Page 16 - การจัดการปุ๋ยหมักและปุ๋ยชีวภาพร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ เพื่อเพิ่มผลผลิตมะละกอฮอลแลนด์ในดินทราย
P. 16
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
7
พื้นที่ทะเลทราย จากการใช้เชื้อจุลินทรีย์ในแต่ละต ารับการทดลองได้แก่ A. brasilens
A. chroococcum G. fasciculatum G. mosseae มีจ านวนกิ่งแขนง อยู่ระหว่าง 8.00 – 11.00
กิ่งต่อต้น และการใช้เชื้อ A. chroococcum ร่วมกับ G. mosseae มีจ านวนกิ่งแขนงมากที่สุด
จ านวน 12.00 กิ่งต่อต้น มากกว่าการใช้ปุ๋ยหมักเพียงอย่างเดียวที่มีจ านวนกิ่งแขนงต่ าที่สุด การใช้
ปุ๋ยชีวภาพมีการดูดใช้ไนโตเจนอยู่ระหว่าง 22.00 – 27.00 มิลลิกรัมต่อต้น ฟอสฟอรัสอยู่ระหว่าง
3.40 – 6.40 มิลลิกรัมต่อต้น และโพแทสเซียม 18.10 – 22.80 มิลลิกรัมต่อต้น มากกว่าการใช้
ปุ๋ยหมักเพียงอย่างเดียว มีการดูดใช้ไนโตรเจน 18.90 มิลลิกรัมต่อต้น ฟอสฟอรัส 2.50 มิลลิกรัมต่อ
ต้น และโพแทสเซียม 13.20 มิลลิกรัมต่อต้น จากการวิจัยของนวลจันทร์ และ ฎานุภา (2557) ได้
ศึกษาอัตราและระยะเวลาการใช้ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและผลผลิต
มันส าปะหลัง กลุ่มชุดดินที่ 35 ชุดดินปักธงชัย จากการทดลองพบว่า การใช้ปุ๋ยชีวภาพตอนเตรียม
ดิน ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับถั่วพร้า และน้ าหมักชีวภาพ มีผลผลิตสูงสุด
2,522 กิโลกรัมต่อไร่ และให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ 4,055 บาทต่อไร่ และปริมาณเชื้อจุลินทรีย์
จะเพิ่มขึ้นในช่วง 1–2 เดือน และลดลงใน 4 เดือน น าไปใช้ประโยชน์ในการเพิ่มผลผลิตพืช
สามารถใช้เป็นแนวทางในการลดต้นทุนในการใส่ปุ๋ยเคมี ซึ่งนอกจากจะเพิ่มความเป็นประโยชน์ของ
ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม เนื่องจากปุ๋ยชีวภาพ พด.12 ประกอบด้วย
แบคทีเรียตรึงไนโตรเจน (Azotobacter tropicalis) แบคทีเรียละลายฟอสเฟต (Burkholderia
unamae) แบคทีเรียละลายโพแทสเซียม (Bacillus subtilis) และแบคทีเรียผลิตฮอร์โมนพืช
(Azotobacter chroococcum) ซึ่งน ามาผลิตเป็นปุ๋ยชีวภาพน าไปใช้ในการเพิ่มผลผลิตพืช (ส านัก
เทคโนโลยีชีวภาพทางดิน, 2551)
3.3 แนวทางการใช้น ้าหมักชีวภาพในการเพิ่มผลผลิตพืช
น้ าหมักชีวภาพเกิดจากการน าเอาพืช ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ รวมทั้งพืชสมุนไพรชนิด
ต่างๆ มาหมักกับสารให้ความหวาน เช่น น้ าตาล น้ าผึ้ง กากน้ าตาล ท าให้เกิดกระบวนการ
พลาสโมไลซิส (plasmolysis) คือการท าให้สารละลายภายในเซลล์ที่ประกอบด้วยสารอินทรีย์ต่างๆ
ไหลออกจากเซลล์ กระบวนการหมักในน้ าหมักชีวภาพจะเป็นแบบไม่ใช้ออกซิเจน จุลินทรีย์จะใช้
สารเหล่านี้เป็นอาหารเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์และใช้ในกระบวนการท าน้ าหมักชีวภาพ
เช่น แบคทีเรียที่ผลิตกรดแลคติก ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่มีประโยชน์ ได้แก่ Lactobacillus
acidophilus Bifidobactorium bifidum Enterococcus faecalis และ Streptococcus
thermophilus เป็นต้น (ไชยวัฒน์, 2553) เชื้อรา ได้แก่ Aspergillus niger ยีสต์ ได้แก่
Saccharomyces cerevisiae Candida sp. และ Pichia sp. เป็นต้น จุลินทรีย์เหล่านี้ช่วยย่อย
สลายธาตุอาหารต่างๆ ปลดปล่อยออกมา เช่น ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง ฮอร์โมนควบคุม
การเจริญเติบโต กรดอะมิโน กรดอินทรีย์ต่างๆ เอนไซม์ สารควบคุมแมลง สารป้องกันโรคพืช