Page 22 - การปรับปรุงบำรุงดินนาข้าวในศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ตำบลหนองกรด อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
P. 22

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       15







                                                             บทที่ 3

                                                        การตรวจเอกสาร


                       3.1 ข้าว
                              แหล่งปลูกข้าวที่ส าคัญของประเทศไทย พื้นที่ลุ่มภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
                       ภาคเหนือ และพื้นที่นาในเขตชลประทานทุกภาคของประเทศ สภาพพื้นที่เป็นพื้นที่ที่สามารถควบคุม

                       ระดับน้ าได้  มีความสูงจากระดับน้ าทะเลไม่เกิน 600 เมตร และการคมนาคมสะดวก
                              ลักษณะดิน ส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวถึงดินร่วนเหนียว มีความอุดมสมบูรณ์สูงถึงปานกลาง
                       และสามารถอุ้มน้ าได้ดี ระดับหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 15  เซนติเมตร มีค่าความเป็นกรดด่างระหว่าง
                       5.0-6.5 สภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตประมาณ 22-23  องศาเซลเซียส มี

                       แสงแดดจัด แหล่งน้ า ควรมีคลองชลประทาน หรือแหล่งน้ าอื่น ๆ  ที่มีน้ าเพียงพอส าหรับใช้ตลอดฤดู
                       ปลูก เป็นน้ าสะอาด ปราศจากสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ที่มีพิษปนเปื้อน
                              พันธุ์ข้าวที่เหมาะสม

                              การเลือกพันธุ์ ควรเป็นพันธุ์ที่มีคุณภาพตามที่ตลาดต้องการ ให้ผลผลิตสูงต้านทานโรคและ
                       แมลงศัตรูข้าวที่ส าคัญในท้องถิ่น เจริญเติบโตดีเหมาะกับสภาพดินฟ้าอากาศ
                              พันธุ์ที่นิยมปลูก ส่วนใหญ่ปลูกพันธุ์ข้าวเจ้าและข้าวเหนียวไม่ไวต่อช่วงแสงทั้งในฤดูนาปีและ
                       นาปรัง และเป็นพันธุ์ที่สามารถปลูกได้ทั่วประเทศ พันธุ์ข้าวเจ้าที่นิยมปลูก
                              1. กข.7 อายุเก็บเกี่ยว 120-130 วัน ผลผลิตเฉลี่ย 675 กิโลกรัมต่อไร่ อมิโลสปานกลาง ข้าว

                       สุกค่อนข้างร่วนและนุ่ม เมล็ดมีระยะพักตัว 1 สัปดาห์ ค่อนข้างต้านทานโรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง
                       ค่อนข้างทนทานต่อดินเปรี้ยว
                              2. กข.23 อายุเก็บเกี่ยว 120-130 วัน ผลผลิตเฉลี่ย 800 กิโลกรัมต่อไร่ อมิโลสปานกลาง

                       ข้าวสุกค่อนข้างร่วนและนุ่ม เมล็ดมีระยะพักตัว 5 สัปดาห์ ต้านทานโรคขอบใบแห้ง โรคใบหงิก เพลี้ย
                       กระโดดสีน้ าตาล และค่อนข้างต้านทานเพลี้ยจักจั่นสีเขียว
                              3.  กข.31 อายุเก็บเกี่ยว 111-118 วัน  ผลผลิตเฉลี่ย 738 กิโลกรัมต่อไร่ อมิโลสสูง ข้าวสุก
                       ค่อนข้างแข็ง ไม่หอม เมล็ดมีระยะพักตัว 2 สัปดาห์ ค่อนข้างต้านทานโรคไหม้  โรคขอบใบแห้งเพลี้ย

                       กระโดดหลังขาว และเพลี้ยกระโดดสีน้ าตาล
                              4.  ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี  อายุเก็บเกี่ยว 118-122 วัน ผลผลิตเฉลี่ย 630 กิโลกรัมต่อไร่
                       อมิโลสต่ า ข้าวสุกนุ่ม  เหนียว และหอมคล้ายขาวดอกมะลิ 105 เมล็ดมีระยะพักตัว 4 สัปดาห์
                       ค่อนข้างต้านทานโรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดหลังขาว

                              5. ชัยนาท 1 อายุเก็บเกี่ยว 120-130 วัน ผลผลิตเฉลี่ย 740 กิโลกรัมต่อไร่ อมิโลสสูง ข้าวสุก
                       ร่วนและแข็ง เมล็ดมีระยะพักตัว 8 สัปดาห์  ต้านทานโรคใบหงิก ค่อนข้างต้านทานโรคไหม้ต้านทาน
                       เพลี้ยกระโดดสีน้ าตาล เพลี้ยกระโดดหลังขาว นอกจากใช้บริโภคแล้วยังใช้ในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์
                       เส้นได้ดี

                              6. ปทุมธานี 1 อายุเก็บเกี่ยว 112-125 วัน ผลผลิตเฉลี่ย 775 กิโลกรัมต่อไร่ อมิโลสต่ า ข้าว
                       สุกนุ่ม เหนียว และมีกลิ่นหอม เมล็ดมีระยะพักตัว 4 สัปดาห์ ค่อนข้างต้านทานโรคไหม้ โรคขอบใบ
                       แห้ง เพลี้ยกระโดดหลังขาว และเพลี้ยกระโดดสีน้ าตาล
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27