Page 35 - การใช้เทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินในการปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองเพื่อพัฒนาเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ ตำบลแหลมงอบ อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด
P. 35

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       21







                       หลังจากตัดแต่งครั้งที่ 2 แล้วประมาณ 1-2 สัปดาห์ ตัดแต่งเฉพาะผลขนาดเล็ก และผลที่อาการก้นจีบ
                       ออก
                                  2) การให้ปุ๋ย ให้ปุ๋ยสูตร 12-12-17-2 (2 คือ แมกนีเซียม) อัตรา 2-3 กิโลกรัมต่อต้น
                       ผสมกับกรดฮิวมิคอัตรา 30 ซีซี ต่อปุ๋ย 1 กิโลกรัม เมื่อผลมีอายุ 4-5 สัปดาห์หลังดอกบาน และปุ๋ย

                       สูตร 0-0-50 อัตรา 2-3 กิโลกรัมต่อต้น ผสมกับกรดฮิวมิค อัตรา 30 ซีซี ต่อปุ๋ย 1 กิโลกรัม เมื่อผลมี
                       อายุ 7-9 สัปดาห์ หลังดอกบาน
                                  3) การให้น้่า เมื่อผลมีอายุมากกว่า 5 สัปดาห์หลังดอกบาน ปริมาณ 0.85 เท่าของค่า
                       อัตราการระเหยน้่า หรือเป็นปริมาตรน้่า 30-48 ลิตรต่อต้นต่อวัน เมื่อต้นทุเรียนมีพื้นที่ใต้ทรงพุ่มเป็น

                       10 ตารางเมตร
                                  4) การควบคุมไม่ให้ทุเรียนแตกใบอ่อน โดยใบอ่อนระยะหางปลา (ตาใบเริ่มพัฒนา) ฉีด
                       พ่นด้วยปุ๋ยโปแตสเซียมไนเตรท  อัตรา 150-300  กรัมต่อน้่า  20  ลิตร  ให้ทั่วต้นพอเปียก  เน้นให้ถูก
                       บริเวณตายอด จ่านวน 1-2 ครั้ง จะสามารถหยุดการเจริญเติบโตของใบอ่อนได้ประมาณ 3 สัปดาห์

                       ส่วนใบอ่อนเลยระยะหางปลา ฉีดพ่นด้วยสารชะลอการเจริญเติบโตพืช ชนิดมี พิควอท คลอไรด์ 1.5
                       เปอร์เซ็นต์  สารออกฤทธิ์อัตรา  50  ซีซีต่อน้่า  20  ลิตร  ร่วมกับอาหารเสริมทางใบที่มีส่วนผสมของ
                       สารอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเป็นองค์ประกอบหลัก อัตรา 20-30 ซีซี ร่วมกับกรดฮิวมิค อัตรา 20 ซีซี

                       และปุ๋ยเกล็ดสูตร  10-20-30  หรือ  20-20-20  ที่มีธาตุรองและธาตุปริมาณน้อย  อัตรา  40-60  กรัม
                       ผสมในน้่า 20 ลิตรฉีดพ่นให้ทั่วทั้งต้น เพื่อชะลอการเจริญเติบโตและพัฒนาการของใบอ่อน
                              3.1.7 เทคโนโลยีการเก็บเกี่ยว
                                  1) ดัชนีการเก็บเกี่ยว
                                     (1) นับอายุผล  ตั้งแต่วันดอกบานจนถึงวันเก็บเกี่ยว  ซึ่งเป็นประมาณ  90-100  วัน

                       ส่าหรับพันธุ์กระดุมทอง 105-110 วัน ส่าหรับพันธุ์ชะนี และ 120-135 วัน ส่าหรับพันธุ์หมอนทอง
                                     (2) สังเกตก้านผล  เมื่อผลทุเรียนเริ่มแก่ก้านผลจะแข็งและมีสีเข้มขึ้น  เมื่อสัมผัสจะ
                       รู้สึกสากมือ บริเวณปากปลิงจะบวมโต เห็นรอยต่อชัดเจน เมื่อจับก้านผลแล้วแกว่งผลทุเรียน จะรู้สึก

                       ว่าก้านผลมีสปริงมากขึ้น
                                     (3) สังเกตหนาม ปลายหนามจะแห้ง  สีน้่าตาลเข้ม  เปราะ  และหักง่าย  หนามกาง
                       ออกร่องหนามห่าง เมื่อบีบหนามเข้าหากันจะรู้สึกว่ามีสปริง
                                     (4) สังเกตรอยแยกระหว่างพู ผลทุเรียนที่แก่จัด จะสังเกตเห็นรอยแตกบนพูได้อย่าง

                       ชัดเจน ยกเว้นบางพันธุ์ที่ลักษณะดังกล่าว ไม่ปรากฏชัดเจน เช่น ก้านยาว
                                     (5) การเคาะเปลือก เมื่อเคาะผลทุเรียนที่แก่จัดจะมีเสียงดังโปร่งๆ เสียงหนักหรือเบา
                       แตกต่างกันไปขึ้นกับพันธุ์ทุเรียน
                                     (6) สังเกตสีเนื้อ  สีเนื้อทุเรียนจะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีเหลืองอ่อน  หรือเหลืองเข้ม

                       ตามลักษณะประจ่าของแต่ละพันธุ์ และความแก่ที่ต่างกัน
                                     (7) การปล่อยให้ผลทุเรียนร่วง  ปกติดอกทุเรียนแต่ละรุ่นในต้นเดียวกัน  จะบานไม่
                       พร้อมกัน (แตกต่างกันไม่เกิน 10 วัน) ดังนั้นเมื่อมีผลทุเรียนบนต้นเริ่มแก่ สุก และร่วง ก็เป็นสัญญาณ
                       เตือนว่าทุเรียนที่เหลือบนต้นเริ่มแก่ สามารถเก็บเกี่ยวได้แล้ว
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40