Page 36 - การใช้เทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินในการปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองเพื่อพัฒนาเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ ตำบลแหลมงอบ อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด
P. 36

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       22







                                     (8)  การชิมปลิง เมื่อตัดขั้วผลหรือปลิงของผลทุเรียนแก่จัด จะพบว่ามีน้่าใส ไม่ข้น
                       เหนียวเหมือนในทุเรียนอ่อน และเมื่อชิมดูจะมีรสหวาน
                                  2) วิธีการเก็บเกี่ยว
                                     ใช้มีดคมๆ ตัดก้านผลส่วนที่อยู่เหนือปากปลิง เพื่อให้ผลหลุดจากต้น และส่งลงมาให้

                       คนที่รออยู่ใต้ต้นใช้กระสอบป่านตวัดรับผลหรือใช้วิธีโรยเชือกลงมาวางผลลงในเข่งไม้ไผ่ หรือในพื้นที่ที่
                       เตรียมไว้
                              3.1.8 เทคโนโลยีการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
                                  1)  การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวในสวนเมื่อเก็บเกี่ยวผลทุเรียนจากต้นแล้ว  ควรปฏิบัติ

                       ดังนี้
                                     (1) คัดแยกผลที่ตกกระแทกพื้น ขั้วหัก หรือมีต่าหนิจากโรคและแมลง และการเก็บ
                       เกี่ยวแยกไว้ต่างหาก
                                     (2) ขนย้ายผลทุเรียนไปยังโรงคัดแยกของสวนด้วยความระมัดระวัง และวางเรียงให้

                       เป็นระเบียบบนแท่นรองรับสินค้า  (pallet)  หรือเรียงบนพื้นที่สะอาด  เพื่อรอการขนส่งไปยังโรงคัด
                       บรรจุ
                                  2) การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวที่โรงคัดบรรจุ

                                     (1) คัดเลือกผลผลิตที่ด้อยคุณภาพด้วยสายตา  เช่น  ทุเรียนอ่อน  มีต่าหนิ  โรคและ
                       แมลงเป็นต้น แยกไว้ต่างหาก
                                     (2) คัดขนาดและคัดคุณภาพ ตามมาตรฐานคุณภาพของทุเรียน
                                     (3) ท่าความสะอาดผลทุเรียนที่คัดคุณภาพแล้ว โดยใช้แรงลมเป่า เพื่อก่าจัดเศษวัสดุ
                       และแมลงบางชนิดออกจากผิวผล  จากนั้นจุ่มผลทุเรียนในสารละลายของสารเคมีเบนโนมิล  +  กรด

                       ฟอสฟอรัสเพื่อป้องกันโรคผลเน่า
                                     (4) จุ่มผลทุเรียนในสารละลายเอทธิฟอท 1,000-2,000 พีพีเอ็ม หรือจุ่มเฉพาะส่วน
                       ก้านผลในสารละลายเอทธิฟอท  10,000  พีพีเอ็ม  ในกรณีที่ต้องขนส่งทุเรียนทางอากาศ  ซึ่งใช้เวลา

                       ประมาณ 2-3 วัน ก่อนถึงผู้บริโภค เพื่อท่าให้ผลทุเรียนสุกเสมอกัน
                                     (5) ผึ่งผลให้แห้งบนแท่นรองรับสินค้า
                                     (6) เมื่อผลทุเรียนแห้งแล้ว จึงติดป้ายชื่อสินค้าที่ขั้วผลทุเรียน แล้วจึงบรรจุลงกล่อง
                       กระดาษลูกฟูก ขนาดบรรจุ 10 กิโลกรัม ต่อกล่อง แล้วขนย้ายด้วยรถพ่วงสินค้าห้องเย็น ไปยังท่าเรือ

                       สัมพัทธ์ เพื่อรอการขนส่งไปจ่าหน่ายยังตลาดต่างประเทศต่อไป
                                  3) การเก็บรักษา
                                     (1) ผลทุเรียนที่เก็บเกี่ยวมาแล้ว สามารถเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียสได้
                       นาน 2-9 วัน และที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส ได้นาน 5-12 วัน

                                     (2)  เก็บรักษาผลทุเรียนที่อุณหภูมิ  15  องศาเซลเซียส  ความชื้นสัมพัทธ์  85-90
                       เปอร์เซ็นต์จะเก็บรักษาผลทุเรียนได้นานประมาณ 2 สัปดาห์ ทั้งนี้แล้วแต่ความแก่
                                     (3) ผลทุเรียนดิบจะแสดงอาการสะท้านหนาว  ถ้าเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่่ากว่า  15
                       องศาเซลเซียสโดยผิวผลจะเป็นสีด่า หรือสีน้่าตาลบริเวณร่องหนาม และเนื้อไม่สุก และมีอาการยุบตัว
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41