Page 15 - แนวทางการจัดทำแผนที่แสดงความลาดชันของพื้นที่จากข้อมูลแบบจำลองระดับสูงเชิงเลขด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
P. 15

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                           7




                                         1.2)  อุปกรณ์ที่ใช้ตรวจจับและบันทึกพลังงานรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า ที่สะท้อนหรือแผ่
                     ออกจากวัตถุ อุปกรณ์นี้ เรียกว่า “เซ็นเซอร์”( Sensor) ได้แก่ กล้องถ่ายรูป สแกนเนอร์ อุปกรณ์เครื่องมือ

                     ตรวจจับคลื่นรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า ที่ติดตั้งอยู่กับอากาศยานต่าง ๆ เช่นเครื่องบิน อากาศยานไร้คนขับ ยานอวกาศ
                     และดาวเทียม

                                         1.3)  การวิเคราะห์ข้อมูลจากการส ารวจระยะไกล คือการแปล (Interpretation)

                     ซึ่งสามารถท าได้โดยการแปลภาพถ่ายด้วยสายตา และการวิเคราะห์แปลความภาพถ่ายด้วยคอมพิวเตอร์
                     ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะกระบวนการแปลภาพถ่ายทางอากาศซึ่งเป็นการสกัดข้อมูลด้านคุณภาพ

                     (Qualitative information) ของวัตถุหรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่ปรากฏบนภาพ เช่น รูปร่าง ขนาด ต าแหน่ง

                     จ านวน หรือการกระจายของวัตถุต่างๆ ซึ่งเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่ได้จากการอ่านแปลภาพถ่าย ทั้งนี้การอ่านแปล
                     ภาพถ่ายไม่ได้อาศัยเฉพาะลักษณะที่สามารถมองเห็นได้จากภาพถ่ายเท่านั้น ต้องใช้การจินตนาการ

                     การคิดวิเคราะห์ และการคาดคะเนอย่างมีเหตุผล ซึ่งต้องใช้ความรู้ในวิชาการต่าง ๆ จากหลายสาขา
                     มาประยุกต์เพื่อให้เกิดมโนภาพ ในสิ่งที่เราไม่สามารถจะมองเห็นได้บนภาพถ่ายโดยตรง ซึ่งอาจต้องใช้

                     การคาดคะเนลักษณะภายในและสมบัติอื่นๆ จากสิ่งที่เรามองเห็นในภาพถ่าย น ามาเป็นองค์ประกอบ
                     ในการพิจารณาด้วย ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าการอ่านแปลภาพถ่ายอาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมดหรือ

                     เป็นส่วนใหญ่เท่านั้นการแปลภาพถ่าย จะมีลักษณะของการด าเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดที่แยกออกจากกันได้

                     หรือต้องท าร่วมกันทั้งหมด แบ่งออกเป็น 4  ส่วนคือ
                                             1.3.1)  การจ าแนก (Classification) คือ การระบุชนิด ประเภท ลักษณะต่าง ๆ

                     ของวัตถุ หรือสภาพพื้นที่โดยขึ้นอยู่กับลักษณะที่เห็นในภาพ โดยกระท าได้ใน 3 ระดับ คือระดับการตรวจจับได้

                     (Detection) ว่ามีหรือไม่มีลักษณะที่ต้องการจ าแนกในภาพ  ระดับการจดจ าได้ (Recognition) คือสามารถ
                     จัดประเภทหรือแยกประเภทของวัตถุต่าง ๆ ที่ปรากฏในภาพได้ และระดับการบ่งชี้เฉพาะ (Identification)

                     คือการระบุชี้ชัดวัตถุชนิดต่าง ๆ ให้อยู่ในประเภทที่เฉพาะเจาะจง ชนิดหรือประเภทของวัตถุที่ปรากฏ
                     ในภาพได้อย่างมั่นใจ

                                             1.3.2) การแจกแจงรายละเอียดและจ านวน (Enumeration)  คือการนับ
                     รายการวัตถุต่าง ๆ ที่เห็นในภาพว่ามีจ านวนเท่าใด และสามารถอธิบายลักษณะที่เห็นได้อย่างละเอียด

                     เช่นมีบ้าน 10 หลังอยู่ติดกันเป็นแนวยาวหรือเป็นกลุ่มบ้าน

                                             1.3.3)  การวัด (Measure)  คือ การวัดระยะทาง ความยาว ความกว้าง ความสูง
                     เนื้อที่และปริมาตร จากภาพถ่าย หรืออาจหมายถึงการประเมินปริมาณความเข้มของแสงและความสว่าง

                     ของภาพ (Photometry)

                                             1.3.4) การก าหนดขอบเขต (Delineation) คือการก าหนดขอบเขตลักษณะ
                     ที่แปลลงบนภาพโดยใช้ความแตกต่างขององค์ประกอบต่าง ๆ ของภาพเป็นตัวก าหนด ซึ่งการที่จะก าหนด

                     หรือขีดขอบเขตพื้นที่หรือขอบเขตของวัตถุที่เห็นในภาพได้อย่างถูกต้องแม่นย าหรือมีความมั่นใจมากน้อย
                     เพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับความรู้และทักษะความเชี่ยวชาญของผู้แปลภาพถ่าย โดยเฉพาะขอบเขตพื้นที่ที่ซับซ้อน

                     หรือขอบเขตของพื้นที่ไม่ชัดเจน
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20