Page 19 - แนวทางการจัดทำแผนที่แสดงความลาดชันของพื้นที่จากข้อมูลแบบจำลองระดับสูงเชิงเลขด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
P. 19

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          11




                     ของชั้นข้อมูลเปลี่ยนแปลงไปในเชิงพื้นที่ โดยมีข้อมูลเชิงบรรยายใหม่เกิดขึ้น โดยการซ้อนทับข้อมูลในระบบ
                     สารสนเทศภูมิศาสตร์นั้นจะใช้กระบวนการทางเลขคณิต เช่น การบวก,  ลบ,  คูณ,  หาร หรือตรรกศาสตร์

                     ทั้งนี้ เทคนิคการซ้อนทับข้อมูลเชิงเส้น สามารถแบ่งประเภทตามลักษณะหรือรูปลักษณ์ของข้อมูลเป็น
                     3 ประเภทคือ ประเภท Point-in-Polygon เป็นกระบวนการคัดเลือกจุดที่อยู่ภายในรูปปิดที่ต้องการค้นหา

                     ประเภท Line-in -Polygon เป็นกระบวนการคัดเลือกเส้นที่อยู่ในหรือลากผ่านรูปปิดที่ต้องการค้นหา และ

                     ประเภท Polygon-on-Polygon เป็นกระบวนการซ้อนทับชั้นข้อมูลรูปปิด 2 ชั้นข้อมูล ผลลัพธ์ที่ได้คือรูปปิด
                     ที่มีขนาด รูปร่างหรือขอบเขตใหม่และข้อมูลเชิงบรรยาย ซึ่งจะใช้ค าสั่งในการซ้อนทับข้อมูล ดังนี้

                                   1.1) ยูเนียน (Union) เป็นกรรมวิธีการรวมชั้นข้อมูล (layer) ตั้งแต่สองชั้นข้อมูลขึ้นไป

                     ผลลัพธ์ที่ได้จะรวมคุณลักษณะทั้งหมดของชั้นข้อมูลที่น าเข้าไว้ด้วยกันและท าการสร้างชั้นข้อมูลขึ้นมาใหม่
                     ซึ่งการซ้อนทับแบบยูเนียนจะใช้กับชั้นข้อมูลที่เป็นขอบเขตพื้นที่เป็นรูปปิด (Polygon) เท่านั้น

                                   1.2) อินเตอร์เซกชัน (Intersection) เป็นกระบวนการเลือกเฉพาะข้อมูลที่อยู่ภายใน
                     ขอบเขตพื้นที่เป็นรูปปิด (Polygon) ตั้งแต่สองชั้นข้อมูลขึ้นไป ผลลัพธ์ที่ได้จะเกิดชั้นข้อมูลใหม่เฉพาะส่วนที่

                     ซ้อนทับกันของชั้นข้อมูลทั้งหมดที่น าเข้าเท่านั้น
                                   1.3) ไอเด็นทิตี้ (Identity) เป็นวิธีการซ้อนทับที่คงรักษาคุณลักษณะของชั้นข้อมูลน าเข้าไว้

                     โดยจะดึงเอาเอกลักษณ์ของชั้นข้อมูลที่น ามาซ้อนทับในบริเวณเดียวกันกับชั้นข้อมูลน าเข้ามาแสดงในชั้นข้อมูล

                     ผลลัพธ์ด้วย ดังนั้นการเลือกล าดับข้อมูลน าเข้าและข้อมูลที่น ามาซ้อนทับจึงมีความส าคัญมาก เนื่องจาก
                     จะให้ผลลัพธ์ของชั้นข้อมูลใหม่ที่แตกต่างกัน

                                   1.4) อีราสซี่ (Erase) เป็นกรรมวิธีการปรับแปลงข้อมูลโดยการลบหรือตัดบางส่วนของ

                     ชั้นข้อมูล (layer) โดยอาศัยชั้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องเป็นกรอบการลบหรือตัดข้อมูลออกและท าการสร้างชั้นข้อมูล
                     ขึ้นมาใหม่ เฉพาะบริเวณที่อยู่นอกกรอบ วิธีนี้ใช้ได้กับชั้นข้อมูลประเภท จุด เส้น และพื้นที่รูปปิด

                                   1.5) คลิป (Clip) เป็นกรรมวิธีการปรับแปลงข้อมูลโดยการตัดบางส่วนของชั้นข้อมูล
                     (layer) โดยการซ้อนทับข้อมูลตั้งแต่สองชั้นข้อมูล ซึ่งจะท าการสร้างชั้นข้อมูลขึ้นมาใหม่ แสดงเฉพาะข้อมูล

                     ที่อยู่ภายในขอบเขตของชั้นข้อมูลที่ต้องการ วิธีนี้ใช้ได้กับชั้นข้อมูลประเภท จุด เส้น และพื้นที่รูปปิด
                                   1.6) อีลิมิเนต (Eliminate)  เป็นกรรมวิธีการปรับแปลงข้อมูลโดยการก าจัดรูปปิดขนาดเล็ก

                     (Polygon or Slivers) ที่เกิดจากการซ้อนทับชั้นข้อมูลประเภทโพลีกอน 2 ชั้นข้อมูลตามเงื่อนไขที่ก าหนด

                     โดยการเรียกค้น (Query) หรือเลือกโดยตรง และรวมโพลีกอนที่เลือกรวมเข้ากับโพลีกอนข้างเคียง หรือโพลีกอน
                     ที่อยู่ใกล้เคียงภายในระยะ (snap tolerance) ที่ก าหนดไว้

                                   1.7) สปลิท (Split) เป็นวิธีการปรับแปลงข้อมูลโดยการแยกชิ้นส่วนข้อมูลตั้งแต่ 2 ชั้นข้อมูล

                     โดยใช้ขอบเขตชั้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องเป็นเงื่อนไขในการแยกชิ้นส่วน
                                   1.8) ดิสโซลฟ์ (Dissolve) เป็นกรรมวิธีการปรับแปลงข้อมูลโดยการหลอมรวมกลุ่มข้อมูล

                     โพลีกอนที่มีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะ ( Attribute) เหมือนกันและอยู่ชิดติดกันเข้าด้วยกัน เพื่อลดความซ้ าซ้อน
                     ของชั้นข้อมูลให้น้อยลง
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24