Page 90 - การวิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพและคุณภาพที่ดินสำหรับการวางแผนการใช้ที่ดินระดับลุ่มน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาลำเชิงไกร
P. 90

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       73








                                 2) ดินทรายจัด
                                   มีเนื้อที่ 33,057  ไร่ หรือร้อยละ 1.79 ของพื้นที่ลุ่มน้ า ได้แก่ หน่วยที่ดินที่ 44
                       44M3  44B  44BM3 ซึ่งมีสภาพพื้นที่เป็นพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ ถึงลูกคลื่นลอนลาด
                       การระบายน้ าของดินค่อนข้างเลว ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ า ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกต่ า

                       ความอิ่มตัวด้วยด่างปานกลาง เนื้อดินบนเป็นดินทรายปนร่วน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดเล็กน้อย
                       (pH 5.5-6.5) เนื้อดินล่างเป็นดินร่วนปนทราย ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกลาง (pH 5.5-7.0)
                                   แนวทางแก้ไข การใช้ประโยชน์ของพืชบริเวณนี้ ควรเลือกชนิดพืชที่มีศักยภาพ
                       เหมาะสมมาปลูก เช่น ควรปลูกพืชตระกูลถั่ว หญ้าเลี้ยงสัตว์ มีการปรับปรุงบ ารุงดินและเพิ่มความ

                       อุดมสมบูรณ์ของดินด้วยอินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือปลูกพืชตระกูลถั่ว แล้วไถกลบเป็น
                       ปุ๋ยพืชสด เพื่อเพิ่มความสามารถในการดูดซับธาตุอาหารพืชและความสามารถในการอุ้มน้ าแก่ดิน
                       ปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดินท าให้ดินมีการเกาะยึดตัวดีขึ้น  การอนุรักษ์ดินและน้ าที่เหมาะสม
                       ปลูกพืชคลุมดินเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน การใช้วัสดุคลุมดินเพื่อป้องกันการระเหยของ

                       น้ าและรักษาความชื้นไว้ในดินการจัดการน้ าที่เหมาะสมเพื่อให้การใช้น้ าเป็นไปอย่างประหยัดและมี
                       ประสิทธิภาพ เช่น การให้น้ าแบบหยด เป็นต้น หรือขุดสระเพื่อเก็บน้ าไว้ใช้ในช่วงที่พืชขาดน้ าการใช้
                       ปุ๋ยเคมีในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ ามากและมีปริมาณธาตุอาหารพืชไม่เพียงพอ ควรใช้ปุ๋ยเคมีร่วม

                       ด้วยตามความเหมาะสมกับชนิดพืชที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ยเคมีที่ละลายช้าแบ่งใส่ครั้งละน้อยๆ เป็นระยะใส่
                       ในขณะที่ดินมีความชื้นเหมาะสมและควรใช้ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์หรือใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน
                                 3) ดินตื้น
                                   หน่วยที่ดินในกลุ่มดินตื้นมีหินพื้นโผล่ มีเนื้อที่ 2,474 ไร่ หรือร้อยละ 0.13
                       ของพื้นที่ลุ่มน้ า ประกอบด้วย ดินตื้นในพื้นที่ดอน ได้แก่ 48C/56C  48D/RC พบมากบริเวณอ าเภอสีคิ้ว

                       และอ าเภอโนนสูง เป็นดินตื้นถึงชั้นลูกรัง มีเศษหิน ก้อนหินปะปนอยู่ในเนื้อดินตั้งแต่ร้อยละ 35
                       โดยปริมาตรหรือมากกว่า ภายในความลึก 50 เซนติเมตรจากผิวดิน หรือมีชั้นหินพื้นตื้นกว่า                                                           73
                       50 เซนติเมตรจากผิวดิน ดินตื้นจะเป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืชลงไปหาอาหาร นอกจากนี้

                       ยังมีส่วนที่เป็นดินน้อย ท าให้มีความสามารถในการดูดซับธาตุอาหารและอุ้มน้ าต่ ามาก พืชจะขาดน้ า
                       ท าให้เหี่ยวเฉาไวกว่าพื้นที่อื่น
                                   แนวทางปรับปรุงแก้ไข เลือกพื้นที่ที่มีหน้าดินหนาและไม่มีเศษหิน หรือก้อนหิน
                       อยู่บริเวณหน้าดินมาก ท าเกษตรกรรมแบบวนเกษตรหรือแบบผสมผสาน ไม่ท าลายไม้พื้นล่าง ขุดหลุมปลูก

                       พร้อมปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักอัตรา 25-50 กิโลกรัมต่อหลุม หรือปุ๋ยคอกอัตรา 10-20 กิโลกรัมต่อหลุม
                       ร่วมกับปุ๋ยเคมีตามชนิดพืชที่ปลูก มีระบบอนุรักษ์ดินและน้ า เช่น ใช้วัสดุคลุมดินหรือปลูกหญ้าแฝก
                       เพื่อรักษาความชื้นและลดการกร่อนของดิน พัฒนาแหล่งน้ าไว้ใช้ในระยะที่ฝนทิ้งช่วงนานหรือพืชขาดน้ า
                       ส าหรับในพื้นที่ที่มีหินกระจัดกระจายอยู่บนดินมาก ไม่เหมาะสมต่อการเกษตร ควรปล่อยไว้ให้เป็นป่า

                       ธรรมชาติเพื่อเป็นแหล่งต้นน้ าล าธาร
                                 4) ดินไม่มีข้อจ้ากัดที่รุนแรง มีเนื้อที่ 774,323 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 41.90 ของเนื้อที่
                       ลุ่มน้ าสาขา  เป็นดินที่ไม่พบข้อจ ากัดทางด้านกายภาพที่รุนแรง แต่อาจพบปัญหาทางด้านเคมีบาง
                       ประการ เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดินซึ่งจัดเป็นปัญหาหลักที่ส าคัญ ในส่วนนี้เกษตรกรสามารถ

                       แก้ปัญหาเบื้องต้นได้โดยการใส่ปุ๋ยทดแทนได้ แต่ถ้าเป็นไปได้ควรน าดินมาตรวจหาธาตุอาหารและ
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95