Page 89 - การวิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพและคุณภาพที่ดินสำหรับการวางแผนการใช้ที่ดินระดับลุ่มน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาลำเชิงไกร
P. 89

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       72








                                 4) น้ าผิวดินและน้ าใต้ดิน การพัฒนาแหล่งน้ าเพื่อการเกษตรของกรมชลประทาน
                       โครงการชลประทานขนาดกลาง 3 โครงการ และโครงการชลประทานขนาดเล็ก จ านวน 76 โครงการ
                       โครงการพัฒนาแหล่งน้ าใต้ดินของกรมทรัพยากรน้ าบาดาล (2558) ซึ่งได้ขุดเจาะบ่อบาดาล จ านวน
                       814 บ่อ อยู่ในจังหวัดชัยภูมิ อ าเภอจัตุรัส 1 บ่อ จังหวัดนครราชสีมา 813 บ่อ ซึ่งตั้งกระจายอยู่ใน

                       อ าเภอขามทะเลสอ 59 บ่อ อ าเภอด่านขุนทด 349 บ่อ อ าเภอเทพารักษ์ 114 บ่อ อ าเภอโนนไทย 43 บ่อ
                       อ าเภอโนนสูง 11 บ่อ อ าเภอพระทองค า 152 บ่อ อ าเภอเมืองนครราชสีมา 5 บ่อ อ าเภอวังน้ าเขียว 3 บ่อ
                       อ าเภอสีคิ้ว 71 บ่อ และอ าเภอสูงเนิน 6 บ่อ โดยมีประชากรในเขตเทศบาลจ านวน 63,344 คน
                       และนอกเขตเทศบาลจ านวน 247,644 คน มีความต้องการน้ าเพื่อการอุปโภคบริโภคทั้งหมด 0.02 ล้านลูกบาศก์เมตร

                       โดยแบ่งเป็นการใช้น้ าของประชาชนในเขตเทศบาลเฉลี่ย 0.008  ล้านลูกบาศก์เมตร  และการใช้น้ าของ
                       ประชาชนนอกเขตเทศบาลเพื่อการอุปโภคบริโภค  0.012  ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งจ าเป็นต้องมีการพัฒนา
                       แหล่งน้ าเพื่อรองรับการขยายตัวของประชากรต่อไป

                         4.1.2 ทรัพยากรดิน

                             จากการศึกษาสถานภาพทรัพยากรที่ดินปัจจุบันของลุ่มน้ าสาขาล าเชิงไกร มีเนื้อที่ทั้งหมด
                       1,848,469 ไร่ จึงน ามาวิเคราะห์ตามสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน ร่วมกับคุณสมบัติทางกายภาพและ

                       เคมีของดิน โดยแยกตามประเภทของดินและสภาพปัญหา ดังนี้ พื้นที่ดินที่ดอน ดินที่ลุ่ม ที่มีลักษณะ
                       พื้นที่ที่มีสภาพปัญหาเป็นดินเค็มซึ่งมีเนื้อที่ 432,060 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 23.37 ของพื้นที่ลุ่มน้ าสาขา
                       รองลงมาเป็น ดินค่อนข้างเป็นทราย  และดินทรายจัด มีเนื้อที่ 396,293 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 21.44

                       ของพื้นที่ลุ่มน้ าสาขา และดินตื้น มีเนื้อที่ 2,474 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.13 ของพื้นที่ลุ่มน้ าสาขา
                       นอกจากนั้นจะเป็น ดินไม่มีข้อจ ากัดรุนแรง 873,292 ไร่ คิดเป็นร้อยละ  47.25 ของพื้นที่ลุ่มน้ าสาขา
                       พื้นที่ที่เหลือเป็นพื้นที่เบ็ดเตล็ดที่ไม่มีการวิเคราะห์ส ารวจและจ าแนกดิน เนื่องจากเป็นสภาพพื้นที่
                       ที่มีความเฉพาะเจาะจง ได้แก่ พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง พื้นที่ผาชัน ที่ลุ่มชื้นแฉะ และแหล่งน้ า
                       144,350 ไร่ คิดเป็นร้อยละ7.81 ของพื้นที่ลุ่มน้ าสาขา รายละเอียดดังตารางที่ 14

                             การศึกษาถึงสถานภาพของทรัพยากรดินในปัจจุบันของลุ่มน้ าสาขาล าเชิงไกร สามารถสรุป
                       สภาพปัญหาตามลักษณะพื้นที่โดยแยกเป็นที่ดอนและที่ลุ่ม พร้อมแนวทางการจัดการ โดยมี
                       รายละเอียดดังนี้

                               พื้นที่ดอน
                                 1) ดินค่อนข้างเป็นทราย
                                   มีเนื้อที่ 333,627 ไร่ หรือร้อยละ 18.05 ของพื้นที่ลุ่มน้ า ได้แก่ หน่วยที่ดินที่ 37
                       37,fl 37,flM3 37M3 37B 37B,fl 37B,flM3 40B 40BM3 40C/RC 40C/RCM3 41B 41B,d3clay

                       41B,d3calyM3  41B/41BM3  41BM3  41C,d3clay  และ41C,d3clayM3 กระจายอยู่ทั่วบริเวณ
                       อ าเภอพระทองค า อ าเภอขามทะเลสอ อ าเภอด่านขุนทด ซึ่งมีสภาพพื้นที่เป็นพื้นที่ราบเรียบหรือ
                       ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด การระบายน้ าของดินค่อนข้างเลวความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ า
                       ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกต่ า ความอิ่มตัวด้วยด่างปานกลาง เนื้อดินบนเป็นดินทรายปนร่วน

                       ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดเล็กน้อย (pH  5.5-6.5) เนื้อดินล่างเป็นดินร่วนปนทราย ปฏิกิริยาดิน
                       เป็นกรดจัดถึงเป็นกลาง (pH 5.5-7.0)
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94