Page 12 - แนวทางการจัดทำแผนที่แสดงความลาดชันของพื้นที่จากข้อมูลแบบจำลองระดับสูงเชิงเลขด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
P. 12

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน








                                                               บทที่ 2

                                    เทคโนโลยี เทคนิค วิธีการและความรู้ทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง



                     2.1 เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ
                                ปัจจุบันเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเข้ามามีบทบาทและมีความส าคัญในด้านการบริหารจัดการ

                     ของหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และการด าเนินชีวิตประจ าวันของประชาชน โดยที่ผ่านมารัฐบาล
                     ได้ให้ความส าคัญในเรื่องของการพัฒนาและการน าเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศมาใช้ในการบริหารและพัฒนา

                     ประเทศเป็นอย่างมากและต่อเนื่องมาโดยตลอด ดังจะเห็นได้จากแผนแม่บทภูมิสารสนเทศแห่งชาติ

                     พ.ศ.2560-2564 ได้ก าหนดวิสัยทัศน์ด้านภูมิสารสนเทศของประเทศไว้อย่างชัดเจนคือ “โครงสร้าง
                     พื้นฐานทางภูมิสารสนเทศ เป็นหนึ่งในกลไกสนับสนุนการขับเคลื่อนประเทศอย่างสมดุลและยั่งยืน” เพื่อให้

                     ทุกภาคส่วนเพื่อน าไปขับเคลื่อนประเทศในทุกมิติ  (คณะกรรมการภูมิสารสนเทศแห่งชาติ,  2560)
                     และนโยบายด้านการจัดการฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ของประเทศและระบบข้อมูลเปิด (Open Data)

                     ของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งจะท าให้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศจะเป็นเครื่องมือที่ส าคัญในการจัดการข้อมูล

                     ภูมิสารสนเทศและการประยุกต์ใช้งานในด้านต่างๆ ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต โดยผู้ใช้งานจ าเป็นต้อง
                     เรียนรู้และพัฒนาทักษะเพื่อให้สามารถน าไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

                                เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศประกอบด้วย 3 ระบบได้แก่ ระบบก าหนดต าแหน่งบนโลกด้วย
                     ดาวเทียม (Global Navigation  Satellite System  : GNSS)  การส ารวจข้อมูลจากระยะไกล (Remote

                     Sensing: RS ) และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS )

                                2.1.1 ระบบก าหนดต าแหน่งบนโลก (Global Positioning System :GPS) เกิดขึ้นในปี
                     พ.ศ. 2521 (ค.ศ.1978) สร้างและควบคุมโดยกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา เพื่อวัตถุประสงค์ในการน าหน

                     เครื่องบิน เรือรบ และภารกิจทางทหาร โดยเปิดเสรีข้อมูลสัญญาณดาวเทียม (ranging  code,  satellite
                     ephemeris,  almanac  data)  ในช่องสัญญาณ L1 ให้กับพลเรือนทั่วโลกใช้งาน ซึ่งในช่วงแรกได้มีการ

                     ผนวกเอาสิ่งที่เรียกว่า S/A  (Selective  availability)  เข้าไปเพื่อลดคุณภาพของข้อมูลสัญญาณดาวเทียม

                     ซึ่งท าให้พิกัดต าแหน่งที่ได้มีความถูกต้องเพียงในระดับ 50 เมตร ต่อมาได้มีการปิด S/A ในเดือนพฤษภาคม
                     พ.ศ. 2543 (ค.ศ.2000) และได้มีการประกาศยกเลิก S/A อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2548 (ค.ศ.2005)

                     การยกเลิก S/A  ในครั้งนั้น ส่งผลให้พิกัดต าแหน่งที่ได้จากการรังวัดด้วยเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GPS
                     แบบมือถือ (Handheld GPS receiver) มีความถูกต้องแม่นย ามากยิ่งขึ้น โดยมีความคลาดเคลื่อนประมาณ

                     3 – 10 เมตร ซึ่งเพียงพอต่อการใช้งานโดยทั่วไปที่ไม่ต้องการความถูกต้องของต าแหน่งมากนัก ในระยะต่อมา

                     ประเทศในโซนยุโรป รัสเซีย ญี่ปุ่น และจีน ได้เริ่มมีการพัฒนาระบบดาวเทียมเพื่อการก าหนดต าแหน่ง
                     บนโลกเพิ่มมากขึ้นอีกหลายระบบ ท าให้เกิดเป็นระบบการก าหนดต าแหน่งด้วยดาวเทียมหลายระบบ

                     (Global  Navigation  Satellite  System  :GNSS)  แต่อย่างไรก็ตามระบบก าหนดต าแหน่งบนโลก
                     ด้วยดาวเทียมจีพีเอส ถือได้ว่าเป็นระบบข้อมูลเปิด (Open  Data) ระบบแรกของโลกที่ผู้ใช้งานสามารถ
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17