Page 38 - การวิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพและคุณภาพที่ดินสำหรับการวางแผนการใช้ที่ดินระดับลุ่มน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาลำเชิงไกร
P. 38

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       27








                                      -  หน่วยที่ดินที่ 48D/RC  เป็นหน่วยที่ดินรวม หรือ หน่วยที่ดินเชิงซ้อน
                       ประกอบด้วย หน่วยที่ดินที่  48D  และ  RC สภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนชัน มีเนื้อที่ 1,414 ไร่
                       หรือร้อยละ 0.08 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา
                                    10)  กลุ่มดินที่เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ หรือถูกเคลื่อนย้ายมาในระยะทาง

                       ไม่ไกลนักของวัตถุต้นก้าเนิดดินที่มาจากหินตะกอนเนื้อละเอียดที่มีปูนปน พบบริเวณพื้นที่ดอน สภาพ
                       พื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย เป็นดินลึกปานกลาง มีการระบายน้้าดี
                       ถึงดีปานกลาง เนื้อดินเป็นดินเหนียว ในดินชั้นล่างที่ระดับความลึก 50-100  เซนติเมตร พบชั้นหินผุ
                       ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหินตะกอนเนื้อละเอียด บางแห่งมีก้อนปูนปะปนอยู่ด้วย สีดินเป็นสีน้้าตาล สีเหลือง

                       หรือสีแดง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็น
                       ด่างเล็กน้อย มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 6.0-8.0  ปัญหาส้าคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ ดินมี
                       โครงสร้างแน่นทึบยากต่อการไซซอนของรากพืช มักเกิดชั้นดานไถพรวนได้ง่าย หากไถพรวนใน
                       ระยะเวลาที่ไม่เหมาะสม ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวใช้ปลูกพืชไร่บางชนิด เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

                       มันส้าปะหลัง กล้วยบางแห่งเป็นป่าละเมาะ ไผ่ แบ่งเป็นหน่วยที่ดินต่างๆ คือ
                                        - หน่วยที่ดินที่ 55 สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีเนื้อที่
                       3,853 ไร่ หรือร้อยละ 0.21 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา

                                        - หน่วยที่ดินที่ 55M3 สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีการปั้น
                       คันนาเพื่อท้าการปลูกข้าว มีเนื้อที่ 794 ไร่ หรือร้อยละ 0.04 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา
                                        - หน่วยที่ดินที่ 55B สภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีเนื้อที่
                       219,883 ไร่ หรือร้อยละ 11.90 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา
                                        - หน่วยที่ดินที่ 55BM3 สภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีการปั้น

                       คันนาเพื่อท้าการปลูกข้าว มีเนื้อที่ 62,928 ไร่ หรือร้อยละ 3.40 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา
                                    11)  กลุ่มดินที่เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ หรือถูกเคลื่อนย้ายมาใน
                       ระยะทางไม่ไกลนักของวัตถุต้นก้าเนิดดินที่มาจากหินตะกอนเนื้อหยาบ หรือหินอัคนีเนื้อหยาบ

                       พบบริเวณพื้นที่ดอน มีสภาพพื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยจนถึงลูกคลื่นลอนลาด เป็นดินลึกปานกลาง
                       มีการระบายน้้าดี เนื้อดินช่วง 50 เซนติเมตร ตอนบนเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย ส่วนดินล่างเป็น
                       ดินปนเศษหิน มักพบชั้นพบหินพื้นลึกกว่า 100  เซนติเมตร  สีดินเป็นสีน้้าตาล สีเหลืองหรือสีแดง ดินมี
                       ความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่้า ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดปานกลาง มีค่าความเป็นกรด

                       เป็นด่าง 5.0-6.0  ปัจจุบันดินนี้ส่วนใหญ่จะถูกน้ามาใช้ในการปลูกพืชไร่ เช่น อ้อยโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
                       มันส้าปะหลัง โดยทั่วไปแล้ว พบปัญหาเรื่องดินมีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่้า และอาจเกิดการชะล้าง
                       พังทลายได้ง่าย ถ้าปลูกพืชในบริเวณที่มีความลาดชันมากๆ โดยไม่มีการอนุรักษ์ดินและน้้าที่
                       เหมาะสม แบ่งเป็นหน่วยที่ดินต่างๆ คือ

                                        - หน่วยที่ดินที่ 56B สภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีเนื้อที่
                       13,260 ไร่ หรือร้อยละ 0.72 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา
                                        - หน่วยที่ดินที่ 56B/RC เป็นหน่วยที่ดินรวม หรือ หน่วยที่ดินเชิงซ้อน
                       ประกอบด้วย หน่วยที่ดินที่ 56B และ RC สภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีเนื้อที่ 3,916 ไร่

                       หรือร้อยละ 0.21 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43