Page 34 - การวิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพและคุณภาพที่ดินสำหรับการวางแผนการใช้ที่ดินระดับลุ่มน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาลำเชิงไกร
P. 34
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
23
มีสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย เป็นดินลึกที่มีการระบายน้้าดี
เนื้อดินบนเป็นพวกดินร่วนปนทราย ส่วนดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายหรือดินร่วนเหนียวมี
สีน้้าตาล สีเหลืองหรือแดง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติค่อนข้างต่้าถึงปานกลาง ดินชั้นบน
ส่วนใหญ่จะมีปฏิกิริยาเป็นกรดจัดมาถึงกรดปานกลาง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 5.0-6.0 ส่วนดินล่าง
จะมีปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นกลาง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 6.0-7.0 ปัจจุบันบริเวณ
ดังกล่าว ใช้ปลูกพืชไร่ต่างๆ เช่น อ้อยโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่ว สับปะรด และไม้ผลบางชนิด
ปัญหาที่พบได้แก่ การมีเนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย ซึ่งท้าให้ดินอุ้มน้้าได้น้อย พืชอาจขาดแคลนน้้าได้
ในช่วงที่ฝนทิ้งช่วงเป็นระยะเวลานานๆ ส้าหรับบริเวณที่มีความลาดชันสูง อาจมีปัญหาเรื่องการชะล้าง
พังทลายเกิดขึ้นแบ่งเป็นหน่วยที่ดินต่างๆ คือ
- หน่วยที่ดินที่ 36 สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีเนื้อที่
28,759 ไร่ หรือร้อยละ 1.55 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา
- หน่วยที่ดินที่ 36M3 สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีการปั้น
คันนาเพื่อท้าการปลูกข้าว มีเนื้อที่ 69,596 ไร่ หรือร้อยละ 3.77 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา
- หน่วยที่ดินที่ 36B สภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีเนื้อที่
176,253 ไร่ หรือร้อยละ 9.54 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา
- หน่วยที่ดินที่ 36Bcsub สภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีเนื้อที่
947 ไร่ หรือร้อยละ 0.05 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา
- หน่วยที่ดินที่ 36BcsubM3 สภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีการปั้น
คันนาเพื่อท้าการปลูกข้าว มีเนื้อที่ 331 ไร่ หรือร้อยละ 0.02 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา
- หน่วยที่ดินที่ 36BM3 สภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีการปั้นคันนา
เพื่อท้าการปลูกข้าว มีเนื้อที่ 21,934 ไร่ หรือร้อยละ 1.18 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา
4) กลุ่มดินที่เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ หรือถูกเคลื่อนย้ายมาในระยะทาง
ไม่ไกลนักของหินเนื้อหยาบ หรือจากวัตถุต้นก้าเนิดดินพวกตะกอนล้าน้้าทับอยู่บนชั้นหินผุหรือชั้นดินเหนียว
พบบริเวณพื้นที่ดอน มีสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย เป็นดินลึก
ที่มีการระบายน้้าดีปานกลาง เนื้อดินบนเป็นดินทรายปนดินร่วน ส่วนดินชั้นล่างในระดับความลึก
50-100 เซนติเมตร เป็นดินเหนียว ดินเหนียวปนเศษหิน หรือเป็นชั้นหินผุ สีดินบนเป็นสีน้้าตาลดิน
ล่างเป็นสีน้้าตาลปนเทา บางแห่งมีจุดประสีแดงและมีศิลาแลงอ่อนปะปนอยู่จ้านวนมาก ดินมีความ
อุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่้า ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดจัดมาก มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง
4.5-5.5 ปัญหาส้าคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่้า ในช่วงฤดูฝนดินเปียกแฉะ
เกินไปส้าหรับพืชไร่บางชนิด และหน้าดินค่อนข้างเป็นทราย ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวส่วนใหญ่เป็น
ป่าเต็งรัง ป่าละเมาะและไม้พุ่ม พืชไร่ที่ปลูกได้แก่ ปอ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเขียว แตงโม แต่มักให้ผลผลิตต่้า
แบ่งเป็นหน่วยที่ดินต่างๆ คือ
- หน่วยที่ดินที่ 37 สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีเนื้อที่ 209 ไร่
หรือร้อยละ 0.01 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา
- หน่วยที่ดินที่ 37, fl สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีเนื้อที่
693 ไร่ หรือร้อยละ 0.04 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา