Page 37 - การปรับปรุงบำรุงดินนาข้าวในศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ตำบลหนองกรด อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
P. 37

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       30







                       ความร้อนมากอาจท าลายชีวิตเมล็ดพันธุ์ได้เมื่อตากได้ประมาณ 1-2  แดด ความชื้นประมาณ 14
                       เปอร์เซ็นต์ ก็จะน าเข้าเก็บรักษาต่อไป เมล็ดพันธุ์พืชทุกชนิดถ้าเก็บรักษาไว้อย่างถูกวิธีก็จะท า ให้เมล็ด

                       พันธุ์นั้นยังคงมีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูงอยู่ได้นานโดยปกติเมล็ดพันธุ์ตระกูลถั่วที่มีเปอร์เซ็นต์น้ ามันสูง
                       จะเก็บไว้ได้ไม่นาน ประมาณไม่เกิน 5-6 เดือน เปอร์เซ็นต์ความงอกจะลดลงมาก เช่น ถั่วเหลือง ถั่ว

                       เขียว ถั่วลิสง ฯลฯ  ส่วนเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสดตระกูลถั่วที่มีเปอร์เซ็นต์น้ ามันน้อยกว่าสามารถเก็บไว้ได้
                       นานกว่า เช่น ปอเทือง โสนต่างๆ ฯลฯ อาจเก็บไว้ได้นานถึง 2 ปี ทั้งนี้การเก็บเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสด

                       อย่างถูกวิธีนั้น ควรเก็บในภาชนะที่สามารถเก็บได้มิดชิด ควรเก็บรักษาไว้ในโรงเก็บที่มีความชื้นต่ า

                       และอุณหภูมิค่อนข้างต่ า มีการระบายอากาศดี อย่างไรก็ตามเพื่อป้องกันความเสียหายอันเกิดจากโรค
                       และแมลงเข้าท าลายเมล็ดพันธุ์ ควรมีการท าลายป้องกันแมลงศัตรูเมล็ดพันธุ์ก่อนที่จะน าเมล็ดพันธุ์พืช

                       ปุ๋ยสดเข้าเก็บรักษาโดยวิธีรมยาเมล็ดพันธุ์เพื่อก าจัดแมลงที่ติดมากับเมล็ดด้วยยา เช่น  Phostoxin

                       อัตรา ½-1 เม็ดต่อเมล็ด 100 กิโลกรัม และคลุกเมล็ดด้วยยา Malathion ชนิดผง 2 เปอร์เซ็นต์ อัตรา
                       50 กรัมต่อเมล็ด 100 กิโลกรัม  เป็นต้น เมล็ดพันธุ์ที่ได้ด าเนินการเก็บโดยถูกวิธีนี้ก็จะมีประสิทธิภาพ

                       คงเปอร์เซ็นต์ความงอกที่ดีไว้ได้นาน เพื่อน าไปปลูกใช้ประโยชน์ในโอกาสต่อไป
                                 จากการที่เกษตรกรส่วนใหญ่ท านาอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีการพักดินและปรับปรุงบ ารุง

                       ดิน ท าให้ทรัพยากรดินเสื่อมโทรมลง ซึ่งปัญหาเหล่านี้นับเป็นปัญหาที่นักวิชาการและนักส่งเสริม
                       การเกษตรได้พยายามหาทางแก้ไขอยู่ตลอดมา เช่น ได้มีการศึกษาวิจัย การส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์

                       ชนิดต่างๆ เพื่อปรับปรุงบ ารุงดิน แต่ก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับของเกษตรกรมากนัก จ าเป็นต้องหาวิธีการที่

                       จะท าให้เกษตรกรเห็นคุณค่าของการใช้ปุ๋ยพืชสดเพื่อปรับปรุงบ ารุงดินในนาเพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้แก่
                       ดินและเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร  โดยได้มีนักวิชาการหลายท่านได้ท าการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการ

                       ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยพืชสดเพื่อปรับปรุงหลายๆ ผลงาน ดังนี้

                                 อรทัย (2545)  ศึกษาสภาพการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการศูนย์
                       ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน  ปี  2543  พบว่า  เกษตรกรร้อยละ  63.02  ใช้ปุ๋ยพืชสดโดยวิธีการ

                       หว่านก่อนปลูกข้าว  ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของ เรณู (2549)  ที่พบว่า ผู้ใช้ปุ๋ยพืชสดทั้งหมดใช้
                       ปุ๋ยพืชสดก่อนการท านา

                                 สามารถ (2548) ศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้ปุ๋ยพืชสดเพื่อเพิ่มผลผลิต
                       ข้าวหอมมะลิของหมอดินอาสาในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ จังหวัดสุรินทร์ พบว่า เกษตรกรมีปัญหา เกี่ยวกับ

                       เมล็ดพันธุ์มีไม่เพียงพอต่อความต้องการ การสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ล่าช้าไม่ตรงกับความต้องการ ท าให้

                       ระยะเวลาปลูกล่าช้า ส่งผลให้ได้ปริมาณน้ าหนักสดน้อยกว่ามาตรฐาน ตลาดรับซื้อข้าวหอมมะลิที่ใช้
                       ปุ๋ยพืชสดราคาเดียวกับที่ใช้ปุ๋ยเคมี และการส่งเสริมการใช้พืชปุ๋ยสดของทางราชการมีข้อจ ากัด

                       เกี่ยวกับระยะเวลาและงบประมาณ
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42