Page 67 - การวิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพและคุณภาพที่ดินสำหรับการวางแผนการใช้ที่ดินระดับลุ่มน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาลำเชิงไกร
P. 67

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       50







                       เป็นลูกโซ่ จนไปสู่ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และความมั่นคงของประเทศชาติ ด้วยเหตุนี้เอง
                       การจัดการทรัพยากรป่าไม้หรือการด้าเนินงานในด้านการอนุรักษ์ป่าไม้จึงได้รับความสนใจจากทุกฝ่าย
                       ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป ในส่วนของภาครัฐ ก้าหนดนโยบายและมาตรการเพื่อเป็น
                       แนวทางแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์ป่าไม้ดังนี้ ก้าหนดนโยบายป่าไม้แห่งชาติ ด้าเนินงานด้านการอนุรักษ์

                       ก้าหนดชั้นคุณภาพของลุ่มน้้า ส่งเสริม ประชาสัมพันธ์ และให้การศึกษา
                                จรรยาภรณ์ (2554) กล่าวว่า จากการที่พื้นที่ป่าไม้ลดลงอย่างมาก อันส่งผลกระทบต่อ
                       สิ่งแวดล้อม และผลิตผลป่าไม้ลดลง ในขณะที่ความต้องการใช้ประโยชน์เพิ่มมากขึ้น  จึงจ้าเป็นต้อง
                       อาศัยหลักวิชาการในการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้อย่างจริงจัง โดยแยกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่

                                  (1) พื้นที่ป่าอนุรักษ์  ประกอบด้วย พื้นที่ป่าต้นน้้าล้าธารหรือพื้นที่ลุ่มน้้าชั้นที่ 1
                       อุทยานแห่งชาติเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า  การจัดการควรมุ่งเน้นที่จะรักษาไว้ส้าหรับเป็นป่าป้องกันภัย
                       หรือเป็นป่าอเนกประสงค์ให้มากที่สุด  เนื่องจากเป็นป่าสาธารณประโยชน์  โดยในการบริหารการ
                       จัดการจะต้องให้ความส้าคัญระดับสูงต่อการป้องกันรักษาป่าที่ยังมีสภาพสมบูรณ์  ส่วนบริเวณที่มี

                       สภาพเสื่อมโทรม โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นแหล่งต้นน้้าล้าธาร ควรรีบเร่งแก้ไขปรับปรุงให้มีสภาพดียิ่งขึ้น
                                  (2) พื้นที่ป่าเศรษฐกิจ  ในชั้นต้นจะต้องให้ความส้าคัญกับการป้องกันรักษาป่า  ทั้งที่
                       เป็นธรรมชาติและสวนป่า  รวมทั้งหาวิธีเพิ่มผลิตผลของป่าไม้ในเนื้อที่ป่าที่เหลืออยู่นี้ให้อ้านวย

                       ประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่ประเทศชาติและประชาชนให้มากที่สุด
                                  นอกจากนี้ การเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ยังสามารถท้าได้ในรูปของการส่งเสริมเกษตรกร ให้ท้า
                       การปลูกสร้างป่าตามหัวไร่ปลายนา หรือที่รกร้างว่างเปล่าของตน โดยไม้ที่ปลูกอาจเป็นไม้ไผ่หรือไม้โต
                       เร็วที่ใช้รอบหมุนเวียนสั้นๆ ทั้งนี้เพื่อจะได้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการปลูกพืชเกษตรอีกส่วนหนึ่งอีกทั้งท้า
                       ให้เกิดความร่มเย็น และเป็นแนวกันลมให้แก่พืชสวนไร่นาด้วย ตลอดจนการส่งเสริมและสนับสนุนให้

                       ประชาชนในท้องถิ่น ด้าเนินการพัฒนาในรูปของป่าชุมชน  โดยท้าการปลูกป่าประเภทไม้ใช้สอยที่โตเร็ว
                       และสามารถขึ้นได้ดีในสภาพพื้นดินของท้องถิ่นนั้น และควรเป็นต้นไม้ที่ใช้ประโยชน์ได้หลายประเภท
                       ตลอดจนการปลูกไม้สมุนไพรในบริเวณที่เป็นที่รกร้างว่างเปล่าหรือที่สาธารณประโยชน์เพื่อใช้

                       ประโยชน์ในท้องถิ่นของตน และเพื่อช่วยรักษาสภาวะแวดล้อม

                       3.2  แนวคิดทฤษฎีการวางแผนการใช้ที่ดิน
                            3.2.1 แนวคิดเกี่ยวกับการวางแผน
                                บัณฑิต (2535) กล่าวว่า แผนการใช้ที่ดิน คือ การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจ้ากัดให้เกิด

                       ประโยชน์สูงสุด หมายถึง การก้าหนดขอบเขตบริเวณที่ดิน ตามความแตกต่างของล้าดับชั้นแห่งการใช้
                       ที่ดินนั้นๆ โดยพิจารณาจากชนิดของการใช้ที่ดิน ทรัพยากรที่มีอยู่ สภาพเศรษฐกิจและสังคม นโยบาย
                       ของรัฐ ฯลฯ ทั้งนี้ต้องเอื้ออ้านวยต่อการพัฒนาและการอนุรักษ์ภายใต้สภาพแวดล้อมหรือสถานการณ์
                       ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์ให้การใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นไปอย่างประหยัด เกิด

                       ประโยชน์ต่อหน่วยพื้นที่อย่างสูงสุดและสามารถอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่ได้ในอนาคตอีก
                       ด้วย  การวางแผนการใช้ที่ดิน เป็นการใช้ความรู้ทางด้านวิชาการหลายสาขาวิเคราะห์พฤติกรรม
                       เกี่ยวกับการใช้ที่ดินในอดีต สภาพปัญหาในปัจจุบัน เพื่อก้าหนดแนวทางในการคาดคะเนความน่าจะ
                       เป็นไปได้ของการด้าเนินกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับการใช้ที่ดินในอนาคต โดยพยายามลดความผิดพลาดต่างๆ

                       ที่เกิดขึ้นต่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ อันมีผลต่อสภาวการณ์ต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72