Page 26 - การปรับปรุงบำรุงดินนาข้าวในศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ตำบลหนองกรด อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
P. 26

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       19







                       อาหารพืชหลายชนิดเป็นองค์ประกอบ ธาตุอาหารพืชเหล่านี้จะถูกปลดปล่อยออกมาสะสมอยู่ในดิน
                       หลังจากที่อินทรียวัตถุสลายตัวโดยกิจกรรมของจุลินทรีย์

                              2) ช่วยให้ดินมีความสามารถดูดซับธาตุอาหารพืชได้สูงขึ้น เนื่องจากอินทรียวัตถุนั้นมีพื้นผิว
                       หน้าสัมผัสมากและมีประจุไฟฟ้าลบเป็นส่วนใหญ่ ฉะนั้นจึงมีความสามารถดูดซับประจุบวกไว้ได้มาก

                       กล่าวคือ มีความสามารถในการดูดซับและแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้า (CEC) ได้สูงกว่าดินเหนียวชนิดอื่นๆ
                       จึงเป็นแหล่งสะสมธาตุอาหารพืช ยึดเหนี่ยวธาตุอาหารไม่ให้ถูกน้ าชะล้าง เพราะธาตุอาหารจะดูดซับ

                       ไว้ที่ผิวของอินทรียวัตถุ ซึ่งจะช่วยลดการสูญเสียธาตุอาหารพืชชนิดต่างๆ ไว้ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะ

                       ดินทรายอินทรียวัตถุจะช่วยในเรื่องนี้ได้มากที่สุด และอินทรียวัตถุที่ธาตุอาหารพืชในรูปของประจุบวก
                       ดังกล่าวก็จะค่อย ๆ ปลดปล่อยประจุบวก เหล่านี้ออกมาให้พืชใช้ประโยชน์ได้ เป็นการช่วยให้ปุ๋ยเคมี

                       ที่เราใส่ลงไปมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นกล่าวคือธาตุอาหารพืชละลายออกมาจากปุ๋ยเคมีบางส่วนที่พืชดูด

                       น าไปใช้ไม่ทัน อินทรียวัตถุจะดูดซับเอาไว้มิให้สูญหายไปจากดิน
                              3) ช่วยปรับปรุงกายภาพของดินให้ดีขึ้น อินทรียวัตถุช่วยส่งเสริมให้อนุภาคของดินจับตัวเป็น
                       ก้อน (Granulation) ท าให้ดินมีโครงสร้างที่ดีและร่วนมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก การที่ดินเกาะยึดตัว

                       กันดีขึ้นจะช่วยให้ยากต่อการแตกแยก และถูกพัดพาเอาหน้าดินซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ออกไป
                       นอกจากนี้อินทรียวัตถุยังช่วยอุ้มน้ าไว้ให้พืชได้ใช้ในระยะเวลานานขึ้นกล่าวคืออินทรียวัตถุหรือที่
                       เรียกว่าฮิวมัสนั้น เป็นส่วนที่ได้จากขั้นสุดท้ายของขบวนการสลายตัวของอินทรีย์สารและให้สารที่

                       เรียกว่า สารปรับปรุงดิน (Soil conditioner) เช่น กรดฮิวมิค (Humic acid) เป็นต้น สารพวกนี้ช่วย
                       ท าให้โครงสร้างของดินดีขึ้น ท าให้ดินทรายจับตัวกันและดินเหนียวร่วนซุย ดินมีความสามารถอุ้มน้ าสูง
                       ท าให้น้ าในดินเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืชได้มากขึ้น จะเห็นได้ว่าดินที่มีอินทรียวัตถุสูงจะ
                       ช่วยให้พืชทนอยู่ได้ถึงแม้จะประสบฝนแล้ง
                              4) ช่วยให้จุลินทรีย์ในดินท างานได้ดีและมีปริมาณมากขึ้น อินทรียวัตถุในดินเป็นอาหารของ

                       จุลินทรีย์บางพวกด้วย กล่าวคือ จุลินทรีย์บางพวกได้พลังงานจากแป้งและน้ าตาลรวมทั้งธาตุอาหาร
                       จากโปรตีนของอินทรียวัตถุ ตลอดจนฮอร์โมน เอ็นไซม์และวิตามินที่จุลินทรีย์ย่อยมาจากอินทรียวัตถุ
                       ดังนั้นดินที่มีระดับอินทรียวัตถุสูงจะช่วยเสริมให้จุลินทรีย์ท างานได้ดีขึ้น เช่นการเปลี่ยนแปลงสภาพ

                       ธาตุอาหารพืชให้อยู่ในรูปที่พืชน าไปใช้ประโยชน์ได้ หรือท าให้ขบวนการตรึงไนโตรเจนจากอากาศของ
                       จุลินทรีย์ได้มากขึ้น และเมื่อจุลินทรีย์เหล่านี้ตายไปก็จะเน่าเปื่อยผุพังปลดปล่อยสารที่เป็นประโยชน์
                       ส าหรับพืชต่อไปอีกด้วย
                              5) ช่วยรักษาสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดิน อินทรียวัตถุมีคุณสมบัติในการต่อต้านการ
                       เปลี่ยนแปลงระดับสารเคมีหรือปฏิกิริยาทางเคมีในดิน (ช่วยเพิ่มความจุบัฟเฟอร์) กล่าวคืออินทรียวัตถุ

                       ช่วยเพิ่มประจุของดิน สภาพความมีประจุของดินท าให้ดินมีไอออนดูดซับไว้โดยรอบ อนุภาคไอออนที่
                       ถูกดูดซับนี้จะสมดุลกับไอออนชนิดเดียวกันในสารละลายดิน ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้น เช่น มี
                       การดูดซับไอออนที่เป็นธาตุอาหารพืช (ดูดซับไอออนจากส่วนที่อยู่ในสารละลายดิน) ไอออนที่ถูกดูด

                       ซับก็จะมาแทนที่ไอออนชนิดเดียวกันที่ถูกดูดไปจากสารละลายดิน ดังนั้นเมื่อมีการเพิ่มสารใดๆ ที่มี
                       คุณสมบัติเป็นกรดเป็นด่างลงไปในดิน การรักษาสมดุลของไอออนทั้งสองส่วนจะเกิดขึ้นทันที ท าให้
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31