Page 91 - การวิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพและคุณภาพที่ดินสำหรับการวางแผนการใช้ที่ดินระดับลุ่มน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาลำเชิงไกร
P. 91

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       74








                       ขอค าปรึกษากับหน่วยงานของรัฐก่อน เช่น หน่วยงานของกรมพัฒนาที่ดินจะท าให้ทราบว่าสภาพ
                       พื้นที่ขาดธาตุอาหารตัวใดจะท าให้ใส่ปุ๋ยได้ตรงกับความต้องการของดิน
                               พื้นที่ลุ่ม
                                 1) ดินค่อนข้างเป็นทราย

                                   มีเนื้อที่ 29,609  ไร่ หรือร้อยละ 1.60 ของพื้นที่ลุ่มน้ าสาขา ได้แก่ หน่วยที่ดินที่
                       22 22I1  22M2  22M4  และ 22sa พบการกระจายตัวอยุ่ทั่วทั้งบริเวณลุ่มน้ า พบมากบริเวณ
                       อ าเภอขามทะเลสอ อ าเภอด่านขุนทด ซึ่งมีสภาพพื้นที่เป็นพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ
                       ถึงลูกคลื่นลอนลาด การระบายน้ าของดินค่อนข้างเลว ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ า ความจุในการ

                       แลกเปลี่ยนประจุบวกต่ า ความอิ่มตัวด้วยด่างปานกลาง เนื้อดินบนเป็นดินทรายปนร่วน ปฏิกิริยาดิน
                       เป็นกรดจัดถึงกรดเล็กน้อย (pH 5.5-6.5) เนื้อดินล่างเป็นดินร่วนปนทราย ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึง
                       เป็นกลาง (pH 5.5-7.0)
                                   แนวทางแก้ไข การใช้ประโยชน์ของพืชบริเวณนี้ ควรเลือกชนิดพืชที่มีศักยภาพ

                       เหมาะสมมาปลูก มีการปรับปรุงบ ารุงดินร่วมกับมีระบบการอนุรักษ์ดินและน้ า เช่น ปุ๋ยหมัก อัตรา
                       1-4 ตันต่อไร่ ปุ๋ยคอก 1-2 ตันต่อไร่ หรือปุ๋ยพืชสด อัตราเมล็ดพันธุ์ 5-10 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับ
                       ปุ๋ยเคมี และใช้วัสดุคลุมดิน ท าคันดินปลูกหญ้าแฝกหรือปลูกพืชเป็นแถบสลับ พัฒนาแหล่งน้ าไว้ใช้

                       ในช่วงที่พืชขาดน้ า การใช้ปุ๋ยเคมีควรใช้ที่ละน้อยแต่บ่อยครั้ง เพื่อลดการสูญเสียธาตุอาหารลงไปในชั้น
                       ดินล่างก่อนที่พืชจะน าไปใช้ได้ เมื่อมีการให้น้ าหรือมีฝนตก ส าหรับในพื้นที่ลุ่มนอกจากการใช้ปุ๋ย
                       อินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีและมีการพัฒนาแหล่งน้ าไว้ใช้แล้ว ควรมีการตีและไถกลบตอซังข้าวด้วยจะเป็น
                       การช่วยเพิ่มปุ๋ยอินทรีย์ให้กับดินอีกทางหนึ่ง
                                 2) ดินเค็ม

                                   หน่วยที่ดินในกลุ่มดินเค็ม มีเนื้อที่ 432,060 ไร่ หรือร้อยละ 23.37 ของพื้นที่ลุ่มน้ า
                       ได้แก่ หน่วยที่ดินที่ 20 20/20f  20f  20f,ssub  20hi พบมากบริเวณอ าเภอโนนไทย อ าเภอโนนสูง
                       อ าเภอพระทองค า อ าเภอด่านขุนทด และอ าเภอเทพารักษ์ เป็นดินที่มีปริมาณเกลืออยู่ในดินสูงจน

                       เป็นอันตรายต่อพืชที่ปลูก ความเค็มของดินจะท าให้พืชขาดน้ า เหี่ยวเฉาและตายในที่สุด พื้นที่ดินเค็ม
                       สังเกตนสังเกตได้ง่ายคือ จะเห็นขุยเกลือขึ้นตามผิวดิน และมักเป็นที่ว่างเปล่าไม่มีการท าเกษตรกรรม
                       หรือถ้าไม่เห็นขุยเกลือขึ้นก็จะเป็นที่ว่างเปล่าไม่มีพืชอื่นขึ้นได้ ยกเว้นวัชพืชที่ชอบเกลือ เช่น หนามแดง
                       หนามบี่ หนามพรม เป็นต้นลักษณะของดินเค็มอีกประการหนึ่ง คือ ความเค็มจะไม่มีความสม่ าเสมอ

                       กันในพื้นที่เดียวกัน และความเค็มจะเปลี่ยนไปสะสมในชั้นของดินต่างๆ ไม่เท่ากันตามฤดูกาล
                       โดยปกติในฤดูฝนเกลือจะถูกชะล้างไปสะสมในดินชั้นล่าง ในฤดูแล้งเกลือจะระเหยขึ้นมากับน้ าสะสม
                       อยู่ที่ชั้นดินบนสลับกันได้จากคราบเกลือที่ปรากฏอยู่ที่ผิวดิน โดยทั่วไปมีชั้นดานแข็งเป็นที่สะสมเกลือ
                       อยู่สูงภายในความลึก 50 เซนติเมตรจากผิวดิน

                                   แนวทางการแก้ไข การใช้ประโยชน์พื้นที่บริเวณนี้ ควรเลือกพันธุ์พืชที่ทนเค็มมา
                       ปลูกเช่น ข้าวหอยอ้ม ค าผาย 41 เก้ารวง 88 ขาวดอกมะลิ 105 กข1 กข8 เจ๊กกระโดด กอเดียวเบา
                       ขาวตาอู่ เหนียวสันป่าตอง ข้าวพันธุ์ต่างๆ เหล่านี้มีช่วงทนเค็มได้ระหว่าง 8-15 มิลลิโมห์ต่อเซนติเมตร
                       ส่วนพืชไร่อื่นๆ เช่น ถั่วเขียวพันธุ์ต่างๆ มีช่วงทนเค็มระหว่าง 4-6 มิลลิโมห์ ต่อเซนติเมตร ลดอันตราย

                       จากความเค็มโดยการพัฒนาแหล่งน้ าและควบคุมไม่ให้น้ าที่เค็มแพร่กระจายไปยังพื้นที่อื่น ใช้น้ าล้างเกลือ
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96