Page 18 - แนวทางการจัดทำแผนที่แสดงความลาดชันของพื้นที่จากข้อมูลแบบจำลองระดับสูงเชิงเลขด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
P. 18

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          10




                                         3.8) ข้อมูลสภาพแวดล้อม (Association)  คือสภาพภูมิประเทศหรือลักษณะของ
                     พื้นที่ที่ใกล้เคียง ซึ่งใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาตัดสินใจระบุชี้ชัดได้ว่าวัตถุหรือสิ่งที่ปรากฏบนภาพ

                     เป็นชนิดใดหรือพื้นที่ประเภทใดเช่นบริเวณ โรงเก็บผลผลิตและลานตากมันจะอยู่ในบริเวณพื้นที่ที่มีการ
                     ท าไร่มันส าปะหลังเป็นจ านวนมาก ในขณะที่โรงสีข้าว จะอยู่บริเวณพื้นที่นาข้าว เป็นต้น

                                2.1.3 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) เป็นกระบวนการ

                     ทางเทคนิคหรือวิชาการสมัยใหม่ที่น าคอมพิวเตอร์มาใช้รวบรวม จัดเก็บ และการจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่
                     ซึ่งสามารถน ามาประยุกต์ใช้เพื่อจัดท าระบบฐานข้อมูลทางด้านทรัพยากร (Resource Mapping) เพื่อการ

                     วางแผนการบริหารจัดการทั้งในภาครัฐ เอกชน และประชาชน เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

                     เชิงพื้นที่ (Spatial Data) โดยน าข้อมูลในรูปแบบหรือลักษณะต่าง ๆของพื้นที่ศึกษาจัดท าให้อยู่ในรูปแบบ
                     ที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันและกัน ตามชนิดและรายละเอียดของข้อมูลนั้นๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

                     ตามต้องการ สามารถน าเสนอในรูปแบบของแผนที่และรายงาน เป็นระบบที่มีศักยภาพในการจัดเก็บ การจัดท า
                     การจัดการ การวิเคราะห์ และการน าเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (สุเพชร จิรขจรกุล, 2552)

                     ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เป็นระบบที่สามารถน าเอาข้อมูลมารวบรวม จัดเก็บและวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ
                     สามารถเรียกใช้งานสืบค้นข้อมูล และปรับปรุง แก้ไขข้อมูลได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ส าหรับใช้เป็นสารสนเทศ

                     เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจวางแผนในด้านต่างๆ ได้แก่ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                     การเกษตรและการประเมินผลผลิตทางการเกษตร การจัดการทางด้านผังเมืองและชุมชน การป้องกัน
                     และให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ (ส านักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ , 2552)

                     ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการศึกษาถึงลักษณะข้อมูล โครงสร้างข้อมูล เทคนิควิธีการน าเข้าข้อมูล (Data  Input)

                     รวมถึงการแก้ไข และการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน การออกแบบฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ การสร้าง
                     พจนานุกรมข้อมูล (Data dictionary) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Analysis) การตีความหมาย

                     จากผลการวิเคราะห์ และการแสดงข้อมูลเชิงพื้นที่ในรูปแบบต่างๆ
                                การวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ มีความแตกต่างจากการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบอื่นๆ

                     เนื่องจากข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่น ามาวิเคราะห์นั้นประกอบด้วยข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยาย
                     โดยสามารถน าข้อมูลทั้งสองประเภทมาวิเคราะห์ร่วมกันในคราวเดียวกัน ผลลัพธ์ที่ได้จะประกอบด้วยข้อมูล

                     ทั้งสองประเภท โดยในการด าเนินการในครั้งนี้ได้น าเทคนิควิธีการวิเคราะห์แบบการซ้อนทับข้อมูล

                     (Overlay analysis) ซึ่งเป็นวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยมากกว่า 1 ปัจจัย
                     โดยเป็นการกระท ากับข้อมูลตั้งแต่ 2 ชั้นข้อมูลขึ้นไป ตามเงื่อนไขที่ได้จากการวิเคราะห์ซึ่งอาจจะเป็นแบบ

                     คณิตศาสตร์หรือตรรกศาสตร์เพื่อได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่ต้องการบนพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งของแต่ละชั้นข้อมูล

                     ซึ่งจะต้องมีระบบพิกัดที่ตรงกันโดยผลลัพธ์ที่ได้คือชั้นข้อมูลใหม่ตามเงื่อนไขที่ก าหนดไว้ ส าหรับวิธีการ
                     วิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์โดยใช้เทคนิคการซ้อนทับชั้นข้อมูลที่น ามาใช้ในการด าเนินงาน ได้แก่

                                      1) การวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์โดยเทคนิคการซ้อนทับข้อมูลเชิงเส้น
                     (Vector overlay) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial data) และข้อมูลเชิงบรรยาย (Attribute data)

                     ของชั้นข้อมูล (Layer) 2 ชั้นข้อมูลเข้าด้วยกัน ซึ่งจะได้ผลลัพธ์เป็นชั้นข้อมูลใหม่ที่มีรูปลักษณ์ (feature)
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23