Page 20 - การปรับปรุงบำรุงดินนาข้าวในศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ตำบลหนองกรด อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
P. 20

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       13







                              3) กลุ่มดินที่มีความลาดชันสูง
                                   3.1) กลุ่มดินบนพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน

                                   กลุ่มชุดดินที่ 62 เป็นดินบนพื้นที่ภูเขาและเทือกเขาซึ่งมีความลาดชันมากกว่าร้อยละ 35
                       ดินที่พบบริเวณดังกล่าวมีทั้งดินลึกและดินตื้น ลักษณะของเนื้อดินและความอุดมสมบูรณ์ตาม

                       ธรรมชาติแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของหินต้นก าเนิด บริเวณดินตื้นมักมีเศษหิน ก้อนหินหรือพื้นโผล่
                       กระจัดกระจายทั่วไป ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยป่า มีเนื้อที่ประมาณ 4,655 ไร่ หรือร้อยละ 5.22 ของ

                       พื้นที่ต าบล

                                   พื้นที่บริเวณนี้ไม่ควรน ามาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร ควรสงวนไว้เป็นป่าตามธรรมชาติ
                       และแหล่งต้นน้ าล าธาร (ส่วนวางแผนการใช้ที่ดิน, 2557)

                              2.4.2 ทรัพยากรดินในศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ที่พบเป็นชุดดินท่าตูม

                       (Tha Tum series : Tt) การจ าแนกดินจัดอยู่ใน Fine, mixed, semiactive, isohyperthermic
                       Aeric (Plinthic) Endoaqualfs. เกิดจากตะกอนน้ าพามาทับถม สภาพพื้นที่มีลักษณะ ราบเรียบถึง

                       ค่อนข้างราบเรียบ ความลาดชัน 0–1 เปอร์เซ็นต์ เป็นดินลึก มีการระบายน้ าค่อนข้างเลว มี
                       ความสามารถให้น้ าซึมผ่านได้ช้าถึงปานกลาง การไหลบ่าของน้ าบนผิวดินช้า ความอุดมสมบูรณ์ต่ า

                              ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย สีน้ าตาล ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัด (pH 5.5) ส่วนดินล่าง
                       มีเนื้อดินเป็นดินเหนียวปนทราย ดินเหนียว สีเทา มีจุดประสีแดง สีแดงปนเหลืองของศิลาแลงอ่อน

                       ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดปานกลาง (pH 5.0-6.0)

                              ปัญหาส าคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดินคือ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ า มีน้ าท่วมขังในฤดูฝน
                              ความเหมาะสมส าหรับการปลูกพืช กลุ่มชุดดินนี้มีศักยภาพเหมาะสมทั้งการท านา ปลูกพืชไร่

                       และพืชผัก คือในช่วงฤดูฝนเหมาะแก่การปลูกข้าว เนื่องจากอยู่ในที่ราบ มีน้ าท่วมขัง เนื้อดินเป็นดิน

                       เหนียว และมีการระบายน้ าเลวถึงค่อนข้างเลว ในฤดูแล้งหลังการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว อาจปรับปรุงดิน
                       แล้วปลูกพืชไร่หรือพืชผัก เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ข้าวโพด กะหล่ าปลี คะน้า


                       2.5 การใช้ประโยชน์ที่ดินในต าบลหนองกรดและศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน
                              ผลการส ารวจสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ต าบลหนองกรด พบว่า มีการใช้ประโยชน์

                       ที่ดินทางการเกษตร 66,381 ไร่ (ร้อยละ 74.49) โดยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่นาข้าว 57,740 ไร่ (ร้อยละ
                       86.98) รองลงมาคือ พืชไร่ 5,431 ไร่ (ร้อยละ 8.18) และไม้ผล 957 ไร่ (ร้อยละ 1.44) ตามล าดับ

                       ส่วนพื้นที่ที่เหลืออื่นๆได้แก่ที่อยู่อาศัย แหล่งน้ า ป่าไม้ และพื้นที่เบ็ดเตล็ด (กรมพัฒนาที่ดิน, 2554)
                              การบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดินในศูนย์ถ่ายทอดฯ ประจ าต าบลหนองกรด พื้นที่ดิน

                       ภายในศูนย์มีทั้งหมด 22 ไร่ เป็นพื้นที่นา 10ไร่ (ร้อยละ 45.46) น้อยหน่า 5 ไร่ (ร้อยละ 22.73) แหล่ง

                       น้ าเพื่อการเกษตร 4 ไร่ (ร้อยละ 18.18) แปลงผัก 2 ไร่ (ร้อยละ 9.09) และที่อยู่อาศัย 1 ไร่
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25