Page 25 - การปรับปรุงบำรุงดินนาข้าวในศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ตำบลหนองกรด อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
P. 25

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       18







                       สูตร 21-0-0 อัตรา 20-30 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะก าเนิดช่อดอก หรือ 30 วันก่อนข้าวออกดอก ครั้งที่
                       3  ให้ปุ๋ยสูตร และอัตราเช่นเดียวกับครั้งที่ 2 ที่ระยะ 10-15 วันหลังระยะก าเนิดช่อดอก
                              นาหว่านน้ าตม ครั้งที่ 1   ให้ปุ๋ยสูตร 16-20-0  หรือ 18-22-0  หรือ 20-20-0  อัตรา 30
                       กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะ 20-30 วันหลังข้าวงอก (หากเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายควรใช้สูตร 16-16-8)

                       ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 ให้ปุ๋ยสูตรและอัตราเช่นเดียวกับนาด า
                              การเก็บเกี่ยวควรเก็บเกี่ยวในระยะที่เหมาะสม ถ้าเก็บเกี่ยวเร็วเกินไปมีผลท าให้ เมล็ดข้าว
                       น้ าหนักเบา การสะสมแป้งไม่เต็มที่ คุณภาพสีต่ า เมล็ดยังเขียว อ่อน หักป่น  ถ้าการเก็บเกี่ยวช้าเกินไป
                       ข้าวร่วงหล่นในนา เพราะข้าวแห้งกรอบ นก หนู และแมลง เข้าท าลายคุณภาพการสีไม่ดี เพราะเมล็ด

                       แตกร้าว เมล็ดงอกในนา การเก็บเกี่ยวระยะที่เหมาะสม (28-30 วันหลังวันออกดอก) จะท าให้ได้ข้าวที่
                       มีคุณภาพสีดี
                              วิธีการเก็บเกี่ยว  การเก็บเกี่ยวสามารถท าได้โดย โดยใช้แรงงานคนซึ่งมีข้อจ ากัดคือช้า และ
                       ค่าจ้างแรงงานแพง  และเก็บเกี่ยวโดยเครื่องเกี่ยวนวด วิธีนี้สามารถท างานได้รวดเร็ว แต่ข้อจ ากัดคือ

                       ผลผลิตข้าวมีความชื้นสูง (กรมการข้าว, 2559)

                       3.2 นวัตกรรมการปรับปรุงบ ารุงดินของกรมพัฒนาที่ดิน
                              การปรับปรุงบ ารุงดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2558) ระบุถึงการปรับปรุงบ ารุงดิน คือ การฟื้นฟูดิน
                       ให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะในการปลูกพืชให้เจริญเติบโตและให้ผลผลิตอย่างยั่งยืน รวมถึงการ

                       พัฒนาดินที่ไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก ให้สามารถท าการเพาะปลูกพืชให้เจริญเติบโตและให้ผลผลิต
                       ได้ตามปกติ การปรับปรุงบ ารุงดินมีทั้ง ทางด้านเคมี และทางด้านกายภาพ ซึ่งการปรับปรุงดินมีหลาย
                       วิธีเช่น การใช้ปุ๋ยเคมี การใช้ปุ๋ยอินทรีย์และหรือปุ๋ยชีวภาพ การใช้วัสดุปรับปรุงดิน และอาจใช้วิธี

                       ผสมผสาน ซึ่งเราสามารถใช้ได้ตามความเหมาะทางเศรษฐกิจ และภูมิสังคมแต่ละพื้นที่ การปรับปรุง
                       บ ารุงดินทางด้านกายภาพเป็นการปรับโครงสร้างดินให้เอื้ออ านวยต่อการเจริญเติบโตของรากพืช ท า
                       ให้มีช่องว่างในดินส าหรับการระบายน้ าและถ่ายเทอากาศได้ โดยทั่วไปอาศัยการไถพรวนดิน แต่หาก
                       ต้องการให้ดินมีโครงสร้างที่ดีต่อการเจริญเติบโตของพืชอย่างยั่งยืนจ าเป็นต้องอาศัยอินทรียวัตถุในดิน

                       ในการสร้างเม็ดดินจนประกอบเป็นโครงสร้างดิน ดั้งนั้นการปรับปรุงบ ารุงดินทางด้านกายภาพนั้น
                       จ าเป็นเพิ่มอินทรียวัตถุ ซึ่งการเพิ่มอินทรียวัตถุท าได้หลายวิธี เช่นการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกและปุ๋ยพืช
                       สด เป็นต้น
                              อินทรียวัตถุ หมายถึง สิ่งที่ได้จากการย่อยสลายตัวของสารอินทรีย์ซึ่งอยู่ในหลายขั้นตอน คือ

                       ตั้งแต่อยู่ในรูปเดิม หรือ เปลี่ยนแปลงแต่ยังรูปเดิม จนถึงเปลี่ยนแปลงรูปจากรูปเดิมโดยสมบูรณ์ กล่าว

                       ง่าย ๆ อินทรียวัตถุคือสิ่งที่ได้จากการย่อยสลายตัวของซากพืช ซากสัตว์ รวมถึงสิ่งขับถ่ายของมนุษย์
                       และสัตว์ ขยะต่างๆไปจนถึงเซลของจุลินทรีย์ที่ตายแล้ว อินทรียวัตถุเมื่อย่อยสลายต่อไปขั้นสุดท้ายจะ

                       ได้สารฮิวมัส ฮิวมัสเป็นสารที่เสถียรมีพื้นที่ผิวสัมผัสสูงสามารถดูดซับน้ าได้ดีมีความสามารถในการ
                       แลกเปลี่ยนประจุบวกสูง (CEC) ไม่ว่าเป็นอินทรียวัตถุ หรือสารฮิวมัสต่างก็มีประโยชน์ต่อดินและพืช

                              ประโยชน์ของอินทรียวัตถุในดิน
                              1) ให้แร่ธาตุอาหารพืช โดยเฉพาะอาหารพืชหลักได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม

                       ธาตุอาหารรอง ได้แก่ ก ามะถัน และธาตุอาหารเสริมส่วนใหญ่ครบทุกตัว เพราะอินทรียวัตถุมีธาตุ
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30