Page 20 - แนวทางการจัดทำแผนที่แสดงความลาดชันของพื้นที่จากข้อมูลแบบจำลองระดับสูงเชิงเลขด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
P. 20

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          12




                                   1.9) รีคลาสสิฟาย (Reclassify) เป็นกระบวนการจัดกลุ่มข้อมูลใหม่ ซึ่งมีลักษณะเดียวกัน
                     ให้อยู่เป็นกลุ่มเดียวกัน ตามวัตถุประสงค์ที่ก าหนด

                                   1.10) เมอร์ช (Merge) เป็นการรวมชั้นข้อมูลเวคเตอร์ (Vector) ตั้งแต่สองชั้นข้อมูลหรือ
                     เป็นการเชื่อมต่อแผนที่ที่มีพิกัดภูมิศาสตร์เดียวกันและมีพื้นที่ติดกันเข้าเป็นผืนเดียวกัน

                                2) การวิเคราะห์ข้อมูลราสเตอร์ (Raster Analyze) หรืออาจเรียกว่าข้อมูลกริด (Grid)  สามารถ

                     ท าการวิเคราะห์ข้อมูลได้ตั้งแต่ 1 ชั้นข้อมูลขึ้นไป โดยข้อมูลราสเตอร์ที่น ามาวิเคราะห์จะต้องอ้างอิงระบบ
                     พิกัดเดียวกัน มีขนาดจุดภาพที่เท่ากัน จึงจะให้ผลลัพธ์ที่มีความถูกต้องเหมาะสม ในกรณีที่มีขนาดจุดภาพ

                     (Pixel  size)  ไม่เท่ากัน จะต้องท าให้มีขนาดจุดภาพเท่ากันทุกชั้นข้อมูลก่อน โดยให้เลือกใช้ขนาดจุดภาพ

                     หยาบที่สุดของชั้นข้อมูลที่น ามาวิเคราะห์เป็นหลัก และเซลล์ทุกเซลล์ของข้อมูลราสเตอร์ที่น ามาวิเคราะห์
                     จะต้องมีค่าประจ าเซลล์หรือมีข้อมูลเชิงอธิบายก ากับ ส าหรับการซ้อนทับชั้นข้อมูลประเภทราสเตอร์นั้น

                     ค่าของจุดภาพหรือตารางกริดของแต่ละชั้นข้อมูล จะถูกหลอมรวมเข้าด้วยกันโดยอาศัยตัวด าเนินการแบบ
                     เลขคณิต เทคนิคการซ้อนทับข้อมูลราสเตอร์มีหลายวิธี เช่น แบบ local  operation,  neighborhood

                     operation, zonal operation, distance measurement operation, spatial autocorrelation ฯลฯ
                                กล่าวโดยสรุป ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ คือกระบวนการท างานด้วยระบบคอมพิวเตอร์

                     ในการจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial data)   ข้อมูลอยู่ในรูปของตารางข้อมูลเชิงบรรยาย (Attribute  data)

                     หรือฐานข้อมูล (Database)  ที่มีส่วนสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงกันโดยรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเหล่านั้น
                     สามารถน ามาวิเคราะห์และแสดงผลลัพธ์ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ตามต้องการทั้งในส่วนของความสัมพันธ์เชิงพื้นที่

                     และเชิงเวลาเช่น การขยายตัวของเมือง การโยกย้ายถิ่นฐาน การเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ที่ดิน การเปลี่ยนแปลง

                     ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ การเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน การเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ เป็นต้น
                     จะเห็นได้ว่าในปัจจุบัน ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ มีการพัฒนาก้าวหน้าเป็นอย่างมากในปัจจุบัน หน่วยงาน

                     ทั้งภาครัฐและเอกชนน าไปใช้และประยุกต์ใช้งานด้านต่าง ๆ เป็นไปอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็นระบบที่มี
                     ศักยภาพในการเก็บรวบรวม การจัดท าข้อมูล วิเคราะห์และแสดงผลได้อย่างสะดวกรวดเร็วและถูกต้อง

                     โดยข้อมูลดังกล่าวสามารถน าไปใช้เพื่อการวางแผน และการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเหมาะสม


                     2.2 การหาค่าความลาดชันของพื้นที่

                                ในทางคณิตศาสตร์ ความชัน (slope gradient) หรือความลาดชัน หมายถึง อัตราของ "การ
                     ยก" (Rise) หารด้วย "การเคลื่อนที่" (Run) ระหว่างจุดสองจุดบนเส้นตรงเดียวกัน  (Slope  =  Rise/Run)

                     หรืออัตราส่วนของค่าความสูงที่เปลี่ยนแปลงต่อระยะทางตามแนวนอนหรือแนวราบระหว่างสองจุดใดๆ
                     บนเส้นตรง โดยก าหนดให้สองจุดนั้นเป็น (x ,y ) และ (x ,y ) บนเส้นตรง ดังนั้นความชัน (m) ของเส้นตรง
                                                        1 1
                                                                   2 2
                     เป็นไปตามสมการ m = (y -y ) /(x -x )
                                                  2 1
                                           2 1
                                ส าหรับความหมายของความลาดชัน ที่ใช้งานในด้านสาขาภูมิศาสตร์ ธรณีวิทยา อุทกวิทยา
                     และงานส ารวจภูมิประเทศในงานด้านต่างๆ นั้น หมายถึง อัตราส่วนความสูงที่เปลี่ยนแปลงต่อระยะทาง

                     ตามแนวนอนระหว่างสองจุดใด ๆ ในแนวเส้นตรงเดียวกัน มีลักษณะของพื้นที่ที่มีระดับผิวหน้าดินหรือหิน
                     ที่ไม่ราบเรียบเสมอกันทุกด้าน หากแต่มีการลาดเทจากขอบของพื้นที่ด้านที่สูงกว่าเอียงลาดไปหาขอบพื้นที่
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25