Page 13 - การจัดการปุ๋ยหมักและปุ๋ยชีวภาพร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ เพื่อเพิ่มผลผลิตมะละกอฮอลแลนด์ในดินทราย
P. 13
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
4
เพิ่มขึ้นเท่ากับ 43.50 13.90 และ 72.70 กรัมต่อตารางเมตร ตามล าดับ โดยเฉพาะไนโตรเจนและ
ฟอสฟอรัสที่ข้าวน าไปใช้ในการเจริญเติบโตมากที่สุด เปรียบเทียบกับการใส่ปุ๋ยเคมีในปีแรกการดูดใช้
ไนโตรเจน และฟอสฟอรัสเท่ากับ 53.60 และ 8.50 กรัมต่อตารางเมตร เมื่อเข้าสู่ปีที่ 3 การดูดใช้มี
ปริมาณไม่แตกต่างกับปีแรกเท่ากับ 65.20 และ 10.60 กรัมต่อตารางเมตร ส่วนการดูดใช้
โพแทสเซียมจากการใส่ปุ๋ยเคมีจะลดลงจาก 89.3 เป็น 48.9 กรัมต่อตารางเมตร
นอกจากนี้ การใช้ปุ๋ยหมักยังมีปริมาณธาตุแคลเซียมที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของราก ผล
และใบ รวมถึงแมกนีเซียมจะมีผลในการเจริญเติบโตของรากและใบเช่นกัน การเพิ่มอินทรียวัตถุลง
ไปในดินทรายท าเกิดให้ช่องว่างในเม็ดดิน เกิดการหมุนเวียนอากาศในดินทรายดีขึ้น ท าให้ระบบราก
พืชสามารถแผ่กระจายในดินได้อย่างกว้างขวาง (ส านักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน, 2551)
2.3 การปรับปรุงสมบัติทางชีวภาพดินทราย
การใช้ปุ๋ยหมักจะส่งเสริมการเจริญเติบโตและปริมาณของจุลินทรีย์ดิน โดยเฉพาะ
จุลินทรีย์ปลดปล่อยไนโตรเจน และฟอสฟอรัส ตลอดจนกิจกรรมการผลิตเอนไซม์ที่หมุนเวียนเป็น
วัฏจักรอยู่ในดิน ทั้งนี้ ปุ๋ยหมักจะมีออร์แกนิกคาร์บอนที่จุลินทรีย์สามารถน าไปใช้ในการสร้าง
พลังงาน การหายใจ การสร้างเอนไซม์ จากรายงานของ Chocano et al. (2016) ศึกษาการใช้ปุ๋ย
หมักชนิดต่างๆ ในการปลูกต้นพลัมภายใต้สภาพดินทราย ระยะเวลา 6 ปี พบว่าการใช้ปุ๋ยหมัก
มูลแกะอัตรา 32 กิโลกรัมต่อต้น มีอินทรียวัตถุ 49.75 กรัมต่อดิน 100 กรัม ปริมาณไนโตรเจน 2.72
กรัมต่อดิน 100 กรัม สามารถเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์มากที่สุด จากการวัดกิจกรรมจุลินทรีย์ ได้แก่
การหายใจของจุลินทรีย์ การสร้างพลังงาน และเอนไซม์ปลดปล่อยธาตุอาหารมีความแตกต่างอย่าง
มีนัยส าคัญทางสถิติ ส่งผลให้ต้นพลัมมีผลผลิตมากที่สุดเมื่อสิ้นสุดการทดลอง จากรายงานของ
Rivera – Cruze et al. (2008) ศึกษาการใช้ปุ๋ยชีวภาพจากมูลไก่ และวัสดุเหลือใช้จากกล้วย โดย
ใช้เชื้อแบคทีเรีย Azospirillum sp. Azotobacter sp. ตรึงไนโตรเจน และแบคทีเรียละลาย
ฟอสฟอรัส โดยมีปริมาณการใช้ 1 2 3 และ 4 เปอร์เซ็นต์ เปรียบเทียบกับปุ๋ยหมักมูลไก่ และ
ปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้จากกล้วยอัตรา 10 กิโลกรัมต่อต้น หลังทดสอบ 6 เดือน พบว่า การใช้ปุ๋ย
ชีวภาพ 4 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ Azospirillum sp. Azotobacter sp. ตรึงไนโตรเจน
3
4
และแบคทีเรียละลายฟอสฟอรัสมากที่สุด มีปริมาณเชื้อเท่ากับ 22.5 x 10 62.1 x 10 และ
3
27.3 x10 เซลล์ต่อกรัมดินแห้ง ตามล าดับ สร้างกิจกรรมการผลิตเอนไซม์ การปลดปล่อยธาตุ
อาหาร การเจริญเติบโตของก้านใบและรากได้สูงสุด เปรียบเทียบกับปุ๋ยหมัก 2 ชนิด มีปริมาณ
จุลินทรีย์ Azospirillum sp. Azotobacter sp. ตรึงไนโตรเจน และแบคทีเรียละลายฟอสฟอรัส มี
3
3
3
ปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ต่ าที่สุดเท่ากับ 14.2 x 10 2.9 x 10 และ 0.3 x10 เซลล์ต่อกรัมดินแห้ง
ตามล าดับ มีกิจกรรมการผลิตเอนไซม์ การปลดปล่อยธาตุอาหาร การเจริญเติบโตของก้านใบและ
รากต่ าที่สุด