Page 14 - แนวทางการจัดทำแผนที่แสดงความลาดชันของพื้นที่จากข้อมูลแบบจำลองระดับสูงเชิงเลขด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
P. 14

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                           6




                     Kinematic survey : RTK) เป็นวิธีการหาต าแหน่งในขณะที่เครื่องรับสัญญาณเคลื่อนที่โดยใช้เครื่องรับ
                     สัญญาณดาวเทียมจีพีเอส แบบรังวัดชนิดสองความถี่ และหลายระบบดาวเทียมน าหน (dual-frequency

                     receiver and multi-GNSS receiver) อย่างน้อย 2 เครื่อง โดยเครื่องหนึ่งจะตั้งรับสัญญาณไว้บนหมุด
                     ที่ทราบค่าพิกัดหรือสถานีฐาน (Base Station) ส่วนเครื่องรับเครื่องที่สองถูกน าไปตั้งรับสัญญาณตามจุด

                     ที่ต้องการทราบค่าพิกัดหรือสถานีจร (Rover Station) โดยมีการติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารระหว่างเครื่องรับทั้งสอง

                     ซึ่งอาจเป็นเครื่องรับและส่งคลื่นวิทยุหรือโทรศัพท์มือถือ การหาค่าพิกัดของต าแหน่งจุดต่างๆ ด้วยวิธีการนี้
                     เครื่องรับสัญญาณดาวเทียมที่สถานีฐานและสถานีจรต้องรับข้อมูลจากดาวเทียมกลุ่มเดียวกันและช่วงเวลา

                     เดียวกันอย่างน้อย 5 ดวง และต้องเป็นเครื่องรับสัญญาณแบบสองความถี่เท่านั้น วิธีการนี้สามารถให้ค่า

                     ความถูกต้องในระดับ 1-5 เซนติเมตร ส าหรับเส้นฐานที่ยาวไม่เกิน 15 กิโลเมตร
                                ระบบก าหนดต าแหน่งบนโลก (Global  Positioning  System  : GPS) ที่กล่าวมานั้น จะน ามาใช้

                     ในการส ารวจและการเก็บข้อมูลพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ที่ดินและการเปลี่ยนแปลงลักษณะ
                     ทางกายภาพของพื้นที่ โดยใช้ผู้ปฏิบัติงานจ าเป็นต้องใช้เครื่องจีพีเอสแบบมือถือ (Handheld) เป็นเครื่องมือ

                     ในการน าทางไปยังจุดที่ก าหนดไว้และรังวัดพิกัดต าแหน่งขอบเขตพื้นที่โดยประมาณ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการ
                     ขีดขอบเขตพื้นที่ดังกล่าวในบทที่ 4 และวิธีการรังวัดแบบจลน์ในทันที (Real Time Kinematic survey : RTK)

                     เพื่อการส ารวจรังวัดในการประเมินความถูกต้องของแผนที่แสดงความลาดชันของพื้นที่ในบทที่ 5

                                2.1.2  การรับรู้จากระยะไกล (Remote Sensing : RS) หรือการส ารวจข้อมูลจากระยะไกล
                     เป็นทั้งวิทยาศาสตร์และศิลปะ ในการได้มาซึ่งสารสนเทศทางด้านวัตถุ พื้นที่ และปรากฏการณ์ต่างๆ

                     ผ่านทางการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการบันทึกด้วยเครื่องมือ โดยไม่ได้สัมผัสกับวัตถุ พื้นที่ และ

                     ปรากฏการณ์ที่ถูกตรวจจับนั้น ๆ ซึ่งอาศัยคุณสมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อในการได้มาของข้อมูล
                     ใน 3 ลักษณะ คือ คลื่นรังสี (Spectral)  รูปทรงสัณฐานของวัตถุบนพื้นผิวโลก (Spatial)  และการเปลี่ยนแปลง

                     ตามช่วงเวลา Temporal) ซึ่งที่ผ่านมาเทคโนโลยีการรับรู้ระยะไกล พัฒนาและก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว
                     มีการประดิษฐ์ คิดค้นเครื่องมือ อุปกรณ์รับสัญญาณที่มีประสิทธิภาพสูง การพัฒนาแอพพลิเคชั่น เทคนิค

                     วิธีการในการแปลภาพถ่าย การวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบต่างๆ โดยมีการพัฒนาควบคู่กันไปเพื่อความถูกต้อง
                     แม่นย า  และรวดเร็วยิ่งขึ้น จึงท าให้ในปัจจุบันหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐเอกชนมีการน าข้อมูลการรับรู้

                     จากระยะไกล ได้แก่ ภาพถ่ายทางอากาศ ข้อมูลจากภาพดาวเทียม มาใช้ประโยชน์เพื่อส ารวจและการจัดท า

                     แผนที่ เพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาประเทศ การวางแผนการใช้ที่ดิน
                     ในมาตราส่วนที่หลากหลาย การบริหารจัดการทรัพยากรน้ า การจัดการภัยพิบัติ การวางแผนการจัดการ

                     พืชเกษตร ป่าไม้และระบบนิเวศน์ การจัดการโครงสร้างพื้นฐาน และความมั่นคงของประเทศ เนื่องจาก

                     ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาในการส ารวจ การเก็บข้อมูลได้เป็นอย่างมากและได้ข้อมูลที่มีความถูกต้องสูง
                     ท าให้สามารถประมวลผลและจัดท าข้อมูล ได้อย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์

                                      1) องค์ประกอบของการส ารวจข้อมูลระยะไกล มี 3 ประการคือ
                                         1.1)  พลังงานที่สะท้อนหรือแผ่ออกจากวัตถุ การแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าที่เป็นการ

                     สะท้อนหรือการแผ่รังสีจากวัตถุซึ่งเป็นแหล่งพลังงานปกติของข้อมูลการส ารวจข้อมูลระยะไกล
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19