Page 88 - การวิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพและคุณภาพที่ดินสำหรับการวางแผนการใช้ที่ดินระดับลุ่มน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาลำเชิงไกร
P. 88

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน









                                                            บทที่ 4
                                                         ผลการศึกษา



                           จากการด าเนินการศึกษาการวิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพและคุณภาพที่ดิน ส าหรับการวาง
                       แผนการใช้ที่ดินระดับลุ่มน้ าสาขาล าเชิงไกร  พบว่าปัจจัยที่เกี่ยวในการประเมินความเหมาะสมของ
                       ที่ดินนั้น จ าเป็นต้องศึกษาข้อมูลกายภาพของลุ่มน้ าเป็นสิ่งส าคัญพื้นฐาน โดยต้องศึกษาข้อมูลด้าน

                       อุทกวิทยา ข้อมูลสภาพภูมิอากาศ ข้อมูลด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน ข้อมูลทรัพยากรดิน จึงน ามา
                       ประเมินคุณภาพที่ดิน ซึ่งสามารถสรุปผลการศึกษาดังรายละเอียดต่อไปนี้

                       4.1  การวิเคราะห์ด้านกายภาพของพื้นที่ลุ่มน้้า
                           ลุ่มน้ าน้ าล าเชิงไกร เป็นลุ่มน้ าที่มีข้อมูลทางกายภาพที่หลากหลาย มีปัจจัยทางกายภาพที่ส าคัญ

                       โดยเฉพาะทรัพยากรดิน ที่มีลักษณะเฉพาะที่ต้องท าการศึกษาค้นคว้า และแก้ไขเพื่อให้เกษตรกรใช้
                       ประโยชน์พื้นที่ได้ ดังนั้นการสรุปผลการศึกษา จะน าลักษณะเฉพาะทางด้านกายภาพที่เกิดขึ้นในพื้นที่
                       มาประกอบการประเมินคุณภาพที่ดิน  โดยมีรายละเอียดดังนี้
                           4.1.1 สภาพอุทกวิทยาและทรัพยากรน้้า

                               จากการศึกษาสภาพอุทกวิทยาและทรัพยากรน้ าของพื้นลุ่มน้ าสาขาล าเชิงไกร สามารถ
                       สรุปได้ดังต่อไปนี้
                                 1) ลักษณะทางกายภาพของลุ่มน้ าสาขาล าเชิงไกรที่มีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม มีความสูง
                       582 เมตรจากระดับทะเลปานกลาง จุดต่ าสุดของพื้นที่อยู่บริเวณ ต าบลดอนชมพู  อ าเภอโนนสูง

                       จังหวัดนครราชสีมา มีความสูง 155 เมตรจากระดับทะเลปานกลาง ลักษณะโดยทั่วไปของลุ่มน้ าเป็น
                       พื้นที่ลุ่มมีรูปแบบของล าน้ า ลักษณะเป็นล าธารแตกกิ่งก้านสาขาคล้ายเส้นใบของใบไม้มีทิศทาง
                       ไม่แน่นอน ในพื้นที่ลุ่มน้ าล าเชิงไกรมีปริมาณน้ าท่าเฉลี่ยรายปี 128.03 ล้านลูกบาศก์เมตร เฉลี่ยสูงสุด
                       อยู่ในเดือนตุลาคม มีค่า  73.55 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ าท่าเฉลี่ยต่ าสุดในเดือนกรกฎาคม มีค่า

                       0.18 ล้านลูกบาศก์เมตร                                                                                                                   71
                                 2) ลักษณะของชั้นหินอุ้มน้ าส่วนใหญ่จะมีคุณภาพน้ าเป็นน้ าจืด แต่พบบางพื้นที่มี
                       คุณภาพน้ าจะกร่อยหรือเค็ม ซึ่งจะปรากฏกระจายเป็นหย่อมๆ อยู่ทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นที่ลุ่ม

                       หรือที่ต่ าหากฤดูกาลที่มีฝนทิ้งช่วงเกษตรกรจะได้รับผลกระทบ โดยน้ าที่ใช้บริโภคอุปโภคมีรสเค็ม
                       พื้นที่ที่ท าการเกษตรก็ได้รับผลกระทบ เช่น พื้นที่ปลูกข้าว ไม่ได้ผลผลิต เพราะปริมาณน้ าไม่พอ
                       ข้าวจึงไม่สามารถเจริญเติบโตในพื้นที่ดินเค็ม ถึงแม้ว่าในพื้นที่ลุ่มน้ าล าเชิงไกรจะมีศักยภาพใน
                       การพัฒนาน้ าใต้ดินอยู่ในช่วง 2-10 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง มีเนื้อที่ 49,752 ไร่ หรือร้อยละ 35.84
                       ของลุ่มน้ าสาขา ก็ยังไม่สามารถบรรเทาการขาดแคลนน้ ากินน้ าใช้ได้

                                 3) คุณภาพน้ าผิวดิน ช่วงเดือนสิงหาคม 2557 ณ จุดตรวจวัดคุณภาพน้ าหนึ่งแห่ง
                       พบว่า บางช่วงออกซิเจนละลายได้ (DO)  อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH)
                       อยู่ในเกณฑ์เป็นด่างเล็กน้อย ซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดน้ าเน่าเสียได้เพราะพื้นที่ลุ่มน้ าล าเชิงไกร

                       มีโรงงานผลิตมันส าปะหลังเป็นจ านวนมาก หากไม่มีการควบคุมหรือจัดสรรโซนนิ่งให้กับพื้นที่โรงงาน
                       คุณภาพน้ าผิวดินอาจเกิดผลกระทบ
   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93