็นพืชปุ๋ยสด
                       ปรับปรุงบ ารุงดิน โดยทั่วไปแล้วโสนจีนแดงใช้ปลูกเป็นพืชปุ๋ยสดสลับกับพืชหลัก หรือแซมในแถวพืช

                       หลักในระบบการปลูกพืช เช่นหมุนเวียน หรือแซมในข้าวโพด เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้โสนจีนแดงปลูก
                       ในนาข้าวแล้วสับกลบเป็นปุ๋ยพืชสดในนาแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้เมล็ดพันธุ์หว่านให้ทั่ว

                       ทั้งแปลงในอัตรา 5  กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนในนาดินเค็มใช้อัตราเมล็ดหว่านมากกว่าปกติคือประมาณ 8
                       กิโลกรัมต่อไร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความงอกของเมล็ด ให้น้ าหนักสดก่อนไถกลบประมาณ 1.5-2  ตันต่อไร่

                       ในโสนจีนแดงมีธาตุอาหารหลักที่จ าเป็นแก่พืช คือ มีไนโตรเจน 2.85  เปอร์เซ็นต์  ฟอสฟอรัส 0.43

                       เปอร์เซ็นต์ โพแทสเซียม 2.10 เปอร์เซ็นต์  แคลเซียม 0.79 เปอร์เซ็นต์ แมกนีเซียม 1.83 เปอร์เซ็นต์
                       และซัลเฟอร์ 0.90 เปอร์เซ็นต์

                              6) โสนอินเดีย (Sesbania) ชื่อวิทยาศาสตร์คือ (Sesbania  speciosa ) ลักษณะโดยทั่วไป

                       ล าต้นคล้ายโสนไทย มีล าต้นสูงใหญ่แตกกิ่งก้านสาขาได้มาก มีความต้านทานต่อโรคและแมลงได้ดี ล า
                       ต้นโตเต็มที่อาจสูงตั้งแต่ 2.00-3.50 เมตร สามารถขึ้นได้ดีในสภาพดินเปียกและดินแห้ง หรือดินทราย

                       และดินเหนียว ทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศที่แห้งแล้งได้ดี อีกทั้งสามารถขึ้นได้ในดินเค็มภาค
                       ตะวันออกเฉียงเหนืออีกด้วย   อายุการไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดค่อนข้างยาวหากค านึงถึงการไถกลบ

                       ในช่วงออกดอก  เพราะโสนอินเดียจะออกดอกเมื่ออายุประมาณ 90  วัน  ซึ่งล าต้นในขณะนั้นจะสูง
                       ใหญ่มาก   ดังนั้นโดยหลักในการปฏิบัติที่เป็นไปได้จึงสามารถจะไถกลบโสนอินเดียได้ในช่วงอายุ

                       ประมาณ 60 วัน ซึ่งจะมีล าต้นสูงประมาณ 1.50-2.00 เมตร สามารถให้น้ าหนักสดต่อไร่สูง และเป็น

                       การประหยัดเวลาในการปลูกพืชเศรษฐกิจ เพื่อท ารายได้ให้แก่เกษตรกร อย่างไรก็ตามหากเกษตรกรมี
                       เวลาพอเพียงในการปลูกพืชเศรษฐกิจอายุสั้นก็ควรจะปล่อยโสนอินเดียทิ้งไว้ครบอายุ 90 วัน จนออก

                       ดอกแล้วจึงไถกลบก็จะได้น้ าหนักสด (biomass) ค่อนข้างสูงมากคือประมาณ 2-3.5 ตันต่อไร่ คิดเป็น

                       ธาตุไนโตรเจนที่เติมลงไปในดินประมาณ 2.3  กิโลกรัมต่อไร่ ปริมาณธาตุอาหารหลัก ในโสนอินเดีย
                       วิเคราะห์ได้ ไนโตรเจน 2.85 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัส 0.46 เปอร์เซ็นต์ โพแทสเซียม 2.83 เปอร์เซ็นต์

                       แคลเซียม 1.96 เปอร์เซ็นต์ แมกนีเซียม 2.14 เปอร์เซ็นต์ และซัลเฟอร์ 0.97 เปอร์เซ็นต์ การปลูกโสน
                       อินเดียเพื่อการใช้ประโยชน์ไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดนั้น ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ 5  กิโลกรัมต่อไร่ หว่านให้ทั่ว

                       ทั้งแปลง
                              7) โสนคางคก (Joinvetch) ชื่อวิทยาศาสตร์คือ (Sesbania  aculeata) เป็นพืชตระกูลถั่วมี

                       ลักษณะเป็นพืชล าต้นตั้งตรงแตกกิ่งก้านสาขาพอสมควร มีลักษณะเด่น คือ มีหนามสั้นจ านวนมากที่

                       ล าต้นท าให้ผิวล าต้นดูขรุขระคล้ายหนังคางคก ต้นโตเต็มที่อาจสูงประมาณ 2.5  เมตร มีระบบราก
                       ค่อนข้างลึก ปกติขึ้นได้ดีในดินเหนียวที่ชื้นแฉะ ออกดอกเมื่ออายุประมาณ 60  วัน ส่วนมากใช้

                       ประโยชน์ในการปลูกไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว โดยใช้เมล็ดพันธุ์หว่านให้ทั่วทั้งแปลงในอัตรา 5

                       กิโลกรัมต่อไร่  สามารถท าการไถกลบได้เมื่ออายุประมาณ 60 วัน ให้น้ าหนักสดประมาณ 1.5-3 ตัน
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39