Page 27 - การปรับปรุงบำรุงดินนาข้าวในศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ตำบลหนองกรด อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
P. 27

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       20







                       โอกาสในการสะสมด่างและกรดในสารละลายดินมีน้อยมาก คุณสมบัติความเป็นกรดเป็นด่างของส่วน
                       สารละลายดินที่มีผลต่อพืชจึงมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย
                              6)  ช่วยลดปริมาณความเค็มของดินเนื่องจากอินทรียวัตถุท าให้ดินร่วนซุย ถ่ายเทน้ าได้
                       สะดวกเป็นทางหนึ่งที่ช่วยลดปริมาณเกลือในดินให้เจือจางลง

                              7)  ช่วยแก้ปัญหาโรคพืช เนื่องจากเชื้อโรคพืชส่วนใหญ่ที่อยู่ในดินเป็นพวกที่ไม่ต้องการ
                       อากาศ ชอบอยู่ในบริเวณที่อับอากาศและชื้นแฉะ แต่อินทรียวัตถุจะท าให้ดินถ่ายเทอากาศได้ดีขึ้น จึง
                       เป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยลดปริมาณเชื้อโรคพืช นอกจากนี้จุลินทรีย์บางชนิดที่สร้างสารปฏิชีวนะ (Antibiotic) ได้ซึ่ง
                       สารนี้จะช่วยท าลายเชื้อโรคบางชนิดในดินได้ด้วย

                              8)  ช่วยลดการชะล้างพังทลายของดินและลดอัตราการไหลบ่าของน้ าบนผิวดิน เนื่องจากที่ว่า
                       อินทรียวัตถุมีคุณสมบัติที่ส าคัญท าหน้าที่คล้ายกับกระดาษซับน้ าได้เป็นอย่างดี และในท านองเดียวกัน
                       ก็ช่วยให้ดินร่วนซุยน้ าไหลผ่านได้ง่าย ฉะนั้นเมื่อเวลาฝนตกอินทรียวัตถุก็จะซับน้ าฝนเอาไว้ และเมื่อ
                       ฝนตกชุกก็จะช่วยให้น้ าไหลซึมผ่านเม็ดดินลงไปในดินชั้นล่างได้ง่ายเป็นการลดการไหลบ่าของน้ าบน

                       ผิวดินซึ่งเป็นการลดการสูญเสียหน้าดินได้
                               ปุ๋ยหมัก คือ ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่ง เกิดจากการน าซากพืชหรือเศษเหลือจากพืชมาหมัก
                       รวมกันและผ่านกระบวนการย่อยสลาย โดยกิจกรรมจุลินทรีย์จนเปลี่ยนสภาพไปจากเดิมเป็นวัสดุที่มี

                       ลักษณะ อ่อนนุ่ม เปื่อยยุ่ย  ไม่แข็งกระด้าง และมีสีน้ าตาลปนด า
                              ปุ๋ยคอก เป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ซึ่งได้จากการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งมีการน ามาใช้ในทางการเกษตร
                       อย่างแพร่หลายเป็นเวลานานปี ปุ๋ยคอกไม่เพียงแต่จะให้อินทรียวัตถุ ธาตุอาหารหลัก และธาตุอาหาร

                       รองที่จ าเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชเท่านั้น แต่ยังช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้เหมาะสมต่อ

                       การเจริญเติบโตของพืชท าให้ดินมีการระบายน้ าและอากาศดีขึ้น ช่วยเพิ่มความคงทนให้แก่เม็ดดินเป็น
                       การลดการชะล้างพังทลายของดินและช่วยรักษาหน้าดินไว้ นอกจากนี้ยังท าหน้าที่เป็น

                       แหล่งธาตุอาหารของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน ซึ่งมีผลท าให้กิจกรรมต่างๆของจุลินทรีย์ด าเนิน
                       ไปอย่างมีประสิทธิภาพและยังช่วยเพิ่มปริมาณของจุลินทรีย์ในดิน ในอดีตกาลมักใช้ปุ๋ยคอกเป็นไป

                       อย่างง่ายๆ ตามธรรมชาติโดยเกษตรกรจะเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย สุกร ม้า แพะ แกะ ฯลฯ ซึ่งการ
                       เลี้ยงสัตว์ส่วนใหญ่จะกระจัดกระจายไปตามท้องทุ่ง  เมื่อสัตว์ขับถ่ายมูลสัตว์ก็จะหล่นสู่พื้นดินโดยตรง

                       ซึ่งเป็นการใช้ปุ๋ยคอกแบบประหยัด ในปัจจุบันการเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทยได้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น จน

                       ท าให้เกิดอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ขนาดใหญ่ แพร่หลายไปทั่วประเทศ มูลสัตว์ที่เกิดขึ้นจะมีค่าเป็นเงิน
                       มหาศาล ก็ต่อเมื่อได้น าไปใช้เป็นปุ๋ยในพื้นที่ที่ท าการเกษตร แต่มูลสัตว์ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จะท าให้เกิดปัญหา

                       เรื่องกลิ่นและผลตามมา คือ เกิดมลภาวะอากาศและน้ าเป็นพิษ ดังนั้นหากมีการน ามูลสัตว์เหล่านี้ไป

                       ใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตร โดยน าไปใช้เป็นปุ๋ย ก็จะเกิดผลดีหลายประการ กล่าวคือ ช่วยน าของ
                       เสียหรือสิ่งเหลือทิ้งมาใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มธาตุอาหารพืช ช่วยปรับปรุงดินและช่วยก าจัดมลภาวะ

                       ให้แก่สิ่งแวดล้อม ผลผลิตสูงกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32