Page 86 - การวิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพและคุณภาพที่ดินสำหรับการวางแผนการใช้ที่ดินระดับลุ่มน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาลำเชิงไกร
P. 86

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       69







                       ไดแก คาปฏิกิริยาดินเปนกรดจัด  ความอุดมสมบูรณของดินต่้าและความอิ่มตัวดวยดางต่้า สวนชั้น
                       ความเหมาะสมของสับปะรดพบวาพื้นที่มีความเหมาะสมสูง ปานกลาง และเล็กนอย ขอจ้ากัด ไดแก
                       ปริมาณฝนในชวงปลูก มากเกินไป ความอิ่มตัวดวยดางต่้า และความลาดชันของพื้นที่สูงชัน
                                ณัฐพล และคณะ (2558) รายงานว่า การศึกษาพื้นที่ที่เหมาะสมส้าหรับปลูกหญ้าเนเปียร์

                       โดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์วิเคราะห์ปัจจัยเชิงพื้นที่ทั้งทางกายภาพและ
                       เศรษฐศาสตร์ที่ประกอบไปด้วยข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน ข้อมูลดิน ข้อมูลปริมาณน้้าฝน ข้อมูลภูมิประเทศ
                       ข้อมูลขอบเขตการปกครอง ข้อมูลลักษณะภูมิสัณฐาน ข้อมูลอุณหภูมิข้อมูลความลาดชันของพื้นที่และ
                       ข้อมูลราคาผลผลิตรายปีเป็นต้น พบว่าหญ้าเนเปียร์สามารถน้าไปแนะน้าและส่งเสริมเพื่อเพิ่มรายได้

                       ให้แก่เกษตรกร และเพิ่มความมั่นคงทางด้านพลังงานให้แก่ประเทศในอนาคตต่อไป
                                ธัญลักษณ์ และกัลยา (2555) รายงานการประเมินความเหมาะสมของที่ดินตามหลักการ
                       ของ FAO (1983) ในการประเมินพื้นที่ความเหมาะสมส้าหรับการปลูกข้าวในจังหวัดลพบุรี จ้าเป็นต้อง
                       มีข้อมูลทางกายภาพ คือ ข้อมูลปัจจัยความต้องการการใช้ที่ดิน (Land  use  requirement) ปัจจัยที่

                       น้ามาศึกษาประกอบด้วยความลึกของดิน การระเหยน้้าของดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
                       ความสามารถในการดูดยึดธาตุอาหารของดิน ความลาดชัน อุณหภูมิ ปริมาณน้้าฝน และเนื้อดินมา
                       ประกอบการประเมินความเหมาะสมได้

                                ปัญญา (2555) รายงานการประเมินความเหมาะสมของที่ดินทางกายภาพ ส้าหรับปลูก
                       มันส้าปะหลัง และอ้อย ภายในพื้นที่ขยายผลของศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจาก
                       พระราชด้าริ โดยอาศัยหลักการของ FAO (1976) และคู่มือประเมินคุณภาพที่ดินของบัณฑิตและ
                       ค้ารณ (2542) ใช้วิธีการจับคู่เพื่อประเมินความเหมาะสมระหว่างความต้องการของประเภทการใช้
                       ประโยชน์ที่ดินกับคุณภาพที่ดินโดยใช้วิธีการประเมินจากกลุ่มคุณลักษณะที่มีข้อจ้ากัดรุนแรงที่สุด

                       (Most limiting group of land characteristics) มาประกอบ การวางแผนการใช้ที่ดินได้
                                มานัส (2553) รายงานว่า การวิเคราะห์ศักยภาพด้านกายภาพทางพื้นที่เพื่อการวางแผน
                       พัฒนาพื้นที่บริเวณรอบสถานีขนส่งมวลชนเชื่อมต่อกับชุมชนมหาวิทยาลัยปัจจัยเชิงพื้นที่  (Spatial

                       Multi-Criteria Decision  Making  Analysis:  SMCDA)  ในการจัดล้าดับความส้าคัญของปัจจัยด้าน
                       กายภาพ  และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่เพื่อประเมินหาพื้นที่ที่มีศักยภาพด้านกายภาพที่เหมาะสมโดย
                       ใช้เทคนิคการซ้อนท้บข้อมูลที่เรียกว่า  (Grid-based Overlay  Analysis)  เพื่อสนับสนุนการวางแผน
                       และพัฒนาพื้นที่บริเวณรอบสถานีรถไฟชานเมืองเชื่อมต่อกับชุมชน ได้ใช้ฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์

                       จากหลายๆ  หน่วยงานในประเทศไทย  และประยุกต์ใช้โปรแกรม  (ArcView  Model  Builder)  ที่มี
                       ประสิทธิภาพและสร้างความแม่นย้าในการวิเคราะห์การซ้อนทับข้อมูลเชิงพื้นที่ซึ่งมุ่งเน้นแต่ตัวแปรใน
                       ด้านกายภาพได้เท่านั้น
                                วรวีรุกรณ์ และคณะ (2551) รายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ของแหล่งเพาะปลูกและ

                       ผลการประเมินคุณภาพที่ดิน ว่าการวิเคราะห์ผลการประเมินกับการจัดท้าแผนที่แหล่งปลูกล้าไยพบว่า
                       ผลของการประเมินหลายรูปแบบท้าให้ผู้ประเมินสามารถทราบปัญหาของหน่วยแผนที่ดินแต่ละหน่วย
                       และสามารถคัดเลือกพื้นที่และให้ค้าแนะน้าแก่เกษตรกรในการปรับปรุงพื้นที่ก่อนที่จะท้าการปลูก
                       ล้าไยต่อไปได้
   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91