Page 33 - การใช้เทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินในการปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองเพื่อพัฒนาเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ ตำบลแหลมงอบ อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด
P. 33

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       19







                                                             บทที่ 3
                                                        การตรวจเอกสาร


                       3.1 ข้อมูลทั่วไปของทุเรียน
                              ทุเรียน (durian) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Duriozibethinus อยู่ในวงศ์ Bombaceaceae  มีถิ่น

                       ก่าเนิดบริเวณหมู่เกาะอินเดีย ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นไม้ผลที่มีขนาดผลใหญ่ มีหนาม
                       แหลม รสชาติหวานมัน ได้ชื่อว่าเป็นราชาของผลไม้ (King of the fruits) (หิรัญ และคณะ, 2541)
                              3.1.1 ลักษณะทั่วไป
                                      ทุเรียนเป็นไม้ผลยืนต้นล่าต้นตรง สูง 5-15 เมตร แตกกิ่งเป็นมุมแหลม ปลายกิ่งตั้ง

                       กระจายกิ่งกลางล่าต้นขึ้นไป เปลือกชั้นนอกของล่าต้นสีเทาแก่ มีผิวขรุขระหลุดลอกออกเป็นสะเก็ด
                       เป็นพืชใบเป็นใบเดี่ยว เกิดกระจายทั่วกิ่ง เกิดเป็นคู่อยู่ตรงกันข้ามระนาบเดียวกัน ก้านใบกลมมีความ
                       ยาว 2-4 เซนติเมตร แผ่นใบรูปไข่ปลายใบเรียวแหลม ผิวใบเรียบลื่น มีไขนวล ใบด้านบนมีสีเขียว

                       ด้านล่าง (ท้องใบ) มีสีน้่าตาล  เส้นใบด้านล่างนูน ขอบใบเรียบ ดอก เป็นดอกช่อ เกิดตามล่าต้น และ
                       กิ่งก้านยาว 1-2 เซนติเมตร ลักษณะดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกสีขาวหอม ลักษณะดอกคล้าย
                       ระฆัง ลักษณะของผลเป็นผลสดชนิดผลเดี่ยว เปลือกทุเรียนมีหนามแหลม แตกตามแต่ละส่วนของผล
                       เรียกเป็นว่าพู เนื้อในมีตั้งแต่สีขาว เมื่อสุกมีสีเหลือง อ่อน เมื่อแก่ผลมีสีเขียว เมื่อสุกมีสีน้่าตาลอ่อน
                       เนื้อจะนิ่ม กึ่งอ่อนกึ่งแข็ง มีรสหวาน เมล็ด มีเยื่อหุ้ม เมล็ดกลมรี เปลือกหุ้มสีน้่าตาลผิวเรียบ ขาว

                              3.1.2 คุณค่าทางโภชนาการ
                                     ทุเรียน มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ทั้งในด้านไขมันที่ให้พลังงาน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต
                       และแร่ธาตุต่าง ๆ  ที่เป็นประโยชน์แก่ร่างกาย ในปริมาณเนื้อทุเรียน 100 กรัม  ในพันธุ์ก้านยาวจะให้

                       พลังงานมากที่สุดคือ 181 กิโลแคลอรี่ ส่วนพันธุ์หมอนทองซึ่งเป็นที่นิยมของคนส่วนใหญ่จะให้
                       พลังงาน 156 กิโลแคลอรี่ (ทรงกลด และจริงแท้, 2549) ทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีปริมาณน้่าตาลสูงจึงไม่
                       เหมาะส่าหรับผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน เพราะหากรับประทานเข้าไปจะท่าให้ระดับน้่าตาลในเลือดสูงขึ้น
                       อย่างรวดเร็ว ท่าให้อาการร้อนใน

                              3.1.3 ทุเรียนพันธุ์การค้าของไทย ที่ส่าคัญมี 4 สายพันธุ์ ได้แก่
                                   1)  พันธุ์กระดุม ผลจะมีขนาดค่อนข้างเล็กน้่าหนักประมาณ 1 กิโลกรัม ผลมีลักษณะ
                       ค่อนข้างกลมด้านหัวและด้านท้ายผลค่อนข้างป้าน ก้นผลบุ๋มเล็กน้อย หนามเล็กสั้นถี่ ขั้วค่อนข้างเล็ก
                       สั้น ลักษณะของพูเต็มสมบูรณ์ร่องพูค่อนข้างลึก เนื้อละเอียดอ่อนนุ่มสีเหลืองอ่อน เนื้อค่อนข้างบาง

                       รสชาติหวาน เละง่ายเมื่อสุกจัดเมล็ดจะมีขนาดใหญ่
                                       2)  พันธุ์ชะนี ผลมีขนาดปานกลางถึงใหญ่น้่าหนักประมาณ 2.5-3 กิโลกรัม ผลมีรูปทรง
                       หวด กล่าวคือ กลางผลป่อง หัวเรียว ก้นตัด ร่องพูค่อนข้างลึกเห็นได้ชัด ขั้วผลใหญ่สั้น เนื้อละเอียดสี
                       เหลืองจัดเกือบเป็นสีจ่าปา เนื้อมีปริมาณมากรสชาติหวานมัน เมล็ดค่อนข้างเล็ก และมีจ่านวนเมล็ด

                       น้อย
                                         3) พันธุ์หมอนทอง ผลมีขนาดใหญ่น้่าหนักประมาณ 3-4 กิโลกรัม ทรงผลค่อนข้างยาว
                       มีบ่าผลปลายผลแหลม พูมักไม่เต็มทุกพู หนามแหลมสูงฐานหนามเป็นเหลี่ยม ระหว่างหนามใหญ่จะมี
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38