Page 16 - แนวทางการจัดทำแผนที่แสดงความลาดชันของพื้นที่จากข้อมูลแบบจำลองระดับสูงเชิงเลขด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
P. 16

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                           8




                                      2) คุณสมบัติของผู้แปลภาพถ่าย คือ ความรู้ ความสามารถและทักษะความช านาญ
                     ของผู้แปลภาพถ่าย ซึ่งมีความส าคัญเป็นอย่างมาก โดยผู้แปลภาพในสาขาใดหรือในด้านใด จ าเป็นต้องมี

                     พื้นฐาน ความรู้ ในวิชาการสาขานั้นอย่างเพียงพอและต้องมีความรู้ในเรื่องที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยในการ
                     วิเคราะห์หรืออ่านแปลภาพถ่ายเช่น ความรู้ด้านภูมิศาสตร์  การเกษตร ธรณีวิทยา ป่าไม้และพืชพรรณ

                     เศรษฐกิจและสังคม เป็นต้น โดยผู้แปลภาพถ่ายที่ดีควรมีคุณสมบัติ ดังนี้

                                         2.1)  ความรู้ภูมิหลัง (Background  Knowledge) เป็นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้แปล
                     ภาพถ่ายสามารถใช้ความรู้และประสบการณ์ในงานเฉพาะด้านที่มีอยู่น ามาใช้ต่อยอดหรือเพิ่มพูนทักษะใน

                     การแปลภาพได้รวดเร็วและมีความถูกต้องแม่นย ามากยิ่งขึ้นเช่นผู้ที่มีความเรื่องป่าไม้ ก็จะสามารถแปล

                     ภาพถ่ายเกี่ยวกับป่าไม้และพืชพรรณได้ดีกว่าผู้ที่มาจากสาขาอื่น
                                         2.2)  ความสามารถทางสายตา (Visual Acuity) เป็นคุณสมบัติที่ส าคัญอย่างหนึ่งของ

                     ผู้แปล ต้องไม่เป็นผู้พิการทางสายตา เช่น ตาบอด ตาบอดสี เนื่องจากการแปลตีความจ าเป็นต้องอาศัย
                     ความสามารถทางด้านสายตาเป็นองค์ประกอบ เพราะต้องพิจารณารายละเอียดที่ปรากฏในภาพ ลักษณะ

                     ของเนื้อภาพ (Texture) ความเข้ม (Tone) สี (Color) ดังนั้นผู้ที่มีสายตาปกติย่อมสามารถจ าแนกพื้นที่
                     ได้ดีกว่าผู้ที่สายตาผิดปกติ

                                         2.3)  ความสามารถของจิตใจ (Mental  Acuity)  มีความสัมพันธ์กับภูมิหลังและ

                     ประสบการณ์ มีความละเอียดรอบคอบ ชอบสังเกต จะสามารถแปลภาพถ่ายได้เป็นอย่างดี
                                         2.4)  ประสบการณ์ (Experience)  ผู้แปลภาพถ่ายที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับ

                     ลักษณะสภาพแวดล้อมหรือลักษณะภูมิประเทศ ในพื้นที่หรือบริเวณที่ท าการแปลตีความจะช่วยให้สามารถ

                     แปลภาพถ่ายและวินิจฉัยสิ่งที่ปรากฏในภาพได้ดีกว่าผู้ที่ไม่มีประสบการณ์มาก่อน
                                      3) องค์ประกอบพื้นฐานของวัตถุ เป็นสิ่งที่ช่วยให้ผู้แปลภาพด้วยสายตาสามารถ

                     วิเคราะห์ระบุชี้ชัดสิ่งที่ปรากฏบนภาพถ่ายได้อย่างถูกต้องแม่นย าและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น นอกจากผู้แปล
                     ภาพถ่ายจะต้องมีความรู้หรือความคุ้นเคยประจ าถิ่น ของแต่ละพื้นที่และภูมิประเทศนั้นๆ เพื่อท าให้สามารถ

                     ตีความจากข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ต้องอาศัยหลักการที่ใช้ในการจดจ าวัตถุต่างๆ ในภาพวัตถุ
                     ซึ่งท าให้ผู้แปลสามารถจ าแนกรายละเอียดที่ปรากฏในภาพได้ในเบื้องต้นจากลักษณะต่างๆ ของวัตถุที่ถูกบันทึก

                     ในภาพ องค์ประกอบพื้นฐานของวัตถุหรือสิ่งที่ปรากฏบนภาพถ่ายที่ผู้แปลภาพถ่ายจ าเป็นต้องใช้ในการจ าแนก

                     และระบุชี้ชัดวัตถุหรือสิ่งที่ปรากฏบนภาพ ได้แก่
                                         3.1) รูปร่าง (Shape)  คือสิ่งที่เรามองเห็นวัตถุหรือสิ่งต่าง  ๆ ที่ปรากฏในภาพถ่าย

                     ซึ่งวัตถุหรือสิ่งเหล่านั้นจะมีรูปร่างหรือเอกลักษณ์เฉพาะที่บ่งบอกถึงตัวตนที่ผู้แปลจะสามารถจ าแนก

                     แยกแยะวัตถุต่างๆ ที่ปรากฏในภาพได้ เช่นลักษณะของแม่น้ า และแหล่งน้ าที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
                     จะมีรูปร่างแตกต่างจากแม่น้ าหรือแหล่งน้ าที่มนุษย์สร้างขึ้น
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21