Page 21 - แนวทางการจัดทำแผนที่แสดงความลาดชันของพื้นที่จากข้อมูลแบบจำลองระดับสูงเชิงเลขด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
P. 21

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          13




                     อีกด้านหนึ่งที่ต่ ากว่า โดยมีค่าความลาดชันเป็นสิ่งบ่งบอกให้ทราบถึงความมากน้อยของการเอียงลาดพื้นที่
                     ค่าความลาดชันที่ได้นั้นจะเป็นค่าสัดส่วนของความยาวด้านระหว่างด้านตรงข้ามมุมฉากและด้านที่เป็นฐาน

                     ของสามเหลี่ยมมุมฉาก ดังนั้นการหาค่าความลาดชันของพื้นที่ คือการค านวณหาสัดส่วนหรืออัตราส่วนของ
                     ค่าความต่างของระดับความสูงระหว่างจุดสองจุดหรือระยะทางในแนวดิ่ง (Vertical  distance) หารด้วย

                     ระยะทางในแนวราบ (Horizontal distance) ระหว่างจุดสองจุดที่ต้องการพิจารณา ซึ่งค่าความลาดชัน

                     จะมีหน่วยวัดเป็นองศา (Degree) ในลักษณะของมุมก้ม (angle of depression) หรือมุมเงย (angle of
                     elevation) หรือมีหน่วยวัดเป็น “เปอร์เซ็นต์”   ซึ่งโดยทั่วไปจะก าหนดให้ระยะทางในแนวราบมีค่าเท่ากับ

                     100 หน่วย ค่าความลาดของของพื้นที่จะมีหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์ เช่นพื้นที่มีความลาดชัน 35 เปอร์เซ็นต์

                     จะมีระยะทางในแนวราบเท่ากับ 100 เมตร และระยะทางในแนวดิ่งเท่ากับ 35 เมตร ดังภาพที่ 2-1

































                     ภาพที่ 2-1  แสดงการค านวณค่าความลาดชันของพื้นที่มีหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์
                                การค านวณหาค่าความลาดชันของพื้นที่สามารถกระท าได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และ

                     ความต้องการใช้งาน ขนาดของพื้นที่ ระยะเวลา งบประมาณ เครื่องมือและบุคลากร ตลอดจนข้อจ ากัด

                     ในการเข้าถึงพื้นที่ ส าหรับวิธีการหาค่าความลาดชันของพื้นที่ ซึ่ง กรมพัฒนาที่ดินใช้งานในปัจจุบัน ได้แก่
                                2.2.1 การส ารวจรังวัดในภูมิประเทศ เป็นวิธีการหาค่าความลาดชันของพื้นที่ที่มีความถูกต้อง

                     และแม่นย ามากที่สุด โดยใช้เครื่องมือและเทคนิควิธีการส ารวจรังวัด เช่นการรังวัดเพื่อหาค่าความสูงต่าง

                     ของพื้นที่และค่าความชันโดยวิธีการท าระดับตรีโกณมิติด้วยกล้องธีโอโดไลท์ (Theodolite) หรือกล้องวัดมุม
                     กล้องประมวลผลรวม (Total station) โดยการรังวัดมุมดิ่ง (Vertical Angle) และระยะทางระหว่างจุดหรือ

                     ต าแหน่งที่ต้องการทราบค่าความลาดชันของพื้นที่ซึ่งระยะทางที่วัดได้จะเป็นระยะลาด (Slope  Distance)
                     แล้วน าผลที่ได้มาค านวณหาค่าความลาดชันของพื้นที่โดยเฉลี่ย
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26