Page 17 - แนวทางการจัดทำแผนที่แสดงความลาดชันของพื้นที่จากข้อมูลแบบจำลองระดับสูงเชิงเลขด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
P. 17

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                           9




                                         3.2) ขนาด (Size) คือภาพของวัตถุที่ปรากฏในภาพจะปรากฏในลักษณะด้านความยาว
                     ความกว้าง ความสูง และเนื้อที่ซึ่งจะเป็นสัดส่วนที่สัมพันธ์กับระดับความสูงของการบันทึกภาพและมาตราส่วน

                     ของภาพ โดยวัตถุต่างชนิดกันย่อมมีขนาดความกว้างความยาวที่แตกต่างกันจนสามารถแยกประเภท
                     ออกจากกันได้ เช่นบ้านพักอาศัย ควรมีขนาดความกว้าง ความยาวและเนื้อที่น้อยกว่าโรงงานอุตสาหกรรม

                                         3.3) เงา (Shadow)  การเกิดเงาเป็นปรากฏการณ์ที่สัมพันธ์กับมุมของดวงอาทิตย์

                     ที่ท าให้พื้นผิวของวัตถุได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์น้อยมากหรือถูกบดบังจนไม่ได้รับแสงเลย ลักษณะ
                     ภูมิประเทศที่มีความสูงแตกต่างกันมากมักจะก่อให้เกิดเป็นเงาส่วนมืด เน้นให้เห็นความสูงต่างของ

                     ภูมิประเทศในภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีประโยชน์ส าหรับการศึกษาด้านธรณีสัณฐานเช่น ภูเขา หน้าผาชัน

                     อาคารสูง เสาไฟฟ้า ประภาคาร ฯลฯ
                                         3.4) สี หรือ โทนสี (Color or tone) หมายถึง สีหรือระดับความเข้มของสีเทา

                     ของจุดภาพ ซึ่งมีตั้งแต่ระดับของสีเทาจากจางสุดไปถึงเข้มสุด (Shade of grey) ระดับของโทนสีจะสัมพันธ์
                     กับปริมาณของแสงที่สะท้อนจากวัตถุ วัตถุที่สะท้อนแสงอาทิตย์กลับไปสู่กล้องมาก จะท าให้จุดภาพของวัตถุ

                     นั้นมีสีจาง เช่น ถนนคอนกรีต ลานตากข้าว ส าหรับวัตถุที่สะท้อนแสงได้น้อย ดูดแสงมากจะท าให้เห็นเป็นสีทึบ
                     หรือมืด เช่น น้ าซึ่งดูดกลืนแสงที่ตกกระทบเกือบทั้งหมดภาพที่ปรากฏจะเป็นสีด า ดินที่มีความชื้นสูง โทนสี

                     ของภาพมีส่วนช่วยในการแปลภาพถ่ายได้มาก โทนสีแตกต่างกัน อาจจะหมายถึงลักษณะของดิน หรือ

                     พืชพรรณที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจเป็นผลของสภาพทางธรณีที่ต่างกัน มีปัจจัยหลายอย่างที่มีผลต่อโทนสีของ
                     ภาพถ่าย การตัดกันของโทนสี (Contrast)  ระหว่างวัตถุ ซึ่งท าให้สามารถสังเกตความแตกต่างกันของ

                     สภาพของวัตถุที่แตกต่างกันหรือเหมือนกัน

                                         3.5) เนื้อภาพ (Texture) หรือความหยาบละเอียดของภาพ (Texture) ซึ่งเป็น
                     ความแตกต่างของลักษณะของพื้นผิว ได้แก่พื้นผิวราบเรียบ (Smooth) ขรุขระ (Rough) รวมทั้งความสม่ าเสมอ

                     ที่ปรากฏอยู่ในความราบเรียบและขรุขระนั้น ๆ โดยลักษณะดังกล่าวนี้ช่วยในการแยกแยะพื้นผิวหรือวัตถุที่มี
                     ระดับความเข้มหรือสีเหมือนกัน แต่มีความหยาบละเอียดต่างกันได้

                                         3.6) การจัดเรียงตัว (Pattern) เป็นลักษณะหรือรูปแบบของจัดเรียงตัวของวัตถุ
                     หรือสิ่งที่ปรากฏบนภาพที่ช่วยให้ผู้แปลภาพสามารถจ าแนกประเภทและระบุชี้ชัดได้อย่างมั่นใจ เช่น

                     รูปแบบการจัดเรียงตัวของทรงพุ่มไม้ของสวนผลไม้ที่มีความเป็นระเบียบซึ่งจะแตกต่างจากรูปแบบต้นไม้

                     ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเช่นป่าละเมาะ ป่าแดง-ป่าโคก เป็นต้น
                                         3.7) ท าเล  ที่ตั้ง (Site  or  location) ของวัตถุหรือสิ่งต่าง  ๆ เป็นข้อมูลที่ส าคัญ

                     ประการหนึ่งที่ผู้แปลภาพถ่ายจ าเป็นต้องมีความรู้ความเข้าในในเรื่องดังกล่าว ซึ่งจะช่วยให้สามารถแปล

                     ภาพถ่ายได้อย่างถูกต้องสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง ลดปริมาณงานในการออกภาคสนามได้เป็นอย่างดี
                     เช่น นาขั้นบันได ส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนพื้นที่ภูเขาทางภาคเหนือ นาเกลือ จะอยู่บริเวณพื้นที่ชายทะเลภาคกลาง

                     ภาคตะวันออก และภาคใต้ เป็นต้น
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22